ประโยชน์ของ Selenium และ Zinc: คู่หูดูแลสุขภาพที่คุณต้องรู้จัก
เซเลเนียม (Selenium) และ ซิงค์ (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย และเมื่อทั้งสองชนิดทำงานร่วมกัน ก็จะยิ่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพของคุณให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของเซเลเนียม (Selenium)
- ต้านอนุมูลอิสระ: เซเลเนียมทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน: เซเลเนียมช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ เช่น เซลล์ที (T cells) และเซลล์บี (B cells) ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น มีการศึกษาขนาดเล็กในเยอรมนีที่แสดงให้เห็นว่า ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 (COVID-19) ประมาณ 39-43% จะมีระดับเซเลเนียมในเลือดต่ำ และการขาดเซเลเนียมยังพบได้บ่อยในผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิดเมื่อเทียบกับผู้ที่ติดเชื้อที่ไม่เสียชีวิตประมาณ 64-70% ต่อ 32-39% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าการขาดเซเลเนียมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโควิดหรือเป็นผลมาจากโควิดที่ทำให้ระดับเซเลเนียมต่ำ
- ปกป้องต่อมไทรอยด์: เซเลเนียมมีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการทางตาจากโรคต่อมไทรอยด์ (Graves’ orbitopathy) พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเสริมเซเลเนียมวันละ 200 mcg เป็นเวลา 6 เดือน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีอาการทางตาดีขึ้น 61% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และมีเพียง 7% ของกลุ่มที่ได้รับเซเลเนียมที่มีการดำเนินของโรคเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ 26% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ตามในการทดลองแบบสุ่มในอีกการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจำนวน 368 คน (อายุ 60-74 ปี) พบว่าการเสริมเซเลเนียมวันละ 100, 200 หรือ 300 mcg เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ แม้ว่าการเสริมจะทำให้ระดับเซเลเนียมในเลือดเพิ่มขึ้นก็ตาม ในผู้หญิงที่มี TPO antibodies เกิดขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยในขณะตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) การศึกษาพบว่าการเสริมเซเลโนเมไธโอนีนวันละ 200 mcg ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มี TPO antibodies สามารถช่วยลดการอักเสบของต่อมไทรอยด์และอุบัติการณ์ของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการทดลองแบบสุ่มต่อไปเพื่อยืนยันถึงประโยชน์ในเรื่องนี้
- ปกป้อง DNA: ช่วยปกป้อง DNA จากความเสียหาย ซึ่งความเสียหายของ DNA อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน
ปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDAs) ของเซเลเนียม
- อายุไม่เกิน 6 เดือน : 15 mcg
- อายุ 7 เดือน ถึง 3 ปี : 20 mcg
- อายุ 4-8 ปี : 30 mcg
- อายุ 9-13 ปี : 40 mcg
- อายุ 14 ปีขึ้นไป : 55 mcg
- หญิงตั้งครรภ์ : 60 mcg
- หญิงให้นมบุตร : 70 mcg
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเซเลเนียม
มักอยู่ในรูปของอาหารเสริมประเภทวิตามินรวมหรือแร่ธาตุรวมหลายชนิด และมีที่เป็นอาหารเสริมเซเลเนียมแบบเดี่ยว ๆ ความเข้มข้นตั้งแต่ 50-200 mcg/เม็ดหรือแคปซูล โดยมักอยู่ในรูปของเซเลโนเมไธโอนีน (Selenomethionine) หรือยีสต์ที่อุดมด้วยเซเลเนียม (เลี้ยงในอาหารที่มีเซเลเนียมสูง) หรือในรูปของโซเดียมซีลีไนต์หรือโซเดียมซีลีเนต
ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน
เซเลเนียมรวมทั้งจากอาหารและอาหารเสริมที่แนะนำคือวันละ 100-200 mcg (สำหรับอาหารเสริมเซเลเนียมแนะนำให้ทานทานพร้อมกับอาหาร โดยอาจรับประทานในขนาด 50 mcg เพียงวันละครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณเซเลเนียมเพียงพอต่อวัน หรือแบ่งทานวันละ 2-3 ครั้งพร้อมมื้ออาหารเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพทั่วไป ส่วนในขนาดที่สูงกว่านี้คือเซเลเนียมรวมวันละ 200-300 mcg จะเน้นรับประทานเพื่อคุณสมบัติด้านการป้องกันมะเร็ง (แต่ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและเพิ่มอัตราการเสียชีวิต)
ประโยชน์ของซิงค์ (Zinc)
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน: ซิงค์ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น งานวิจัยงานหนึ่งชี้ว่า Zinc อาจช่วยลดความรุนแรงและลดระยะเวลาการป่วยจากไรโนไวรัส (Rhinovirus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคหวัด และช่วยต้านการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกที่เกิดจากไวรัส จึงทำให้อาการของโรคหวัดทุเลาลง งานวิจัยหลายชิ้นยังให้คำแนะนำว่า ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ควรบริโภคอาหารที่มีธาตุสังกะสีมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคปอดอักเสบ เป็นต้น
- ต้านการอักเสบ: การอักเสบเกิดได้จากหลายปัจจัยและมักเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพมากมาย โดยหนึ่งในนั้นมักเกิดจากภาวะขาดสมดุลระหว่างสารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป (ภาวะนี้ถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นจากปัจจัยเรื่องของความเครียด อายุที่มากขึ้น มลภาวะต่าง ๆ บุหรี่ แอลกอฮอล์ และการติดเชื้อ) เมื่อเซลล์อักเสบเรื้อรังก็จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งซิงค์นั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลของสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดปริมาณของความเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) และช่วยลดปริมาณของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ ดังนั้น การรับประทานซิงค์เป็นประจำจึงอาจช่วยลดการอักเสบเรื้อรังที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายโรคได้ มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้สูงอายุที่รับประทานซิงค์วันละ 45 มก. มีโอกาสเกิดอาการอักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก
การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มจำนวน 7 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคหวัดธรรมดารวม 575 คน โดยการให้ยาอมซิงค์ภายใน 2-3 วันแรกหลังจากที่เริ่มเป็นหวัด พบว่าทั้ง Zinc gluconate และ Zinc acetate ต่างมีประสิทธิภาพเท่ากันในการลดระยะเวลาที่เป็นหวัดโดยเฉลี่ยลง 33% หรือประมาณ 2-3 วัน เมื่อเทียบกับยาหลอก (ไม่พบความแตกต่างระหว่างการใช้ธาตุสังกะสีในขนาดสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ กลุ่มที่ได้รับธาตุสังกะสีวันละ 80-92 มก. พบว่าระยะเวลาการเป็นหวัดลดลงโดยเฉลี่ย 33% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับวันละ 192-207 มก. ระยะเวลาที่เป็นหวัดลดลง 35%)
- เร่งการสมานแผล: ซิงค์ช่วยในการสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
- บำรุงสายตา: ซิงค์มีส่วนสำคัญในการทำงานของเรตินา ช่วยให้สายตาดี
- ส่งเสริมการเจริญเติบโต: ซิงค์จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
- บำรุงผิว ผม และเล็บ: สังกะสีมีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีนคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง ผม และเล็บ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผมแข็งแรง และเล็บไม่แตก
ปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDAs) ของซิงค์
- อายุ 6–11 เดือน 2.7 มก./วัน
อายุ 1–3 ปี 4.4 มก./วัน
อายุ 4–5 ปี 5.3 มก./วัน
อายุ 6–8 ปี 6.3 มก./วัน
อายุ 9–12 ปี หญิง 9.0 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 9.5 มก./วัน
อายุ 13–15 ปี หญิง 9.8 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 12.5 มก./วัน
อายุ 16–18 ปี หญิง 9.8 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 12.9 มก./วัน
อายุ 19–30 ปี หญิง 9.7 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 11.6 มก./วัน
อายุ 37–60 ปี หญิง 9.2 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 10.9 มก./วัน
อายุ 61–70 ปี หญิง 8.6 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 10.9 มก./วัน
อายุ 71 ปีขึ้นไป หญิง 8.6 มก./วัน ส่วนในผู้ชาย 10.3 มก./วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับปริมาณ Zinc เพิ่มจากปริมาณปกติ 1.6 มก./วัน
หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ Zinc เพิ่มจากปริมาณปกติ 2.9 มก./วัน
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเซเลเนียม
มักอยู่ในรูปของอาหารเสริมประเภทวิตามินรวมหรือแร่ธาตุรวมหลายชนิด และมีที่เป็นอาหารเสริมเซเลเนียมแบบเดี่ยว ๆ ความเข้มข้นตั้งแต่ 50-200 mcg/เม็ดหรือแคปซูล โดยมักอยู่ในรูปของเซเลโนเมไธโอนีน (Selenomethionine) หรือยีสต์ที่อุดมด้วยเซเลเนียม (เลี้ยงในอาหารที่มีเซเลเนียมสูง) หรือในรูปของโซเดียมซีลีไนต์หรือโซเดียมซีลีเนต
ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน
เซเลเนียมรวมทั้งจากอาหารและอาหารเสริมที่แนะนำคือวันละ 100-200 mcg (สำหรับอาหารเสริมเซเลเนียมแนะนำให้ทานทานพร้อมกับอาหาร โดยอาจรับประทานในขนาด 50 mcg เพียงวันละครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณเซเลเนียมเพียงพอต่อวัน หรือแบ่งทานวันละ 2-3 ครั้งพร้อมมื้ออาหารเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพทั่วไป ส่วนในขนาดที่สูงกว่านี้คือเซเลเนียมรวมวันละ 200-300 mcg จะเน้นรับประทานเพื่อคุณสมบัติด้านการป้องกันมะเร็ง (แต่ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและเพิ่มอัตราการเสียชีวิต)
เมื่อเซเลเนียมและซิงค์ทำงานร่วมกัน…
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: ทั้งเซเลเนียมและซิงค์ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อทั้งสองชนิดทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดียิ่งขึ้น
- ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง: การได้รับเซเลเนียมและซิงค์ในปริมาณที่เพียงพอ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- ชะลอความเสื่อมของเซลล์: เซเลเนียมและซิงค์ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ทำให้ร่างกายดูอ่อนเยาว์และมีสุขภาพที่ดี
แหล่งอาหารที่มีเซเลเนียมและซิงค์
- เซเลเนียม: ปลาทะเล (โดยเฉพาะปลาทูน่า ปลาแซลมอน), เนื้อวัว, ไก่, ถั่วบราซิล
- ซิงค์: หอยนางรม, เนื้อวัว, ไก่, ถั่ว, เมล็ดฟักทอง, งา
ข้อควรระวัง
- การได้รับในปริมาณที่มากเกินไป: การรับประทานเซเลเนียมและซิงค์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- การทานร่วมกับยาอื่นๆ: เซเลเนียมและซิงค์อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทาน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว: ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทาน
เอกสารอ้างอิง
- Wang, Dong-gang. Effects of Selenium on Immunity. Trace Elements Science, (2003).
- Sylwia, Terpi, Owska., Andrzej, K., Siwicki. The role of selected microelements: selenium, zinc, chromium and iron in immune system. (2011).
- National Institutes of Health. Office of Dietary Supplements – Selenium [Internet]. Nih.gov. 2021. Available from: https://ods.od.nih.gov/factsheets/selenium-healthprofessional/
- National Institutes of Health. Zinc [Internet]. Nih.gov. National Institutes of Health; 2022. Available from: https://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional/