Skip to content

รู้ก่อนปลอดโรค

Polypodium Leucotomos สารสกัดจากพืชตัวช่วยผิวจากแสงแดด

แสงแดดนั้นเป็นตัวการที่นอกจากจะทำให้ผิวหมองคล้ำ และยังนำมาสู่ปัญหาผิวได้อีกมากมาย ยิ่งแดดประเทศไทยที่ร้อนผ่าว การทาครีมกันแดดอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ รู้ไหมว่านอกจากครีมกันแดดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดในรูปแบบการรับประทานซึ่งมีให้เลือกอย่างหลากหลาย Polypodium Leucotomos คือชนิดของเฟิร์นเขตร้อนที่ปลูกในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ที่ชาวอเมริกันพื้นเมืองได้ใช้มานานหลายศตวรรษสำหรับการรักษาความผิดปกติของการอักเสบและโรคผิวหนัง ปัจจุบันได้มีการนำพืชชนิดนี้มาสกัดจะเรียกเป็น Polypodium Leucotomos Extract หรือ PLE ซึ่งเป็น hydrophilic natural extract มีงานวิจัยเกี่ยวกับสารตัวนี้มากมายทั้งในแง่ความปลอดภัยด้าน photobiology ต่อผิวหนัง เนื่องจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระต่อปฏิกิริยาที่เกิดจากรังสียูวี ป้องกันความเสียหายของ… Read More »Polypodium Leucotomos สารสกัดจากพืชตัวช่วยผิวจากแสงแดด

Zone การเต้นของหัวใจและการนำพลังงานมาใช้ของร่างกาย

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของคุณ เพราะมีประโยชน์มากทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ เช่น การควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เสริมสร้างสุขภาพจิต ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ เสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น การออกกำลังกายของแต่ละบุคคลมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักเป็นหลัก หรือเพื่อการสร้างกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ โดยจะมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม ผู้ออกกำลังกายอาจมีความสับสนหรือไม่แน่ใจว่าควรเลือกการออกกำลังกายอย่างไรที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของตนเอง หรืออาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย          การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ เช่น การวิ่ง โยคะ ว่ายน้ำ หรือการเวทเทรนนิ่ง แต่ละรูปแบบจะมีแหล่งพลังงานที่ใช้ออกกำลังกายไม่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย… Read More »Zone การเต้นของหัวใจและการนำพลังงานมาใช้ของร่างกาย

รู้แบบนี้ กินถั่วเน่าญี่ปุ่น(Natto) มาตั้งนานแล้ว!

มารู้จักกับ ถั่วเน่าญี่ปุ่น หรือ นัตโตะ อาหารยอดฮิตประจำชาติญี่ปุ่น นัตโตะ(Natto) เป็นอาหารประจำชาติของคนญี่ปุ่น ทำมาจากถั่วเหลืองต้มห่อด้วยฟางข้าว หลังจากนั้นก็จะเกิดแบคทีเรียบาซิลลัสซับทิลิส (Bacteria Bacillus Subtilis) ขึ้น กลายเป็นถั่วเหลืองหมักที่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวๆ ด้วยความที่นัตโตะมีกลิ่นที่ฉุน(1) ค่อนข้างเฉพาะตัว คล้ายกับกลิ่นถั่วเน่า ทำให้เราเรียกกันว่า ถั่วเน่าญี่ปุ่นนั่นเอง โดยพบว่านัตโตะมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายหลายประการ เป็นอาหารอายุวัฒนะ ทำให้คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันจนเป็นอาหารหลักประจำชาติ ตำนานของนัตโตะ(Natto) นัตโตะ เกิดมาจากความบังเอิญของนักซามูไรญี่ปุ่นที่ชื่อว่า… Read More »รู้แบบนี้ กินถั่วเน่าญี่ปุ่น(Natto) มาตั้งนานแล้ว!

โรคเกาต์กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหาร

ความเชื่อว่าอาหารหลายชนิด เช่น ยอดผัก หน่อไม้ สัตว์ปีก เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเกาต์ได้เนื่องจากอาการเหล่านี้มีปริมาณสารเพียวรีนสูง ความเชื่อนี้ทำให้อาหารหลาย ๆ อย่างต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัยในการทำให้เกิดโรคเกาต์มาอย่างยาวนาน มีการห้ามการรับประทานหรือจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์รวมทั้งเพื่อช่วยลดโอกาสในการกำเริบของโรค  อย่างไรก็ตามมีการศึกษาเกี่ยวกับอาหารกับโรคเกาต์ตีพิมพ์ในวารสาร The New England Journal of Medicine โดยการศึกษานี้ได้ศึกษาในคนที่ไม่มีประวัติเป็นโรคเกาต์มาก่อนจำนวน 47,150 คน พบว่าเมื่อติดตามคนกลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ปี มีจำนวน… Read More »โรคเกาต์กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหาร

เวย์โปรตีน กับ โปรตีนจากพืช ต้องเลือกอย่างไร

ปัจจุบันเทรนด์การรับประทานโปรตีนจากพืชกำลังมาแรง หลายๆที่ต่างผลิตโปรตีนจากพืชออกมามากมายหลายแบรนด์ แต่ในขณะเดียวกันยังมีกระแสต่อต้านว่าโปรตีนจากพืชจะดีเทียบเท่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขคำตอบกัน ว่าทั้งสองแบบแตกต่างกันหรือต้องเลือกอย่างไร เวย์โปรตีน (Whey protein) เป็นโปรตีนที่ได้จากนมวัวเท่านั้น (โปรตีนจากแหล่งอื่นๆ จะไม่เรียกว่า เวย์โปรตีน) เกิดจาก การนำเอาไขมัน น้ำตาล และโปรตีนที่ย่อยช้า(เคซีน) ในนมออก และนำมาทำให้เป็นผง มีระดับความเข้มข้นหลากหลาย ที่นิยมจะมี 2 ชนิด คือ เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต ที่มีโปรตีนประมาณ… Read More »เวย์โปรตีน กับ โปรตีนจากพืช ต้องเลือกอย่างไร

ข้ออักเสบ ป้องกันได้ ก่อนจะสายเกินแก้

โรคข้อเสื่อม(osteoarthritis) เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบได้มากที่สุด ในขณะเดียวกันมักเป็นโรคที่โดนละเลย ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลรักษา เนื่องจากคิดว่าเป็นโรคที่เสื่อมได้ตามวัย ทำให้การรักษาล่าช้า หรือ นำไปสู่การรักษาที่ไม่ถูกวิธี โรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกระดูกอ่อนที่อยู่ที่ปลายของกระดูก หรือ กระดูกอ่อนผิวข้อ(articular cartilage) มีการเสื่อม โดยพบการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป การเสื่อมของกระดูกอ่อนทำให้มีการแตกกร่อนของกระดูกอ่อน มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำไขข้อทำให้คุณสมบัติการหล่อลื่นลดลง ซึ่งนำไปสู่อาการฝืดข้อและเจ็บข้อได้ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ความอ้วน อุบัติเหตุที่บริเวณข้อ กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เส้นประสาทรอบข้อเสียความสามารถในการรับความรู้สึก… Read More »ข้ออักเสบ ป้องกันได้ ก่อนจะสายเกินแก้

Cellulitis เนื้อเยื่ออักเสบ ดูแลป้องกัน ก่อนลุกลาม

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นหนังแท้ลึกถึงชั้นไขมัน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย พบได้ทุกตำแหน่งของผิวหนัง แต่พบมากบริเวณขา เป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ภายในระยะเวลา 3 ปี หากไม่รักษาหรือได้รับการดูแลรักษาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม อาจทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อ การติดเชื้อในกระดูก หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ สาเหตุของการเกิดเนื้อเยื่ออักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Streptococcus spp. และ Staphylococcus spp. ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้บริเวณผิวหนังซึ่งโดยปกติจะไม่ก่อโรค แต่เมื่อเกิดบาดเจ็บที่ผิวหนัง เช่น มีบาดแผล รอยถลอก หรือรอยแตกของผิวหนัง ทำให้เชื้อที่ผิวหนังเหล่านี้เข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดโรคในที่สุด… Read More »Cellulitis เนื้อเยื่ออักเสบ ดูแลป้องกัน ก่อนลุกลาม

สรุปการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมและฮอร์โมน อัพเดท 2023 ตอนที่ 2: การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้ยา

ผมร่วงอาจไม่ใช่โรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ส่งผลต่อจิตใจ ความมั่นใจ และรูปลักษณ์ภายนอก หากผมร่วงและมีการงอกทดแทนเส้นผมเดิม ก็อาจไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาผมบางแต่กรณีที่ผมร่วงโดยไม่เกิดการงอกทดแทนก็จะส่งผลให้เกิดผมบางหรือหนังศีรษะล้านได้ ผมร่วงผมบางเกิดได้จากหลายปัจจัย ในวันนี้จะพูดถึงการรักษาผมร่วงและผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการใช้ยา รวมถึงข้อมูลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผมร่วงมีหลายแบบ ผมร่วงชนิด Androgenetic alopecia (AGA) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคผมร่วงและผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ซึ่งเป็นรูปแบบของผมร่วงที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก เกิดจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป โรคผมร่วงผมบางแบบ AGA ถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างท้าทายในการรักษา เนื่องจากมักเกิดเรื้อรัง มาดูกันว่านอกเหนือจากการรับประทานยาหรือทายามีวิธีการอื่นใดอีกบ้างที่มีหลักฐานการศึกษาสำหรับใช้เพื่อรักษาผมร่วง… Read More »สรุปการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมและฮอร์โมน อัพเดท 2023 ตอนที่ 2: การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้ยา

MCT Oil น้ำมันของคนรักสุขภาพ

MCT Oil หรือชื่อเต็มคือ Medium Chain Triglyceride เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง หรือ Medium-chain fatty acids (MCFA)⁠ ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดดีต่อสุขภาพไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย สามารถพบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม MCT Oil เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลางที่มีจำนวนคาร์บอนสายโซ่ประมาณ 6-12 อะตอม ซึ่งมีความยาวน้อยกว่ากรดไขมันทั่วไป โดยความยาวที่น้อยกว่านี้ทำให้ MCT… Read More »MCT Oil น้ำมันของคนรักสุขภาพ

รังแครังควานใจ รักษายังไงให้หาย

รังแคเกิดจากอะไร รังแคเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดของหนังศีรษะ  โดยปกติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ผิวหนังจะมีการแบ่งตัวจากเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง และค่อย ๆ เคลื่อนไปยังชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วค่อย ๆ ผลัดหลุดไป เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า วงจรนี้ในคนปกติใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคนั้นวงจรนี้จะเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังปริมาณมากจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นแผ่นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ สาเหตุของรังแค มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จากการติดเชื้อ เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่บริเวณรูขุมขนของหนังศีรษะชื่อ Malassezia โดยผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคจะมีเชื้อราชนิดนี้มากกว่าคนปกติ การรักษารังแคส่วนหนึ่งจึงมุ่งเน้นการลดจำนวนของเชื้อราชนิดนี้ การปล่อยให้ผมเปียกชื้นนานๆ ทำให้หนังศีรษะแห้ง เสียสมดุลและสะสมเชื้อรา ก่อให้เกิดการเร่งผลัดเซลล์ผิวที่เร็วกว่าปกติ จนเกิดอาการคัน… Read More »รังแครังควานใจ รักษายังไงให้หาย

ท้องเสีย ป้องกันก่อนร้ายแรง

ท้องเสีย (Diarrhea) หรือท้องร่วง คือ อาการอุจจาระถี่มากกว่า 3 ครั้งต่อหนึ่งวัน หรือถ่ายเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง  โดยอาจมีลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนไป เช่น ถ่ายเหลวมากขึ้น มีมูกเลือด โดยในบางรายอาจมีอาการปวดบิดหรือปวดเกร็งช่องท้อง  ไข้สูงร่วมด้วย สาเหตุของอาการท้องเสีย แบ่งลักษณะท้องเสียเป็น  3 ชนิด การดูแลตนเองหากเกิดอาการท้องเสีย อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์ ? ท้องเสียป้องกันได้ด้วยจุรินทรีย์ดี หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย… Read More »ท้องเสีย ป้องกันก่อนร้ายแรง

สรุปการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมและฮอร์โมน อัพเดท 2023 ตอนที่ 1: การรักษาด้วยรูปแบบยากินและยาทา

รักษาผมร่วงไม่ใช่โรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ส่งผลต่อจิตใจ ความมั่นใจ และรูปลักษณ์ภายนอก ก่อนอื่นเราทราบอยู่แล้วว่าโดยปกติเส้นผมคนเราอาจร่วงวันละ 40-100 เส้น และอาจร่วงได้ถึง 200 เส้นต่อวัน ในวันที่สระผม หากผมร่วงและมีการงอกทดแทนเส้นผมเดิม ก็อาจไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาผมบางแต่กรณีที่ผมร่วงโดยไม่เกิดการงอกใหม่ก็จะส่งผลให้เกิดผมบางหรือหนังศีรษะล้านได้ ผมร่วงผมบางเกิดได้จากหลายปัจจัย ในวันนี้จะพูดถึงการรักษาผมร่วงและผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนด้วยวิธีการใช้ยา รวมถึงข้อมูลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผมร่วงมีหลายแบบ ผมร่วงชนิด Androgenetic alopecia (AGA) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคผมร่วงและผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ซึ่งเป็นรูปแบบของผมร่วงที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก เกิดจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป… Read More »สรุปการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมและฮอร์โมน อัพเดท 2023 ตอนที่ 1: การรักษาด้วยรูปแบบยากินและยาทา

สิวยีสต์ สิวเรื้อรังที่หลายคนมองข้าม

สิว โรคผิวหนังที่กวนใจวัยรุ่น ที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบของรูขุมขนหรือต่อมไขมัน ซึ่งหากดูแลรักษาไม่ถูกวิธีอาจเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกเชื้อโรคซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อตามมาได้ โดยสิวไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดจากเชื้อราได้เช่นกัน สิวยีสต์ หรือสิวเชื้อรา (Malassezia Folliculitis) พบได้ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เกิดจากรูขุมขนที่อักเสบและติดเชื้อรา เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่ม Malassezia species โดยส่วนมากจะพบสิวชนิดนี้บริเวณแผ่นหลัง ลำตัว และใบหน้า โดยหากรักษาผิดวิธีจะเกิดเป็นสิวเรื้อรัง ทิ้งร่องรอยจุดด่างดำ หรือรอยแผลเป็นจากสิว ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ป่วย โดยในบางรายอาจเกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อราตามมา เช่น เกลื้อน… Read More »สิวยีสต์ สิวเรื้อรังที่หลายคนมองข้าม

พ่อแม่ต้องรู้ RSV ไวรัสร้ายใกล้ตัวลูก

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กหายใจได้ลำบาก หอบเหนื่อย และเป็นสาเหตุของเกิดโรคปอดอักเสบตามมา ซึ่งพบว่าไวรัสดังกล่าวจะแพร่ระบาดได้บ่อยในฤดูฝนหรือฤดูหนาว และแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในเด็กปฐมวัย ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) มี 2 สายพันธุ์หลักที่พบการระบาดได้บ่อย คือ สายพันธุ์A และสายพันธุ์B โดยสายพันธ์ุA มีการระบาดมากกว่าและอาการของโรครุนแรงกว่าสายพันธุ์B การระบาดของเชื้อไวรัส… Read More »พ่อแม่ต้องรู้ RSV ไวรัสร้ายใกล้ตัวลูก

ไข้หวัดใหญ่ วายร้ายในหน้าฝน

ไข้หวัด ถือเป็นหนึ่งในโรคสามัญประจำบ้านที่เราต่างก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนแทบจะรู้สึกว่าไม่ได้มีความร้ายแรงใดๆสักเท่าไร หรือแม้กระทั่งกับโรคไข้หวัดใหญ่ ที่ถึงจะรุนแรงกว่าแต่ด้วยความที่คำว่า ไข้หวัดเป็นอะไรที่ไม่ได้ดูอันตรายในการรับรู้ของผู้คนไปแล้ว ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยของไข้หวัดใหญ่มากเท่าที่ควร จนกลายเป็นเหตุให้ในแต่ละปีมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่กว่า 1 แสนราย และพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ทุกปี พอเข้าสู่ฤดูฝน จะเริ่มเห็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในช่วงโควิด-19 ทำให้ผู้คนเก็บตัวในบ้าน ระมัดระวังด้านสุขอนามัย โอกาสแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่น้อยลง ร่วมกับในช่วงนั้นประชาชนห่างหายจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังหมุนเวียนอยู่อย่างเบาบาง พอสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เริ่มกลับสู่สภาวะปกติ ทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยอัตราคนที่เป็นไข้หวัดแล้วมาโรงพยาบาล… Read More »ไข้หวัดใหญ่ วายร้ายในหน้าฝน

เทโลเมียร์ (Telomere) ไขความลับของสุขภาพ

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมสิ่งมีชีวิตต่างๆในโลกจึงมีอายุขัยไม่เท่ากัน ? นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ธรรมชาติได้ใส่บางอย่างไว้ใน​รหัส​พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเสมือนสัญญาณ​ลึกลับหรือ​​คำ​สั่ง​ที่​กำหนด​อายุขัยที่แท้จริงในตัวเรา และเมื่อเริ่ม​ใกล้​ถึง​ช่วง​ปลาย​ของ​ชีวิต ​ร่าง​กาย​เริ่ม​ค่อยๆ หยุด​การ​ทำ​งาน มีโรคต่างๆ ตามมา และหมดอายุขัยไปในที่สุด โดยมียีนหรือรหัสพันธุกรรมหลายตัว ที่มีความเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณให้เซลล์ร่างกายค่อยๆ หยุดทำงาน  ดร.อลิซาเบท แบล็กเบิร์นและคณะ เจ้าของรางวัลโนเบล ได้พบความสำคัญของความลับนี้ ซึ่งกุญแจไขความลับของอายุขัยมนุษย์นั้นคือสิ่งที่เรียกว่า เทโลเมียร์ เทโลเมียร์ คือ ดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนท้ายของแต่ละโครโมโซมมีหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสารพันธุกรรมในส่วนปลายของโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลายไป เนื่องจากทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่วนของเทโลเมียร์ที่อยู่ที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงเรื่อยๆ และเมื่อเทโลเมียร์สั้นลงถึงระยะวิกฤต… Read More »เทโลเมียร์ (Telomere) ไขความลับของสุขภาพ

จะรู้ได้ยังไงว่าหยุดหายใจขณะหลับ

คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่บ้างหรือเปล่า ? เหล่านี้คือสัญญาณเตือนของ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea; OSA) เป็นสภาวะผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นขณะที่เรานอนหลับซึ่งแต่ละคนมีดีกรีความรุนแรงที่แตกต่างกันไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เมื่อไหร่ที่เราควรจะไปพบแพทย์ ? อะไรคือสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับ ? กล้ามเนื้อด้านหลังลำคอที่ปกติทำหน้าที่ตึงตัวเพื่อค้ำจุนบริเวณเพดานปากและลิ้นคลายตัวมากเกินไป ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบและไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้เอง ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงเพราะมีการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น จากนั้น สมองจะตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจนโดยอัตโนมัติ กระตุ้นให้คุณตื่นจากการนอนหลับเป็นเวลาสั้น ๆ โดยบางครั้งคุณอาจไม่รู้สึกตัว เพื่อให้ทางเดินหายใจถูกเปิดออก… Read More »จะรู้ได้ยังไงว่าหยุดหายใจขณะหลับ

เคล็ดไม่ลับสารอาหารช่วยควบคุมน้ำตาล ชะลอการเกิดโรคเบาหวาน

รู้จักกับโรคเบาหวาน เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนทำให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามในระยะแรกที่ผู้ป่วยเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ยังไม่สูงมาก อาการจะยังไม่เด่นชัด  ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลที่สูงจะส่งผลต่อหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ง่ายกว่าคนปกติ  ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาดูแลที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน สารอาหารที่ช่วยควบคุมน้ำตาล ชะลอการเกิดโรคเบาหวาน โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญแป้ง น้ำตาล และไขมัน มีการศึกษาพบว่าโครเมียมสามารถช่วยลดไขมันในเนื้อเยื่อและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้โครเมี่ยมยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับ HbA1C… Read More »เคล็ดไม่ลับสารอาหารช่วยควบคุมน้ำตาล ชะลอการเกิดโรคเบาหวาน

แผลร้อนใน

แผลร้อนในคืออะไร แผลร้อนใน (Aphthous Ulcers) เป็นแผลที่พบได้บ่อยเกิดในช่องปาก อาจมีความปวดซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวันได้ มีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางมีสีเหลือง ขอบแผลสีแดง หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดร่วมกับ อาการไข้ การปวดข้อ เยื่อบุตาอักเสบได้ โดยแผลร้อนในแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ แผลขนาดเล็ก (Minor aphthae) : https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2000/0701/p149.html แผลขนาดใหญ่ (Major aphthae) :… Read More »แผลร้อนใน

ภาวะหายใจเร็วกับความเครียด

ภาวะหายใจเร็ว (Hyperventilation Syndrome) คืออะไร ภาวะหายใจเร็ว หรือ Hyperventilation Syndrome คืออาการหายใจที่ผิดปกติ ลักษณะการหายใจเป็นแบบเร็ว แรง และ ลึก เป็นเวลานาน ร่างกายมีการรับออกซิเจนเข้ามาและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากเกินไป ทำให้ความเป็นกรด-ด่างในเลือดเสียสมดุล ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ (Respiratory alkalosis) มีการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมองส่งผลให้รู้สึกมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด หัวใจเต้นแรง… Read More »ภาวะหายใจเร็วกับความเครียด

ตาแห้งแก้ไม่หาย…สุดท้ายกลายเป็นภาวะต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน!

ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน ทั้งการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษ ฝุ่น pm2.5 การใช้ดวงตาไปกับจอโทรศัพท์มือถือ การทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ รวมไปถึงการใช้เครื่องสำอางแล้วทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาได้ไม่ดีพอ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลเสียกับดวงตาได้โดยไม่รู้ตัว บ่อยครั้งที่เรามักมีอาการแสบตา ตาล้า ตาพร่ามัว ซึ่งมักเป็นอาการแสดงของภาวะตาแห้ง และถ้าหากเราพยายามที่จะพักสายตาก็แล้ว หยอดน้ำตาเทียมก็แล้ว แต่พบว่าอาการตาแห้งยังไม่หายไป นั่นอาจเป็นเพราะมีสาเหตุอื่นที่คุณนึกไม่ถึง อย่างเช่นต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน ทำให้ชั้นน้ำตาไม่คงตัว น้ำตาระเหยง่าย เกิดการระคายเคือง ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้ง และมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อที่เปลือกตาได้ ดังนั้นการสังเกตความผิดปกติของดวงตาและรู้เท่าทันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ ต่อมไขมันที่เปลือกตา คืออะไร? … Read More »ตาแห้งแก้ไม่หาย…สุดท้ายกลายเป็นภาวะต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน!

เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับลมแดดหน้าร้อน(Heatstroke)

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นการเกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก จึงพบได้บ่อย โดยโรคลมแดดนั้นจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไปและไม่สามารถลดอุณหภูมิร่างกายลงได้ ร่วมกับร่างกายมีภาวะขาดน้ำ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เส้นเลือดส่วนปลายจะขยายตัวเพื่อระบายความร้อน เมื่ออยู่ในสภาวะที่อากาศร้อนเป็นเวลานานทำให้เลือดค้างอยู่ในหลอดเลือดส่วนปลาย เข้าสู่หัวใจได้น้อยลง ทำให้หัวใจพยายามบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจสูง ความดันโลหิตต่ำ เมื่อเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญเช่น สมอง หัวใจ ไม่พอจะทำให้ระบบอวัยวะล้มเหลวส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ผู้ที่มีความเสี่ยง อาการ อาการของโรคลมแดดอาจเกิดขึ้นทันทีหรือค่อยๆมีอาการได้ ซึ่งจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์โดยอาการที่พบได้แก่… Read More »เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับลมแดดหน้าร้อน(Heatstroke)

ประโยชน์ของ DHA ในคุณแม่ตั้งครรภ์

Omega-3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายนั้นไม่สามารถสร้างเองได้จึงต้องรับประทานจากอาหาร อันมีสารสำคัญหลักคือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) โดยมีแหล่งอาหารสำคัญคือ น้ำมันปลาซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกหรือสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง เนื่องจาก DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองและจอประสาทตา มีหลายการศึกษากล่าวถึงประโยชน์ในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก และบทบาทสำคัญในแม่ตั้งครรภ์หลากหลายแง่มุม ดังนี้ FDA และ WHO แนะนำให้แม่ตั้งครรภ์และแม่ที่อยู่ระหว่าง การให้นมบุตรควรได้รับ DHA… Read More »ประโยชน์ของ DHA ในคุณแม่ตั้งครรภ์

ไขปัญหาอาการสะอึก

อาการสะอึก เป็นอาการอย่างหนึ่งที่เชื่อว่าเกือบทุกคนเคยเป็น บ้างก็เป็นบางครั้งระยะเวลาไม่นาน บ้างก็เป็นบ่อยจนรำคาญ มีความเชื่อหลายๆอย่างที่บอกกันว่าอาการสะอึกมาจากอาการขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำตามมากๆ หรือกลั้นหายใจถึงจะหายได้ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกับปัญหานี้กันว่าเกิดจากอะไรกันแน่ อาการสะอึก เกิดจาก การหดตัวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ระหว่างช่องอกและช่องท้อง การหดตัวนี้ส่งผลให้เกิดการหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว แต่อากาศที่เข้ามานั้นถูกกักโดยเส้นเสียงที่จะปิดลงทันทีทันใดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ทำให้มีเสียงสะอึกตามมาในที่สุด ซึ่งเป็นกลไกการทำงานแบบรีเฟล็กซ์ที่ไม่ผ่านสมอง เป็นวงจรการทำงานของเส้นประสาทควบคุมกระบังลมและกล่องเสียง ส่วนมากเกิดเองหายเองในเวลาชั่วคราว แต่หากเกิดอาการนานเกิน 48 ชั่วโมง (persistent hiccups) ควรระมัดระวังและอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นผลมาจากโรคชนิดต่างๆต่อไปนี้ ควรหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาจากต้นเหตุ… Read More »ไขปัญหาอาการสะอึก

แค่อาการหมดไฟ หรือเป็น ต่อมหมวกไตล้ากันแน่?

ใครมีอาการแบบนี้บ้าง? ง่วงตอนเช้า ติดกาแฟ แต่กลางคืนกลับ Alert นอนไม่หลับ ชอบกินอาหารเค็มหรือหวาน หน้ามืดง่าย เวียนหัวบ่อย เป็นไอขี้แพ้ เดี๋ยวก็ผื่นขึ้นๆยุบๆไม่มีสาเหตุ ชอบปวดเมื่อยเนื้อตัว…ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าต่อมหมวกไตของคุณ ล้าไม่ไหวแล้ว ต่อมหมวกไตคืออะไร? ต่อมหมวกไต เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ลักษณะเป็นเหมือนหมวกทรงสามเหลี่ยม สวมอยู่บนไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยชนิดที่เราจะพูดถึงกันหลักๆในบทความนี้ คือ Cortisol, DHEA, Aldosterone… Read More »แค่อาการหมดไฟ หรือเป็น ต่อมหมวกไตล้ากันแน่?

รับมือวัยทอง

“วัยทอง” เป็นคำเรียกทั่ว ๆ ไปหมายถึงหญิงวัยหมดประจำเดือน (Menopause) โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยเมื่อขาดประจำเดือนต่อเนื่องอย่างน้อย 12 เดือน แต่หากอยู่ในช่วงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่ยังไม่ถึง 12 เดือน จะอยู่ในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) แต่ละบุคคลจะเข้าสู่ช่วงวัยทองแตกต่างกันออกไป โดยเฉลี่ยคือเมื่ออายุได้ประมาณ 45-55 ปี และในผู้หญิงบางรายอาจเข้าสู่วัยทองเร็วกว่านั้น เนื่องจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป เช่น การผ่าตัดรังไข่ออก (oophorectomy) การผ่าตัดมดลูกออก (hysterectomy)… Read More »รับมือวัยทอง

ไขความลับธรรมชาติ “เทโลเมียร์” 

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีอายุไขแตกต่างกัน เช่น แมลงวันอายุขัยนานประมาณ 5 สัปดาห์ นกกระสา 24 ปี อูฐ 40 ปี ปลาวาฬ 100 ปี ในขณะที่ปะการังแดงมีชีวิตได้ยาวนานถึง 500 ปี!!!! นักวิทยาศาสตร์มากมายพยายามค้นหาคำตอบว่าอะไร คือ ปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีอายุขัยแตกต่างกัน  ดร. อลิซาเบธ แบล็กเบิร์น ได้ค้นพบความสำคัญของเทโลเมียร์และเอ็นไซม์เทโลเมอเรส เทโลเมียร์… Read More »ไขความลับธรรมชาติ “เทโลเมียร์” 

“ไข้หูดับ” โรคร้ายที่แฝงมากับความอร่อย

จากที่มีกระแสข่าวพบผู้ป่วยวัยรุ่นหญิงติดเชื้อไข้หูดับ จากการรับประทานหมูกระทะกับครอบครัว แล้วมีอาการซึมลง อาเจียน เวียนศีรษะ จนต้องนำตัวรักษาที่โรงพยาบาล ภายหลังได้ตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากติดเชื้อ ‘ไข้หูดับ’ และติดเชื้อในกระแสเลือดจนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราในที่สุด ทำให้สังคมให้ความสนใจและอยากที่จะรู้จักกับโรคไข้หูดับนี้มากขึ้น เพื่อที่จะหาทางรับมือกับภัยร้ายใกล้ตัวนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้องการจะไปเฉลิมฉลองด้วยชาบู หมูกระทะ และปิ้งย่างนั่นเอง โรคไข้หูดับ คืออะไร? ไข้หูดับ เกิดจากการติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักจะอาศัยอยู่ในต่อมทอนซิล ระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอดของหมู โดยเชื้อนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน… Read More »“ไข้หูดับ” โรคร้ายที่แฝงมากับความอร่อย

ไรฝุ่นคืออะไร?

ไรฝุ่น เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากจนมนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยด้วยตาเปล่า มีความยาวเพียง 0.1-0.3 มิลลิเมตร อยู่ปะปนกับฝุ่นภายในบ้าน กินผิวหนังของมนุษย์ที่ถูกผลัดออกมาเป็นอาหาร ในคนที่แพ้ไรฝุ่น เมื่อหายใจเอาอากาศที่มีไรฝุ่นเข้าไปอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นในระบบทางเดินหายใจได้ โดยไรฝุ่นที่พบได้บ่อยและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ มี 2 ชนิด คือ Dermatophagoides pteronyssinus (DP) และ Dermatophagoides farinae (DF) 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น    … Read More »ไรฝุ่นคืออะไร?

ไขมันพอกตับ รู้ก่อน.. ป้องกันได้

ไขมันพอกตับ (fatty liver) เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ (โดยมากมักจะเป็นไขมันชนิด triglyceride) โดยจะสามารถแบ่งได้ สองกลุ่มใหญ่ๆ ตามสาเหตุได้แก่ ไขมันพอกตับที่เกิดจากพฤติกรรมมักจะสอดคล้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน กล่าวคือร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อนมาทำหน้าที่ในการดึงน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ตับ หากพบว่าไม่สามารถรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตับอ่อนจะผลิตและหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันกับที่เซลล์ตับจะสะสมไขมันมากขึ้นด้วย เมื่อมีภาวะไขมันพอกตับมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น หรือมีอาการแต่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดตึงบริเวณชายโครงขวา… Read More »ไขมันพอกตับ รู้ก่อน.. ป้องกันได้