Skip to content
1. L-Carnitine เป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากกรดอะมิโน lysine + methionine ส่วนใหญ่จะสะสมตัวอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ
2. L-Carnitine ทำหน้าที่เป็น cofactor ในกระบวนการ metabolism ของไขมันเพื่อให้พลังงานกับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยทำหน้าที่ขนส่ง long chain fatty acid ไปยัง mitochondria และทำให้ร่างกายมี coenzyme A อิสระเพิ่มขึ้นจึงมีส่วนทางอ้อมในการต้านอนุมูลอิสระ 
3. แหล่งของ L-Carnitine อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผลิตภัณฑ์นม อะโวคาโด และถั่วเหลือง
4. การรับประทาน L-Carnitine ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรพิจารณารูปแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ที่ต้องการ โดยจะมี 3 รูปแบบหลักๆดังนี้
  • L-Carnetine L-Tartate รูปแบบนี้มีจุดเด่นในเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อจากการอักเสบ เป็นที่นิยมสำหรับนักกีฬา เนื่องจากช่วยเพิ่มความทนทานในการออกกำลังกาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานยิ่งขึ้น
  • Acetyl L-Carnetine เด่นในเรื่องการบำรุงสมองและฟื้นฟูความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคความเสื่อมของระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
  • Propionyl L-Carnetine เด่นเรื่องของการฟื้นฟูระบบไหลเวียนเลือด โดยมีส่วนช่วยในการเพิ่ม nitric oxide ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด และให้ผลลัพธ์ที่ดีในผู้ที่ปัญหาหลอดเลือดส่วนปลาย
5. L-Carnitine ไม่ได้มีฤทธิ์ลดน้ำหนักหรือใช้ลดความอ้วนโดยตรง การรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนักจึงควรออกกำลังกายควบคู่กันไปจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น
6. ปริมาณ L-Carnitine ที่แนะนำต่อวันคือ 500-1000 มิลลิกรัม โดยสามารถทานได้สูงสุดถึง 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
7. ผลข้างเคียงระยะสั้นที่เกิดจากการรับประทาน L-Carnitine มากเกินกว่า 5,000 มิลลิกรัมต่อวันอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผื่นขึ้นตามตัว มีกลิ่นตัว
8. ถึงแม้ว่าร่างกายจะสามารถผลิต L-Carnitine ได้เอง แต่ก็มีโอกาสขาดสารนี้ได้หากรับประทานอาหารไม่เพียงพอ พบมากในผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ เนื่องจากอาหารจำพวกพืชมักจะมีปริมาณโปรตีนหรือกรดอะมิโนน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือในผู้ที่มีปัญหาการดูดซึมอาหาร เช่นผู้ป่วยโรคลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ผู้ที่มีโรคตับหรือโรคไตซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการสร้าง L-Carnitine รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้ไม่สามารถผลิตได้เอง
9. ควรระมัดระวังในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของไตเสื่อมถอย เนื่องจาก L-Carnitine ขับออกทางปัสสาวะ
10. ในผู้ป่วยที่รับประทานยา Valproic acid ซึ่งเป็นยารักษาโรคลมชักเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้มีภาวะขาด L-Carnitine ได้จึงอาจพิจารณาให้ทานเสริมได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้