Skip to content

Highlight

  • ประโยชน์จากเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase)
    • ละลายลิ่มเลือด
    • เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
    • ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
    • ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
    • ลดความดันโลหิต
    • บรรเทาความเหนื่อยล้า
    • ส่งเสริมการทำงานของสมอง
    • ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์
  • ใครบ้างที่เหมาะกับการรับประทานสารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase)
    • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
    • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
    •  ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเคยมีประวัติติดเชื้อโควิด-19
    • ผู้ที่ทำงานหนัก นอนน้อย เหนื่อยล้าจากการทำงาน

ประวัติความเป็นมาของเอนไซม์จากถั่วเน่าญี่ปุ่น หรือ นัตโตะ (Natto)

นัตโตะเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นมากกว่า 1000 ปี นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับข้าว ขนมปัง หรือ ทำเป็นซูชิ โดยทำมาจากการเอาถั่วเหลืองมาหมักจนกลายเป็นเมือกเหนียว มีกลิ่นเฉพาะตัว ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงหัวใจ บรรเทาความเหนื่อยล้าได้ ในปีช่วงปี ค.ศ. 1980 นักวิจัยอาหารได้ค้นพบว่านัตโตะมีเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยละลายลิ่มเลือด จึงสามารถช่วยบำรุงและป้องการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เนื่องจากกลิ่นเฉพาะตัวของนัตโตะซึ่งอาจไม่ถูกใจใครหลายคนนัก จึงมีการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนสโดยเริ่มวางขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา[1]

เอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) กับ การป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเกิดจากการเกิดแผล หรือ ไขมันอุดตันบริเวณหลอดเลือดทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น หายใจไม่สะดวกเฉียบพลัน แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ความดันผิดปกติเป็นต้น นัตโตะไคเนส (Nattokinase) เป็นเอนไซม์ที่ได้จากนัตโตะ (Natto) ซึ่งมีคุณสมบัติในการสลายไฟบริน (fibrin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดการสลายลิ่มเลือด ปรับความหนืดของเลือดให้เป็นปกติ และ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ จากการศึกษาในอาสาสมัครที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงชาวญี่ปุ่น รับประทานสารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวัน (2,000 FU) เป็นเวลา 8 สัปดาห์[2] พบว่าสามารถเพิ่มระยะเวลาเลือดแข็งตัวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงช่วยในการสลายลิ่มเลือดอุดตันได้ นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าการรับประทานสารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนสสามารถลดระดับโคลเรสเตอรอลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน[3]

เอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) กับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และการป้องกันลองโควิด

เชื้อ SAR-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรค COVID-19 มีโปรตีนชนิดเอส (Spike protein: S protein) เป็นตัวเกาะกับเซลล์มนุษย์ให้ไวรัสสามารถเข้ามาในเซลล์ก่อโรคได้ จากการศึกษาพบว่าเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) สามารถย่อยสลายโปรตีนชนิดเอส ยับยั้งการจับกับเซลล์มนุษย์ได้[4]

สำหรับอาการลองโควิด (Post-COVID Syndrome) เป็นอาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีอาการแน่ชัด อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ 

Reference: CDC. Long COVID or post-COVID conditions. Atlanta, GA: US Department of Health and Human Services, CDC; 2022. Accessed April 22, 2022. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects/index.html

จากการศึกษาพบว่าการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สามารถเพิ่มการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่ม เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน (Microthrombosis) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism: PE) และ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ โดยมีโอกาสเกิดได้ภายใน 6 เดือนหลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19[5] ซึ่งการรับประทานสารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) สามารถช่วยป้องการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและบำรุงหลอดเลือดได้

ขนาดรับประทาน

ปริมาณที่แนะนำ 100 มิลลิกรัม/วัน (เทียบเท่ากับ 2,000 FU) เป็นเวลา 8 สัปดาห์[1]

ผลข้างเคียง

จากการศึกษาทางคลินิกต่างๆพบว่าไม่เกิดผลข้างเคียงในการใช้สารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) และผลเลือด ค่าตับ ไต อยู่ในช่วงปกติ[1]

ข้อควรระวัง[1]

  1. อาการแพ้พบได้น้อยมาก โดยเกิดขึ้นได้หลังจากรับประทานสารสกัดเอนไซม์นัตโตะไคเนส (Nattokinase) 4-15 ชั่วโมง
  2. ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์  เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์
  3. ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ วาร์ฟาริน (warfarin) เฮพาริน (heparin) เนื่องจากเสริมฤทธิ์กันเพิ่มโอกาสการเกิดเลือดออก
  4. ไม่ควรใช้แทนยา วาร์ฟาริน ในผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม

Reference

  1. Drugs.com [Internet]. Nattokinase Information from Drugs.com; Updated: 24 January 2022, Cited: 21 January 2023. Available from: https://www.drugs.com/npp/nattokinase.html
  2. Yoo HJ , Kim M , Kim M , Lee A , Jin C , Lee SP , Kim TS , Lee SH , Lee JH . The effects of nattokinase supplementation on collagen-epinephrine closure time, prothrombin time and activated partial thromboplastin time in nondiabetic and hypercholesterolemic subjects. Food Funct. 2019 May 22;10(5):2888-2893. doi: 10.1039/c8fo02324g. Erratum in: Food Funct. 2019 Jul 17;10(7):4454. PMID: 31070609.
  3. Yang NC, Chou CW, Chen CY, Hwang KL, Yang YC. Combined nattokinase with red yeast rice but not nattokinase alone has potent effects on blood lipids in human subjects with hyperlipidemia. Asia Pac J Clin Nutr. 2009;18(3):310-317.19786378
  4. Tanikawa T, Kiba Y, Yu J, Hsu K, Chen S, Ishii A, Yokogawa T, Suzuki R, Inoue Y, Kitamura M. Degradative Effect of Nattokinase on Spike Protein of SARS-CoV-2. Molecules. 2022 Aug 24;27(17):5405. doi: 10.3390/molecules27175405. PMID: 36080170; PMCID: PMC9458005.
  5. Katsoularis I, Fonseca-Rodríguez O, Farrington P, Jerndal H, Lundevaller EH, Sund M, et al. Risks of deep vein thrombosis, pulmonary embolism, and bleeding after covid-19: Nationwide self-controlled cases series and matched Cohort Study. BMJ. 2022