เลือกซื้อน้ำมันปลาอย่างไรไม่ให้ได้ของแถม (เป็นพิษ)
น้ำมันปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีเยี่ยม ซึ่งช่วยสนับสนุนการทำงานของสมอง ระบบหัวใจ และยังมีประโยชน์ในการลดอาการอักเสบต่างๆ แต่การเลือกซื้อน้ำมันปลาที่ไม่ดีหรือไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับ “ของแถม” ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สารพิษหรือสารตกค้างจำพวกโลหะหนัก กรดไขมันอื่นๆที่ร่างกายไม่ต้องการ หรือน้ำมันปลาที่โดนอากาศจนเสื่อมสภาพมีกลิ่นเหม็นหืนไปแล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกน้ำมันปลาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานกัน
วิธีการเลือกน้ำมันปลาที่ปลอดภัยจากสารอันตราย
1. เลือกน้ำมันปลาที่ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน กระบวนการผลิตน้ำมันปลาที่มีมาตรฐานต้องสามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการของกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้ ในขณะเดียวกันต้องลดหรือกำจัดสารปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการผลิตดังนี้
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารปนเปื้อน:
- ใช้ของเหลวพาหะในกระบวนการกลั่นแบบสุญญากาศ1 เพื่อลดสารปนเปื้อนในระดับสูง โดยการกลั่นแบบสุญญากาศจะทำให้จุดเดือดของสารลดลง ทำให้การใช้ความร้อนในการกลั่นลดลงนอกจากจะได้สารที่บริสุทธิ์ขึ้นแล้ว ยังทำให้น้ำมันปลายังคงคุณภาพที่ดีอยู่
- เพิ่มความเข้มข้นของ EPA และ DHA:
- ใช้กระบวนการสกัดแยกกรดไขมันและเอสเทอริฟิเคชัน2 เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและคงสภาพน้ำมันปลา โดยน้ำมันปลาจะถูกแยกเป็นกรดไขมันโดยวิธีการ saponification กับด่างแล้วละลายด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ จากนั้นแยกเฟสด้วยน้ำและกรดแล้วจึงทำ Esterification เพื่อให้ได้กรดไขมันที่ต้องการ เป็นกระบวนการที่สกัดเอา EPA และ DHA ออกมาจากน้ำมันปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ป้องกันการเสื่อมสภาพของน้ำมันปลา:
- ปราศจากกลิ่นคาวและรสขม เนื่องจากกระบวนการที่ควบคุมการออกซิเดชันได้ดี รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันอากาศไม่ให้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชันกับน้ำมันปลาได้ เช่น แคปซูล Licaps และกระบวนการ Nitrogen flush
2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการการรับรองจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ: ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เช่น International Fish Oil Standards (IFOS) ซึ่งเป็นมาตรฐานของน้ำมันปลาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยมีการควบคุมทั้งปริมาณของ Omega-3 ให้ได้ตรงตามที่ระบุไว้ข้างฉลากรวมไปถึงสารปนเปื้อนที่ต้องต่ำกว่ามาตรฐาน
เกณฑ์มาตรฐานของน้ำมันปลา
นอกจากเกณฑ์ปริมาณของ Omega-3 ในน้ำมันปลาที่ต้องตรวจสอบแล้ว ยังต้องมีการตรวจสอบด้าน Stability และ Purity ของน้ำมันปลาด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่านอกจากน้ำมันปลาจะมี Omega-3 ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังต้องไม่เสื่อมสลายหรือมีสารพิษปนเปื่อน โดยเกณฑ์ที่สำคัญมีดังนี้
ค่าความคงตัว (Stability)
Total oxidation (TOTOX) เป็นการดัชนีของค่า Lipid oxidation ซึ่งแสดงถึงการเสื่อมของน้ำมันปลาเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ ซึ่งส่งผลให้น้ำมันปลาเสื่อมและมีกลิ่นเหม็นหืน โดยดัชนี TOTOX คำนวณจากค่าเปอร์ออกไซด์ (Peroxide Value) และค่าแอนิซิดีน (Anisidine Value) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงระดับของสารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในน้ำมันโดยเปอร์ออกไซด์บ่งบอกปริมาณเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของการเกิดออกซิเดชัน ส่วนแอนิซิดีนบ่งบอกปริมาณสารประกอบที่เกิดขึ้นในระยะต่อมาของการเกิดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีความเป็นพิษสูงกว่าเปอร์ออกไซด์
ค่าความบริสุทธิ์ (Purity)
- Heavy metal เนื่องจากปลาที่มีแหล่งที่มาจากทะเลน้ำลึกส่วนใหญ่จะพบการปนเปื้อนโลหะหนักในปริมาณสูง ดังนั้น น้ำมันปลาที่มีความบริสุทธิ์ต้องทดสอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าปริมาณโลหะหนักใน 1 เม็ดต้องไม่มีโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันพบว่าปลาทะเลน้ำลึกมีการปนเปื้อนโลหะหนัก คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม และสารหนู
- Dioxin เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และมักพบในอาหารประเภทนม ปลาและหอย ซึ่งสาร Dioxin เป็นอันตรายกับผู้บริโภค
น้ำมันปลาที่ดีสีต้องใส
เนื่องจากสีของน้ำมันปลาจะเข้มขึ้นเมื่อมีการปนเปื้อนหรือมีการเสื่อมสภาพ โดยพบว่าน้ำมันปลาที่ใสจะมีปริมาณของโลหะหนัก ปริมาณสารออกไซต์ และกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันปลาที่มีสีเข้มขึ้น
ความบริสุทธิ์สูง: น้ำมันปลาเกรดใสผ่านการกลั่นหลายขั้นตอนเพื่อขจัดสิ่งเจือปน เช่น โลหะหนัก สารพิษ และกลิ่นคาว ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์และปลอดภัยต่อการบริโภค
ไม่มีสี: สีของน้ำมันปลาเกิดจากสารสีที่ละลายอยู่ในน้ำมัน เมื่อผ่านกระบวนการทำให้ใส สีเหล่านี้จะถูกกำจัดออกไป ทำให้ได้น้ำมันปลาที่ไม่มีสีหรือมีสีเหลืองอ่อน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์
คุณค่าทางโภชนาการสูง: น้ำมันปลาเกรดใสยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ เช่น กรดไขมันโอเมกา 3 (EPA และ DHA)
รสชาติและกลิ่นที่ดี: น้ำมันปลาเกรดใสมีกลิ่นคาวน้อยหรือไม่มีกลิ่น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำมันปลาชนิดนี้มีรสชาติที่ถูกปากผู้บริโภคมากขึ้น
เราจะป้องกันน้ำมันปลาจากอากาศได้อย่างไร
แค่เปิดขวดอากาศก็เข้าไปในขวดแล้ว อย่างที่รู้กันดีว่าอากาศเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้น้ำมันปลาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ดังนั้นหากเราป้องกันอากาศไม่ให้สัมผัสกับน้ำมันปลาได้ การเสื่อมสภาพของน้ำมันปลาก็จะเกิดขึ้นได้ยากขึ้น โดยในปัจจุบันมีแคปซูลที่ชื่อว่า Licaps ซึ่งเป็นแคปซูลที่มีคุณสมบัติป้องกันอากาศไม่ให้เข้าไปในแคปซูลได้ หมายความว่าสารสำคัญที่อยู่ในแคปซูลก็จะไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้สารสำคัญยังคงสภาพเดิมได้ยาวนานขึ้น ดังนั้นในการเลือกรับประทานน้ำมันปลา ควรเป็นน้ำมันปลาที่บรรจุอยู่ใน Licaps เพื่อคงคุณภาพของน้ำมันปลาไว้ให้ได้มากที่สุด
เลือกน้ำมันปลาขวดใหญ่หรือขวดเล็กดี
เมื่อพูดถึงน้ำมันปลาขวดใหญ่กับขวดเล็กแล้ว หากนำมาเปรียบเทียบปริมาณกับราคาจะพบทันทีว่าขวดใหญ่คุ้มค่ากว่าขวดเล็ก แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราเปิดผนึกขวด หมายความว่าอากาศจากภายนอกได้เข้าไปในขวดแล้ว ดังนั้นน้ำมันปลาขวดใหญ่ก็จะสัมผัสกับอากาศนานกว่าขวดเล็กเพราะขวดใหญ่มีปริมาณแคปซูลน้ำมันปลามากกว่าขวดเล็ก หาก 1 ขวดมี 100 เม็ดแล้วเรารับประทานวันละเม็ดก็แสดงว่าอากาศได้สัมผัสกับน้ำมันปลาไปแล้ว 100 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับขวดเล็ก 30 เม็ดที่เราเปิดทานทีละขวดแล้วจะเห็นว่าน้ำมันปลาขวดใหญ่จะสัมผัสกับอากาศนานกว่าขวดเล็กถึง 3 เท่า
Malonaldehyde (MDA) สารพิษที่อาจเกิดขึ้นเมื่อซื้อน้ำมันปลาขวดใหญ่
ถ้าเก็บน้ำมันปลาขวดใหญ่ไว้เป็นเวลานาน หรือเก็บในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิสูง มีแสงสว่าง น้ำมันปลาอาจเสื่อมคุณภาพ เกิดการออกซิเดชัน และเกิดการก่อตัวของสาร Malonaldehyde (MDA) โดย MDA มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจาก MDA สามารถทำลายดีเอ็นเอได้ นอกจากนี้ MDA ยังสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการอักเสบ และในระยะยาว MDA อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
เอกสารอ้างอิง
1. Harting Glade TF, Diaz Fuenzalida MA, Markovits Rojas A. Carrier fluid compositions for vacuum distillation to reduce persistent organic pollutants in fish oil products. US Patent 8,258,330 B2. 2012 Sep 4.
2. Harting Glade TF, Diaz Fuenzalida MA, Markovits Rojas A. Method for producing a concentrate of eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid esters. US Patent 8,586,772 B2. 2013 Nov 19.
3. Nutrimuscle Conseil. What is the Totox Omega 3 index? [Internet]. Nutrimuscle. 2024 [cited 2024 Nov 20]. Available from: https://eu.nutrimuscle.com/blogs/news/indice-totox-omega-3?srsltid=AfmBOor_63Izo6sJt5cq9hnXM7fmm0lCet2ygnz4xmaSy81X6d7WMypG
4. Innovation – Golden Omega [Internet]. Goldenomega.cl. 2020 [cited 2024 Nov 20]. Available from: https://www.goldenomega.cl/innovation/
5. Licaps Liquid – Filled Capsules® – Pharmaceutical Business review [Internet]. Pharmaceutical Business review. 2024 [cited 2024 Nov 20]. Available from: https://www.pharmaceutical-business-review.com/products/licaps-liquid-filled-capsules/
6. NHS Choices. Trimethylaminuria (“fish odour syndrome”) [Internet]. NHS. 2019. Available from: https://www.nhs.uk/conditions/trimethylaminuria/ 7. Oxidation in Omega-3 Oils: An Overview A White Paper Prepared by the Global Organization for EPA and DHA Omega-3s and the Council for Responsible Nutrition [Internet].