Skip to content

แมกนีเซียม (Magnesium) คือ แร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นของร่างกายมนุษย์ สามารถพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายโดยเฉพาะในกระดูก เซลล์กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ แมกนีเซียมจึงถือเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีประโยชน์และมีบทบาทต่อการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 300 ชนิด แมกนีเซียมจึงเป็นหัวใจหลักที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญทุกอย่าง ซึ่งรวมถึงการสร้างสาร DNA RNA โปรตีน การสร้างและเก็บพลังงานในเซลล์ กระบวนการย่อยสลายกลูโคส และยังมีบทบาทในการรักษาระดับของสารอิเล็กโตรไลท์ภายในเซลล์ ซึ่งส่งผลต่อการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้ออีกด้วย

เนื่องจากมีผู้ที่ยังไม่รู้มองข้ามประโยชน์และความจำเป็นที่ร่างกายต้องมีแร่ธาตุแมกนีเซียมอย่างเพียงพอ จึงมีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความผิดปกติกับร่างกายเนื่องมาจากสาเหตุการขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม ส่งผลเสียกับระบบการทำงานภายในร่างกาย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณแมกนีเซียมลดลงและกลายเป็นภาวะขาดแร่ธาตุชนิดนี้ที่ควรต้องระวังคือ การรับประทานอาหารจำพวกแป้งที่ผ่านการขัดสีเป็นประจำ รวมทั้งอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ดังนั้นการได้รับแมกนีเซียมจากอาหารทั่วไปอาจไม่เพียงพอต้องรับประทานแมกนีเซียมเพิ่มเติมด้วย

รู้หรือไม่แมกนีเซียมมีหลายชนิด ? …

ปัจจุบันแมกนีเซียมมีหลายรูปแบบให้เลือกสรร แมกนีเซียมแต่ล่ะชนิดมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันตามแต่ล่ะแบบฟอร์ม ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้จากฉลากข้างขวดที่ระบุส่วนผสมไว้

Magnesium Oxide: ดูดซึมได้ต่ำสุด 4% และหากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย

Magnesium Sulfate: ดูดซึมได้ประมาณ 10% มีฤทธิ์ช่วยเป็นยาระบายได้

Magnesium Orotate: ดูดซึมได้ประมาณ 15% สามารถเข้าแพร่เข้าสู่เซลล์ได้ดี ช่วยในการผลิตพลังงาน

Magnesium Taurate: ดูดซึมได้ประมาณ 20% ช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและการทำงานของสมอง

Magnesium Lactate: ดูดซึมได้ประมาณ 25% อ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยในเรื่องการผลิตพลังงานและดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด แมกนีเซียมรูปแบบนี้สามารถซึมผ่านผิวหนังได้บางส่วน จึงมักมีส่วนผสมของแมกนีเซียมตัวนี้ในน้ำมันทาผิว หรือใช้สำหรับอาบน้ำแช่ตัวในสปาเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

Magnesium Citrate: ดูดซึมได้ประมาณ 30% เป็นรูปแบบที่มักใช้ในอาหารเสริมมากที่สุด สามารถช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยป้องกันนิ่วในไต เนื่องจาก citrate สามารถจับกับ oxalate ได้และลดการเกิดก้อนแคลเซียมในไตได้

Magnesium Malate: ดูดซึมได้ประมาณ 40% ช่วยคลายกล้ามเนื้อเหมาะสำหรับผู้มีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งและปวดเมื่อตามร่างกาย

Magnesium Threonate: ดูดซึมได้ประมาณ 75% เป็นรูปแบบที่สามารถผ่าน Blood Brain Barrier ได้ ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและการทำงานของสมอง ช่วยในเรื่องความจำ คลายเครียด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

Magnesium Glycinate: ดูดซึมได้สูงสุด (80%) อ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหาร ไม่ทำให้ท้องเสีย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ คลายเครียด ลดอาการปวดไมเกรน และนอนหลับได้สนิท แมกนีเซียมถือว่าเป็น Calcium Channel Blocker สามารถลดความดันโลหิต กระตุ้นการขยายตัวหลอดเลือด สามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินให้เซลล์ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินดีขึ้นจึงมักพบว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักมีระดับแมกนีเซียมที่ต่ำกว่าคนทั่วไป

… รับประทานแมกนีเซียมอย่างไรดี ? …

ขนาดรับประทานแมกนีเซียมที่เหมาะสมคือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน และขนาดการรักษาเป็น 800 มิลลิกรัมต่อวัน แนะนำว่าควรแบ่งรับประทานแมกนีเซียมออกเป็นหลายครั้งตลอดทั้งวัน เนื่องจากระดับแมกนีเซียมในร่างกายจะต่ำที่สุดในช่วงเช้าตรู่และสูงที่สุดในช่วงเย็น ดังนั้นการรับประทานแมกนีเซียมในช่วงเช้าอาจช่วยบรรเทาอาการ เช่น อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้อเกร็ง หรือตะคริวที่มักเกิดขึ้นในช่วงเช้าได้