Skip to content

ไม่หลับไม่นอน จ้องมือถือทุกคืน จอประสาทตาเสื่อมไม่รู้ตัว!

มารู้จัก’แสงสีฟ้า’กันเถอะ

แสงเป็นอนูของแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนเป็นคลื่น คลื่นนี้มีความแรง (strength) และความยาวต่าง ๆ กัน โดยความยาวคลื่นของแสงวัดออกมามีหน่วยเป็น นานอเมตร (nanometer = nm) แต่ละความยาวคลื่นให้สีแตกต่างกัน มีชื่อต่างๆ จากคลื่นสั้นไปยาว ได้แก่ gamma, x-ray, uv visible, infrared, rad

io เป็นต้น ความยาวคลื่นที่ตาคนเรามองเห็นคือขนาด 400-700 nm โดยไล่จากสี violet, indigo, blue, green, yellow, red หรือก็คือสีรุ้งกินน้ำที่เราคุ้นเคยกันดี

แสงคลื่นสั้นจะมีพลังงานที่สูงกว่า ดังนั้นแสงสีฟ้า (Blue light) ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 380-500 nm จึงจัดเป็น high energy visible light = HEV นั่นคือเป็นแสงที่ตาเรามองเห็นและมีพลังงานสูง รวมทั้งมีความกระจัดกระจายสูง ซึ่งหากได้รับคลื่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราแน่นอน

ต้นกำเนิดของแสงสีฟ้านั้นเชื่อกันว่าได้จากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ในปัจจุบันแสงสีฟ้ายังมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่มนุษย์เราทำขึ้นมา หลอดไฟฟ้าธรรมดา ตลอดจนหลอด halogen ให้แสงสีฟ้า 3% หลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ 26% ถ้าเป็นหลอด cool white LED ให้ถึง 35% ซึ่ง LED ชนิดนี้นิยมนำมาใช้มากที่สุด โดยใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของหน้าจอสมาร์ทโฟน หน้าจอโทรทัศน์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แท็บแล็ตพิซีต่างๆ อุปกรณ์ไดโอดนี้จะแผ่แสงสีฟ้าความยาวคลื่นอยู่ที่ 450 นาโนเมตรเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าแสงสีฟ้าล้วนอยู่ในอุปกรณ์เทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน

 

โทษของแสงสีฟ้า

อันตรายจากแสงสีฟ้า (blue light hazard) ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะหลัง ด้วยเหตุที่แสงนี้มีพลังสูงสามารถผ่านกระจกตา แก้วตา ไปถึงจอตา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการมองเห็น แต่เดิมเราได้รับแสงสีฟ้าจากดวงอาทิตย์เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบัน แสงสีฟ้ามาจากหน้าจอของเครื่อง electronic และเครื่อง digital ทั้งหลายที่ใช้กันมากขึ้น อีกทั้งคนเราทำงานหน้าจอมากขึ้น ประเมินกันว่ากว่า 60% ของประชากรอยู่หน้าจอมากกว่า 6 ชั่วโมง/วัน แม้แต่เด็กที่ใช้เล่นเกมส์กันวันละหลายชั่วโมง ทำให้คนเราได้รับแสงสีฟ้ามากขึ้น และหากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานก็สามารถทำให้เกิดเป็นจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD) ได้ ซึ่งอาจร้ายแรงจนส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

 

โรคจอประสาทตาเสื่อม/โรคจุดภาพชัดจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD)

จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตาซึ่งเป็นบริเวณที่รับภาพได้ชัดเจนหรือเรียกว่า จุดภาพชัด(macula) โรคนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น สามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป โดยมีผลทำให้การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน มองภาพบิดเบี้ยวไปจากที่เคย สูญเสียการมองเห็นของภาพระยะใกล้หรือระยะไกล ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ ความอ้วน แสงแดด การที่ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินอี, สังกะสี, ลูทีน, กรดไขมันชนิดโอเมกา-3 และพันธุกรรม

แต่การศึกษาในระยะหลังมานี้ พบว่าอุบัติการณ์การเกิดจอประสาทตาเสื่อมในผู้ที่อายุน้อยเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่มาจากการได้รับแสงสีฟ้าจากการใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งแสงนี้จะไปกระตุ้นในเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับรงควัตถุไวแสงในจอตา เหนี่ยวนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระออกซิเจน หรือ radicals andreactive oxygenspecies (ROS) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา photochemical damage ส่งผลให้เซลล์เสียสมดุล จนเกิดการฝ่อและตายไปของเซลล์(cell apoptosis) และนำไปสู่การเป็นโรคจอตาเสื่อมในที่สุด

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อม

  • อายุ : อายุเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มมากว่า 20% ในคนที่อายุมากกว่า 75 ปี
  • พันธุกรรม : มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคกับญาติสายตรง ผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุกๆ 2 ปี
  • เชื้อชาติ/ เพศ : พบอุบัติการของโรคมากที่สุดในคนผิวขาว (Caucasian) เพศหญิง อายุมากกว่า 60 ปี
  • การสูบบุหรี่ : มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างชัดเจน
  • ผู้ที่มีความดันเลือดสูง และมีระดับของไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกินมาตรฐาน และระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว (Wet AMD)
  • วัยหมดประจำเดือน : ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมน Estrogen พบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
  • เผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเรื้อรัง

 

การทดสอบสภาพจอตาด้วยตารางตรวจจุดภาพชัด (Amsler Grid)

              จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มความเสี่ยงเกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม หรือผู้ที่เป็นโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมแล้ว ทดสอบสภาพจอตาเป็นประจำด้วยการมองตารางตรวจจุดภาพชัด (Amsler grid) โดยสามารถทำการทดสอบได้ด้วยตนเอง ดังนี้

  1. เมื่อจะทดสอบการมองเห็น ไม่ต้องถอดแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่ใส่อยู่ออก
  2. มองแผ่นภาพนี้ในระดับสายตา บนผนังที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  3. ยืนห่างจากแผ่นภาพตารางประมาณ 14 นิ้ว ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งไว้ มองที่จุดตรงกลางแผ่นภาพ ด้วยตาข้างที่เปิดอยู่
  4. ขณะที่จ้องจุดตรงกลางนี้ให้สังเกตว่าตารางสี่เหลี่ยมที่เห็นเป็นเส้นตรงหรือไม่ และมีขนาดเท่ากันหรือไม่
  5. ถ้าพบว่าส่วนไหนของตารางไม่ชัด หรือโค้งเป็นลักษณะคลื่น บิดเบี้ยว ขาดจากกัน พร่ามัว หรือบางพื้นที่หายไปจากพื้นที่ที่มองเห็น หรือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการตรวจครั้งสุดท้าย ควรพบจักษุแพทย์ทันที 
  6. ทำการทดสอบซ้ำเช่นเดียวกับตาอีกข้าง

 

อะไรบ้างที่ช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

😊การป้องกันเชิงพฤติกรรม

การใส่แว่นประเภทที่เป็นเลนส์กรองแสงสีฟ้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยปกป้องดวงตาจากอันตรายของแสงสีฟ้า โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับแสง LED จากหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แท็บเล็ตต่างๆ เนื่องจากเลนส์ถูกออกแบบมาให้มีส่วนช่วยบล็อกแสงยูวีและแสงสีฟ้าได้ มีการศึกษาที่พบว่าการใส่แว่นกรองแสงสีฟ้า สามารถลดอันตรายจากการเกิดจอตาเสื่อมได้ถึงร้อยละ 10.6 – 23.6 เลยทีเดียว หรือแม้แต่การใส่แว่นกันแดดเองก็ช่วยป้องกันแสงสีฟ้าจากดวงอาทิตย์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้การจัดการกับความเครียด การงดสูบุหรี่ และการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอก็มีส่วนช่วยลดการสร้างอนุอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการทำลายจอประสาทตา และหากมีการออกกำลังกายร่วมด้วยจะยิ่งช่วยเสริมให้มีเลือดไปไหลเวียนที่ตาเพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยลดความดันลูกตา ลดการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตาได้อีกด้วย

😊การป้องกันจอตาเสื่อมด้วยอาหารเสริม

  • ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนธีน (Zeaxanthine)

สารทั้ง2นี้จัดเป็นกลุ่มของแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (non-provitamin A carotenoids)  หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นกลุ่มแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ในร่างกายมนุษย์จะมีเพียงสารแคโรทีนอยด์เพียง 2 ชนิดนี้เท่านั้นที่พบในเนื้อเยื่อตาและพบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา โดยคุณสมบติหลักคือการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) จึงสามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นจากแสง และช่วยลดการตายของเซลล์รับแสง (photoreceptor apoptosis) ส่งผลลดการเกิดจอประสาทตาเสื่อมได้ นอกจากนี้ลูทีนและซีแซนธีนยังเป็นรงควัตถุจอตา (Macular pigment) ที่ทำหน้าที่กรองแสงได้ครอบคลุมหลายความยาวคลื่น รวมไปถึงคลื่นของแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูงด้วย 

สารทั้ง 2 นี้ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานจากภายนอกเท่านั้น โดยในธรรมชาติมักจะพบในผักที่มีใบสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม เคลล์ บร๊อกโคลี พาสเลย์ ผักกาดคอส คะน้า ปวยเล้ง ส่วนในผลไม้มักจะพบในส้ม กีวี่ องุ่น เป็นต้น ขนาดที่ควรได้รับต่อวันยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ขนาดที่นิยมใช้คือ lutein 5 mg/day (ในผู้ที่มีภาวะ AMDแล้ว 10-20 mg/day), zeaxanthine 1-3 mg/day  ใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือน

  • Billbery (บิลเบอร์รี่)

เป็นผลไม้สีน้ำเงินม่วงที่มีสารสำคัญจำพวก anthocyanin ที่สามารถจับกับผิวเยื่อบุที่จอภาพเรตินาได้ดี ซึ่งตัวมันมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงสามารถลดความเสื่อมของเซล์ และช่วยฟื้นฟูเซลล์รับแสง (Rhodopsin) ได้ หลังจากถูกทำลายด้วยแสง นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการมองเห็นในที่มืด และอาการเมื่อยล้าของดวงตา เมื่อใช้สายตานานๆ ได้อีกด้วย โดยขนาดที่แนะนำคือ 300 mg/day

  • วิตามินเอ (Vitamin A) และกลุ่ม Beta-Carotenoids

วิตามินเอมีส่วนในการช่วยป้องกันเซลล์จอประสาทตาจากแสง อีกทั้งการได้รับวิตามินเอที่เพียงพอยังช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์รับได้อีกด้วย จากการศึกษาจะพบว่าหากร่างกายผู้ป่วยมีระดับวิตามินเอต่ำมักจะทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม (macular degeneration), กระจกตาเป็นแผล(keratomalacia), ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ (xerophthalmia), การมองเห็นผิดปกติ (visual impairment) อีกทั้งยังช่วยในการมองเห็นในที่มืดอีกด้วย เอาเป็นว่าการขาดวิตามินเอนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของความบกพร่องทางตาเลยทีเดียว ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินเอที่แนะนำให้บริโภคโดยเฉลี่ย คือ 700 ไมโครกรัม/วันในผู้ชาย และ 600 ไมโครกรัม/วันในผู้หญิง ส่วนเบต้า-แคโรทีนอยด์ควรได้รับประมาณ 25000 IU/day

  • Vitamin C และ Glutathione

ทั้งวิตามินซีและกลูต้าไธโอน จัดเป็นสรต้านอนุมูลอิสระที่พบได้มากในร่างกายของผู้ที่มีสุขภาพตาดี และมักจะมีปริมาณลดลงในร่างกายของผู้ที่มีภาวะ AMD สำหรับตัววิตามินซีนั้นจะเป็นตัวที่ช่วยในการสังเคราะห์กลูต้าไธโอนในร่างกาย นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นตัวช่วยดูซับรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่เป็นตัวการต่อสุขภาพตาอีกด้วย ขนาดของวิตามินซีที่เเนะนำตือ 1000-2000 mg/day 

  • Selenium

เป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของ Glutathione peroxidase ที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย จึงสามารถช่วยชะลอการเกิด AMD และปัญหาของดวงตาด้านอื่นๆได้ เช่น ต้อหินและต้อกระจก โดยขนาดที่แนะนำต่อวัน คือ 200-400 mcg/day

  • Zinc(สังกะสี) และCopper(ทองแดง)

จากการศึกษาพบว่าแร่ธาตุนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ที่ทำงานเกี่ยวกับจอประสาทตา เช่น Superoxide dismutase, Catalase เป็นต้น รวมทั้งเป็นตัวช่วยจับสารอนุมูลอิสระได้ ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในการชะลอการเกิด AMD ได้นั่นเอง ขนาดที่เเนะนำต่อวัน คือ zine oxide 80 mg/day และ Copper oxide 2 mg/day

  • กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic Acid ; ALA)

เป็นกรดไขมันที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จนได้รับการขนานนามว่า สารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาล (Universal Antioxidant) คือ เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, กูลต้าไทโอน และโคเอ็นไซม์คิว 10 เนื่องจากสารนี้ช่วยลดโอกาสการดื้ออินซูลินได้ จึงมีการนำมาใช้ในการป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมจากโรคเบาหวานได้ จึงสามารถนำมาใช้ใน AMD ได้เช่นกัน ขนาดที่แนะนำคือ 300-900 mg/day

  • Omega-3 fatty acid

จากการศึกษาของ Age-Related Eye Disease Study (AREDS) ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็น AMD แล้ว หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น AMD พบว่าโอเมก้า-3 เป็นสารสำคัญตัวหนึ่งที่ช่วยชะลอความรุนแรงของการเกิด AMD ได้ ขนาดที่แนะนำ คือ 2000-6000 mg/day