Skip to content

อาหารทางการแพทย์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ปัจจุบันมีอาหารทางการแพทย์ที่อยู่ในท้องตลาดมากมาย คำถามคือเราควรเลือกอย่างไร ควรเลือกที่รสชาตอร่อย? เพื่อนแนะนำมาว่ากินแล้วดี? หรือเลือกยี่ห้อที่เคยได้ยินตามโฆษณาดี?

อาหารทางการแพทย์มีหลายสูตรให้เลือกใช้มากๆ แม้กระทั่งในยี่ห้อเดียวกันก็มีหลายสูตรให้เลือกรับประทาน ซึ่งแต่ละสูตรจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันเหมาะกับแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ขึ้นกับเงื่อนไขทางสุขภาพ (Health condition) ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีโรคประจำตัวเป็รโรคเบาหวานไม่ควรทานอาหารทางการแพทย์ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงๆ เป็นต้น จุดประสงค์ในการรับประทานสามารถใช้ดื่มเพื่อทดแทนอาหารมื้อหลัก เพื่อเสริมอาหารเป็นบางมือ หรืออาจใช้เป็นอาหารทางสายยาง (Tube feeding) ก็ได้ 

อาหารทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  1. อาหารทางการแพทย์สูตรทั่วไป

เป็นอาหารทางการแพทย์ที่มีสารอาหารครบถ้วน ไม่ได้มีการเพิ่ม หรือลดอาหารหมู่ใดเป็นพิเศษ  เหมาะกับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ และต้องมีการได้รับอาหารทางสายยาง หรือผู้สูงอายุ หรือคนที่สามารถรับประทานอาหารได้ร้อยกว่าปกติ ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Once complete, Blendara MF, Ensure, Nutawell MF, และอื่นๆ

  1. อาหารทางการแพทย์สูตรที่เหมาะกับคนไข้ในแต่ละโรค
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรับประทานยา หรือฉีดอินซูลินเป็นการรักษาในเรื่องของการคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด แต่ต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (low glyecemic index) เนื่องจากเป็นการควบคุมไม่ให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น และอิ่มนาน ดังนั้นอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานได้แก่สูตรที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำนั่นเอง ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Gen-DM, Once pro, Glycowell, Glucerna SR, Glucomeal, และอื่นๆ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ตับล้มเหลว (Liver failure) ปัญหาที่พบคือคนไข้ในกลุ่มนี้มีปัญหาในการย่อยโปรตีน ซึ่งหน่วยย่อยคืออะมิโน แอซิดกลุ่มที่มีโครงสร้างทางเคมีมีวงแหวนอะโรมาติก (Aromatic amino acid) ได้แก่ Pheylalanine, Tyrosine และ Tryptophan ได้น้อยกว่าปกติซึ่งทำให้สารสื่อประสาทมีความผิดปกติไป (Hepatic encephalopathy) คนไข้กลุ่มนี้ควรได้รับโปรตีนที่มี amino acid โครงสร้างเป็นแบบโซ่กิ่ง (Branch chain amino acid) เพื่อลดปริมาณ Aromatic amino acid ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Aminoleban-oral เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมากเมื่อได้รับการรักษาทางเคมี หรือด้วยพยาธิสภาพของโรคเองทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้รับประทานอาหารได้น้อยและทำให้มีแนวโน้มจะขาดสารอาหาร จึงควรได้รับอาหารทาง การแพทย์ที่ให้พลังงานสูง ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Neo-mune, Immuplex, Nemunewell, เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องได้รับการฟอกไต โดยจะแบ่งได้เป็น
    • ก่อนล้างไต ควรทานอาหารทางการแพทย์ที่ควบคุมปริมาณแร่ธาตุ และโปรตีนที่เหมาะสมในปริมาณต่ำ และย่อยง่าย และจำกัดหลีกเลี่ยงน้ำตาลสูง ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Once Renal, Predia well เป็นต้น
    • หลังล้างไต ควรทานอาหารทางการแพทย์ที่ควบคุมปริมาณแร่ธาตุ และโปรตีนที่เหมาะสมในปริมาณสูง เพื่อให้ได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอและพลังงานสูง เนื่องจากเมื่อล้างไตเสร็จแล้ว ผู้ป่วยที่ล้างไตจะมีการเสียแร่ธาตุบางส่วนไปกับการฟอกไต ยี่ห้อตามท้องตลาดยกตัวอย่างเช่น Once Dialyze, Postdia-well เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าอาหารทางการแพทย์มีให้เลือกหลากหลาย วิธีการเลือกรับประทานแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ถ้าไม่แน่ใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน