Skip to content

👉 มารู้จักโควิดสายพันธุ์เดลต้ากันเถอะ!

โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โควิดสายพันธุ์อินเดีย ”เป็นเชื้อแขนงหนึ่งของไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617 พบครั้งแรกในประเทศอินเดียและกำลังเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทยว่าจะมาแทนที่เชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) ที่เป็นเชื้อชนิดแรกๆที่ระบาดในไทย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสายพันธุ์เดลต้า (Delta variant) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021 เชื่อว่าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก ปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า 80 ประเทศ รวมไปถึงประเทศไทยของเราด้วย

ความน่ากลัวของโควิดสายพันธุ์เดลต้า

เชื้อสายพันธุ์เดลตานี้ มีความสามารถจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว กว่าสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) 1.4 เท่า หรือ 60% หรือก็คือใช้เวลาเพียง 5-10 วินาทีเท่านั้น โดยเชื้อสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 16 ชั่วโมง จึงเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อได้สูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในห้องที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้สะดวก และถ้าหากเคยติดเชื้อโควิดไปแล้ว ก็ยังสามารถติดสายพันธุ์นี้ได้อีก โดยอาการที่พบจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์อังกฤษ เชื้อสามารถลงปอดได้เร็วขึ้น และยังอยู่ในร่างกายเราได้นานขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ คือปัจจุบันพบโควิดสายพันธุ์เดลต้ากลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) คือมีการเปลี่ยนแปลงตรงกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์

อาการหลักของการติดเชื้อไวรัสเดลตา

  • ปวดศีรษะ 
  • เจ็บคอ 
  • น้ำมูกไหล
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา

วัคซีนกับการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้า

  • วัคซีน Pfizer

ฉีดเข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%  (หมายความว่า 33% เมื่อติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ)

ฉีดเข็มที่ 2  ป้องกันการติดเชื้อได้ 88%, ป้องกันการป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลได้ 96%

  • วัคซีน Moderna

มีรายงานว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

  • วัคซีน Johnson & Johnson

มีรายงานว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ประมาณ 8 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

  • วัคซีน AstraZeneca  

ฉีดเข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%

ฉีดเข็มที่ 2  ป้องกันการติดเชื้อได้ 60%, ป้องกันการป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลได้ 92%

  • วัคซีน Sinovac

ยังไม่มีรายงานในการป้องกันการติดเชื้อ

การป้องกันโควิด (ทุกสายพันธุ์)

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • รักษาระยะห่างกับผู้อื่น
  • ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
  • ไม่รวมกลุ่มกัน
  • ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง

อ้างอิง