Skip to content

ความแตกต่างของแคลเซียมคาร์บอเนตจากสาหร่าย กับ แคลเซียมคาร์บอเนตทั่วไป

ถ้าพูดถึงแคลเซียม หลายๆคนอาจจะคุ้นเคยดีกับเม็ดแคลเซียมสีขาวในแผงฟลอยอลูมิเนียม ที่มักได้รับมาจากโรงพยาบาล หรือหาได้ง่ายตามร้านขายยา หรือ ท้องตลาดทั่วไป มีทั้งแบบที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาและรูปแบบอาหารเสริม แคลเซียมรูปแบบนี้มักจะเป็นเกลือคาร์บอเนต หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ที่นิยมบริโภคกันมากเนื่องจากหาได้ง่าย และ ราคาถูกกว่าแคลเซียมชนิดอื่นๆ

แคลเซียมคาร์บอเนต มีแหล่งที่มาแตกต่างกัน

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) หรือ หินปูน มีสูตรทางเคมีคือ CaCo3 เป็นสารที่เกิดจากการตกตะกอนของหิน กระดูกสัตว์ และสะสมตัวของเปลือกหอย ปะการัง และหินในท้องทะเล ในธรรมชาติพบได้มากในแบบหินแคลไซต์ หรือแคลสปาร์  ในปัจจุบันแคลเซียมคาร์บอเนตถูกใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย รวมถึงนำมาใช้ในรูปแบบยาและอาหารเสริม เพื่อเสริมแคลเซียมในผู้ที่ขาดแคลเซียม รวมทั้งทำเป็นยาละลายฟอสเฟตสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือด และคนเป็นไตวายได้

  • จุดเด่นของแคลเซียมเกลือคาร์บอเนต คือ มี Elemental calcium สูงกว่าเกลืออื่นๆ คือมีมากถึง 40% หมายความว่า หากเราทานแคลเซียมคาร์บอเนต 1000 มก. เราจะได้รับปริมาณแคลเซียมจริงๆ 400 มก. เมื่อเทียบกับเกลืออื่นๆที่มี Elemental calcium ที่น้อยกว่า
  • จุดด้อยของแคลเซียมเกลือคาร์บอเนต คือ การดูดซึมในร่างกายน้อยมาก มี %Absorption เพียงแค่ 10-30% และยังต้องอาศัยกรดในกระเพาะช่วยในการดูดซึม จึงจำเป็นต้องรับประทานพร้อมหรือหลังมื้ออาหารทันที เมื่อเทียบกับเกลืออื่นๆ ที่มี %Absorption มากกว่า 90%

แล้วแบบนี้เราจะทำยังไงดี…?

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นมักเกิดขึ้นกับแคลเซียมคาร์บอเนตที่มาจากหินปูน จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า มีแคลเซียมคาร์บอเนตที่มากจากพืชทะเล คือ สาหร่ายทะเล ที่มีโครงสร้างทางเคมีคือแคลเซียมคาร์บอเนตเช่นเดียวกัน แต่เมื่อดูลักษณะทางกายภาพพบว่า มีความพรุนสูง รวมถึงมีแร่ธาตุต่างๆเป็นองค์ประกอบอีกมากมายซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้แก้ไขจุดด้อยของแคลเซียมคาร์บอเนตได้

อะควอมิน Aquamin ผลิตจากสาหร่ายทะเลสีแดง Lithothamnion coralioides ซึ่งเจริญเติบโตบริเวณชายฝั่งที่ปราศจากมลพิษของประเทศไอร์แลนด์(Ireland) และไอซ์แลนด์(Iceland) แหล่งเก็บเกี่ยวของสาหร่ายชนิดนี้อยู่บริเวณ Bíldudalur ประเทศไอซ์แลนด์ ขั้วโลกเหนือซึ่งเป็นทะเลที่สะอาด  โดยการนำสาหร่ายที่ตายแล้ว มาผ่านกระบวนการล้าง บด และ อบแห้ง ดังนั้น จึงไม่สารเคมีในกระบวนการ

สาหร่ายชนิดนี้ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด โดยมีแคลเซียมมากที่สุด การที่อะควอมินมีส่วนประกอบของแร่ธาตุหลายชนิด และมีโครงสร้างที่เป็นรูพรุนซึ่งทำให้ย่อยง่าย ผลิตภัณฑ์นี้จึงสามารถใช้เป็นแคลเซียมที่มีค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์สูงได้ การแตกตัวและการดูดซึม เนื่องจากโครงสร้างของ Aquamin เป็นโครงสร้างแบบพืช(แบบรังผึ้ง)และพื้นที่ผิวที่มากกว่าแคลเซียมจากหินปูน ประมาณ 10 เท่า ดังนั้นน้ำย่อยในลำไส้เล็กซึ่งเป็นกรดอ่อนจึงทำให้เกิดการแตกตัวและดูดซึมในบริเวณลำไส้ใหญ่ได้ดีกว่า แคลเซียมจากหินปูน

ความแตกต่างของแคลเซียมคาร์บอเนตจากสาหร่าย กับ แคลเซียมคาร์บอเนตทั่วไป
แคลเซียมคาร์บอเนตL. calcareum CaCO3(สาหร่าย)CaCO3 ทั่วไป
องค์ประกอบสำคัญCaCO3 + แร่ธาตุต่างๆCaCO3
ความพรุนมีความพรุนสูงเป็นผลึกหนา ความพรุนต่ำ
แหล่งที่มาสาหร่ายทะเลหินปูน
การดูดซึมแตกตัวและดูดซึมได้ประมาณ 90%แตกตัวและดูดซึมได้ประมาณ 10-30%
คุณสมบัติเพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดแคลเซียม, มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ, กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน (osteoblast cell), กระตุ้นการสร้าง collagen ที่ข้อต่อเพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดแคลเซียม, เป็นตัวจับฟอสเฟตในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง

จากการทดลองของ Professor Nora O’ Brien, University College Cork, UCC- Ireland ภาวะจำลองการละลายและการแตกตัวของ Aquamin F เทียบกับแคลเซียมจากหินปูน (Dolomite) ผลปรากฏว่า

✿ Aquamin F แตกตัวและดูดซึมได้ 86.5%

✿ Dolomite แตกตัวและดูดซึมได้ 36.5%

อะควอมิน Aquamin  มีองค์ประกอบของแร่ธาตุต่างๆที่นอกเหนือจากแคลเซียมอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ร่างกาย ต้องการจำนวน 74 ชนิด โดยแร่ธาตุหลัก เป็น แคลเซียม (34 %) และ แมกนีเซียม (2.4%) โดย มีการศึกษาพบว่าแร่ธุาตอื่นๆมีส่วนสำคัญในด้านการรักษาภาวะข้อเสื่อมได้  เช่น

  • magnesium, copper, manganese, selenium และ zinc มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ
  • การขาด magnesium ในหนูทดลองส่งผลทำให้เกิดการทำลายของข้อเพิ่มขึ้น
  • copper มีส่วนสำคัญในการสร้าง collagen cross-linker บริเวณข้อ และเป็น anti-oxidant
  • selenium เป็น co-factor ที่ใช้ในการสร้าง glutathione peroxidase ที่ช่วยในลดการสึกหรอของข้อต่อได้
องค์ประกอบของแร่ธาตุต่างๆที่พบใน Aquamin

องค์ประกอบของแร่ธาตุต่างๆที่พบใน Aquamin

ปริมาณแร่ธาตุที่พบในแคลเซียมคาร์บอเนตจากแหล่งต่างๆ

สาหร่ายอะควอมิน มีฤทธิ์ยับยั้งพาราไทรอยด์ฮอร์โมน(PTH)ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นการสลายกระดูก จึงมีผลให้การสลายกระดูกของร่างกายลดลง และอะควอมินยังทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกให้มีการสะสมแร่ธาตุที่ดีขึ้น ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงขึ้น

งานวิจัย

มีการศึกษาในอาสาสมัครอายุ 25-75 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม (osteoarthritis) ระดับปานกลางถึงรุนแรง แบ่งเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 20 คน ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ Aquamin calcium 2400 มก./วัน, กลุ่มที่ได้รับ Glucosamine 1500 มก./วัน, กลุ่มที่ได้รับ Aquamin calcium+ Glucosamine และ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Aquamin และ กลุ่มที่ได้รับ Glucosamine มีอาการดีขึ้นจากวันแรกอย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์

✿ เสริมสร้างการสร้างกระดูกให้แข็งแรง

✿ อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการและช่วยลดการอักเสบในส่วนของข้อต่อและผิวหนัง

✿ ไม่มีการอุดตัน ของแคลเซียมในระบบหลอดเลือดหัวใจเมื่อบริโภคไปมากกว่า 4 ปี

✿ วัตถุดิบจากธรรมชาติ (Calcium from Natural) ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี (No Chemical Treat)

เอกสารอ้างอิง
  1. Frestedt, Joy L., et al. “A natural mineral supplement provides relief from knee osteoarthritis symptoms: a randomized controlled pilot trial.” Nutrition journal 7 (2008): 1-8.
  2. Ryan, Sinead, Denise M. O’Gorman, and Yvonne M. Nolan. “Evidence that the marine‐derived multi‐mineral Aquamin has anti‐inflammatory effects on cortical glial‐enriched cultures.” Phytotherapy Research 25.5 (2011): 765-767.
  3. Widaa, Amro, et al. “The Osteogenic Potential of the Marine‐Derived Multi‐Mineral Formula Aquamin Is Enhanced by the Presence of Vitamin D.” Phytotherapy research 28.5 (2014): 678-684.
  4. O’Callaghan, Yvonne C., et al. “Antioxidant and pro-apoptotic effects of marine-derived, multi-mineral aquamin supplemented with a pine bark extract, Enzogenol, and a green tea extract, Sunphenon.” Journal of medicinal food 16.10 (2013): 920-926.
  5. da Silva, Rosana Pereira, et al. “Characterisation and traceability of calcium carbonate from the seaweed Lithothamnium calcareum.” Solids 2.2 (2021): 192-211.