Skip to content
ใครมีอาการแบบนี้บ้าง?
ง่วงตอนเช้า ติดกาแฟ แต่กลางคืนกลับ Alert นอนไม่หลับ ชอบกินอาหารเค็มหรือหวาน หน้ามืดง่าย เวียนหัวบ่อย เป็นไอขี้แพ้ เดี๋ยวก็ผื่นขึ้นๆยุบๆไม่มีสาเหตุ ชอบปวดเมื่อยเนื้อตัว…ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าต่อมหมวกไตของคุณ ล้าไม่ไหวแล้ว

ต่อมหมวกไตคืออะไร?

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ลักษณะเป็นเหมือนหมวกทรงสามเหลี่ยม สวมอยู่บนไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยชนิดที่เราจะพูดถึงกันหลักๆในบทความนี้ คือ Cortisol, DHEA, Aldosterone เป็นต้น ซึ่งหลั่งมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และเป็นต้นเหตุหลักของอาการที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ฮอร์โมนคอร์ติซอล” (Cortisol) หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนเครียด” ที่ตอบสนองเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน มีหน้าที่หลักๆคือ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ปรับหรือควบคุมความดันโลหิต ลดภาวะอักเสบหรือการแพ้ของร่างกาย ช่วยควบคุมอารมณ์และความเครียด ลดอาการเจ็บปวด

“ฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน” (Aldosterone) ที่ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย

ต่อมหมวกไตก็ล้าได้เหมือนกันนะ!

ต่อมหมวกไตล้า เกิดจากการที่ต่อมหมวกไตทำงานหนักเกินไป จาก life sytyle ที่ไม่ดีต่างๆ เช่น นอนดึก เครียดสะสม อดอาหารเป็นเวลานานเกินไป หรือ กินอาหารมากเกินไป ออกกำลังกายหักโหมเกินไป สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด จนต้องหลั่งฮอร์โมนต้านเครียดออกมา คือ cortisol ทำให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักตลอดเวลา จนล้า ผลิตฮอร์โมนได้ไม่เต็มที่ก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ 

อาการที่แสดงออกมามักเป็นอาการไม่รุนแรง คนทั่วไปเลยละเลยไม่ใส่ใจ แต่จริงๆแล้วมันผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง เช่น การทำงาน จิตใจ สุขภาพร่างกาย อีกทั้งหากปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เป็นโรคเรื้อรังต่างๆตามมาได้ เช่น เบาหวาน ความดันสูง มีอาการหมดไฟ ลนอาจไปถึงซึมเศร้าได้

อาการต่อมหมวกไตล้า

  • เหนื่อยง่าย
  • ร้อนๆหนาวๆวูบวาบคล้ายเป็นไข้
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืด
  • ติดกาแฟ ร่างกายต้องการคาเฟอีน
  • อาการดีขึ้นเมื่อทานของหวาน
  • ชอบกินเค็ม เนื่องจากเมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมน Aldosterone น้อยลง ทำให้ไตขับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ โซเดียม โปตัสเซียม และแมกนีเซียม ออกทางปัสสาวะมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความอยากทานของเค็มและหวานจัด เช่น มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต เป็นต้น
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืดวิงเวียนง่าย เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า
  • ผิวหมองคล้ำ
  • เป็นผื่นง่าย โรคภูมิแพ้
  • เป็นหวัดบ่อย
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย ทนต่อความเครียดไม่ได้
  • ความจำไม่ดี สมาธิสั้น
ภาวะต่อมหมวกไตล้า และภาวะเบิร์นเอาท์สามารถรักษาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีรักษาง่ายดาย สามารถทำได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
  • เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และนอนพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับCortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)
  • รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักๆ เพียง1-2 มื้อ
  • ออกกำลังกายไม่หนักจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
  • เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น หางานอดิเรกทำ หรือจัดห้องให้น่าอยู่
  • เดินทางไปเที่ยว
  • รับประทานอาหารเสริมที่ต่อมหมวกไตต้องการ
  • หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม