ปัญหาส่วนใหญ่ที่คนวัยทำงานอย่างเรากังวลคงหนีไม่พ้นเรื่องอาการ “ปวด” ไม่ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดบ่าไหล่หลัง ปวดแขน ปวดบริเวณเดิมๆซ้ำๆเรื้อรังจนกลายเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กันถ้วนหน้า อีกทั้งเวลาทำงานเยอะเข้าก็มีความเครียดสะสม จนมีอาการปวดศีรษะ ปวดเบ้าตา ปวดขมับจนกลายเป็น “ไมเกรน” ซึ่งเป็นการปวดศีรษะที่เกิดจากสารสื่อประสาทและการส่งสัญญาณที่สมองผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดศีรษะขึ้นอย่างเฉียบพลันในทุกครั้งที่ถูกกระตุ้น นอกจากนี้ความเครียดก็ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น นานๆไปก็อาจทำให้หลอดเลือดบาดเจ็บจนเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจในที่สุด จากอาการเล็กๆเมื่อเป็นนานๆเข้าทุกอย่างต่างส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวงได้ในที่สุด ซึ่งตัวช่วยที่จะแก้ปัญหานี้ได้ที่คนมักมองข้ามกันคือแร่ธาตุนั่นเอง เนื่องจากยังมีผู้ที่ไม่รู้ มองข้ามประโยชน์และความจำเป็นที่ร่างกายต้องมีแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียม และสังกะสีอย่างเพียงพอ จึงมีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความผิดปกติกับร่างกายอันเนื่องมาจากสาเหตุการขาดแร่ธาตุต่างๆซึ่งส่งผลเสียกับระบบการทำงานภายในร่างกาย
โดยปกติปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการ คือ 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนสังกะสีร่างกายต้องการในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้นคือ 15 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับสตรีมีครรภ์ควรได้รับสังกะสีเพิ่มขึ้นจากปริมาณปกติ 1.6 มิลลิกรัมต่อวัน และสำหรับสตรีให้นมบุตรควรได้รับสังกะสีเพิ่มขึ้นจากปริมาณปกติ 2.9 มิลลิกรัมต่อวัน แต่การได้รับแร่ธาตุจากการรับประทานอาหารอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณแมกนีเซียมลดลง และกลายเป็นภาวะขาดแร่ธาตุชนิดนี้ซึ่งควรต้องระวังก็คือ การรับประทานอาหารจำพวกแป้งที่ผ่านการขัดสีเป็นประจำ รวมทั้งอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และอาจรวมถึงผู้ที่รับประทานยาในบางประเภท เช่น ยาขับปัสสาวะ ดังนั้นการรับประทานแร่ธาตุเสริมเพิ่มจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหานี้
Magnesium (แมกนีเซียม)
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบมากเป็นลำดับที่สองภายในเซลล์ของร่างกาย คุณสมบัติหลักของแมกนีเซียมเข้าใจได้ง่ายด้วยคำว่า “3 คลาย” คือ คลายเครียด-คลายกล้ามเนื้อ-คลายหลอดเลือด
- คลายเครียด : แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการลดความเครียดและการวิตกกังวลได้ เพราะผู้ที่มีภาวะเครียดส่วนใหญ่มักจะมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายน้อยกว่าคนปกติ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
- คลายกล้ามเนื้อ : แมกนีเซียมทำงานร่วมกับแคลเซียมในการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ โดยแมกนีเซียมมีบทบาทหลักในการช่วยคลายกล้ามเนื้อ จึงทำให้สามารถลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และป้องกันตะคริวได้ นอกจากนี้แร่ธาตุทั้ง สองยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟันอีกด้วย
- คลายหลอดเลือด : แมกนีเซียมมีคุณสมบัติในการช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด โดยการลดปริมาณการผ่านของแคลเซียมเข้ามาในเซลล์ ส่งผลให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีส่วนช่วยในการคลายกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้การเต้นของหัวใจอยู่ในจังหวะที่เหมาะสม
Zinc (สีงกะสี)
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน : สังกะสีช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เนื่องจากสังกะสีจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันและการส่งสัญญาณของเซลล์ การขาดสังกะสีอาจนำไปสู่ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง งานวิจัยบางฉบับชี้ให้เห็นว่าการเสริมสังกะสีช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้อย่างมาก และส่งเสริมการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ
- เร่งการสมานแผล : สังกะสีมักถูกใช้ในโรงพยาบาลเพื่อรักษาแผลไฟไหม้ แผลพุพอง และการบาดเจ็บอื่นๆ ที่ผิวหนัง เนื่องจากแร่ธาตุนี้มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์คอลลาเจน การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการตอบสนองต่อการอักเสบ จึงจำเป็นต่อการสมานแผล โดยผิวหนังของเรามีสังกะสีในปริมาณที่ค่อนข้างสูง คือ ประมาณ 5% ของปริมาณสังกะสีในร่างกาย การขาดแร่ธาตุสังกะสีจะทำให้แผลหายช้า ซึ่งการเสริมสังกะสีสามารถเร่งการฟื้นตัวของผู้ที่มีบาดแผลได้
3. ช่วยรักษาสิว : การรักษาด้วยสังกะสีทั้งแบบทาและแบบรับประทานสามารถรักษาสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถกลดการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ผู้ที่เป็นสิวมักจะมีระดับสังกะสีที่ต่ำกว่าปกติ ดังนั้นการเสริมสังกะสีอาจช่วยลดอาการสิวได้
4. สังกะสีอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นได้ เช่น โรคปอดบวม การติดเชื้อ และโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ สังกะสีอาจบรรเทาภาวะ oxidative stress ซึ่งเป็นสาเหตุให้ร่างกายเกิดการอักเสบและช่วยเรื่องการตอบสนองของภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ ในการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่เสริมสังกะสีมีการตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคปอดบวม และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการอารมณ์ต่างๆ ดีขึ้น
5. สังกะสีช่วยลดการอักเสบ : สังกะสีสามารถลดภาวะ oxidative stress จากความไม่สมดุลระหว่างอนุมูลอิสระกับระบบต้านออกซิเดชั่นในร่างกาย และลดระดับของโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ภาวะเครียดออกซิเดชั่นนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง และสภาพจิตใจที่แย่ลงได้
ทั้งแมกนีเซียมและสังกะสีเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มักจะทำงานร่วมกันในหลายๆระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงระบบประสาท โดยพบว่าแมกนีเซียมและสังกะสี เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างและการส่งสัญญาณประสาทที่สมอง จึงมีส่วนช่วยจัดการด้านอารมณ์ ช่วยลดอาการซึมเศร้า และสามารถป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ นอกจากนี้แร่ธาตุทั้งสองยังยังช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น จากการกระตุ้นประสาทพาราซิมพาเธติก จึงทำให้ร่างกายรู้สึกสงบและผ่อนคลาย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการแก้ปัญหาการนอนหลับยากจากความเครียดสะสม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหายอดฮิตของชาวออฟฟิศนั่นเอง ดังนั้นการเลือกรับประทานแมกนีเซียมที่ดีก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ธาตุอย่างสังกะสีร่วมด้วย เพื่อเสริมประโยชน์ในการทำงานของแร่ธาตุทั้งคู่