Skip to content

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสเป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดการถดถอยของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค หรือเซลล์ที่หมดอายุขัย รวมไปถึงเซลล์ที่ติดเชื้อออกจากร่างกายได้ (Immunosenescence) ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะทุพโภชนาการ สารพิษ อนุมูลอิสระต่างๆ การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้รั่วซึม ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ เนื่องจากการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ลดลง

อย่างไรก็ตามมีหลายการศึกษาพบว่ามีสารอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้น เสริมสร้างและปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักกับเบต้ากลูแคน

เบต้ากลูแคน: เป็นสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ โดยทั่วไปเราได้รับเบต้ากลูแคนจากการอาหารที่ทานในชีวิตประจำวัน เบต้ากลูแคนพบได้ในอาหาร เช่น ซีเรียล เห็ด สาหร่าย แต่เบต้ากลูแคนมีหลายโครงสร้างทางเคมี แต่ละโครงสร้างเคมีจะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่เท่ากัน ประโยชน์ของเบต้ากลูแคนจึงขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่รับประทาน อาหารแต่ละชนิดก็จะให้เบต้ากลูแคนแตกต่างชนิดกัน เช่น เบต้ากลูแคนจากซีเรียลจากข้าวโอ๊ตหรือข้าวบาร์เลย์จะเป็น (β-1,3/1,4) ในขณะที่เบต้ากลูแคนจากเห็ด เช่น เห็ดไมตาเกะ จะเป็น  β-1,3/β-1,6 สายตรง

เบต้ากลูแคนเป็นหนึ่งในสารที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิต้านทานที่มีการศึกษามากที่สุด เบต้ากลูแคนต่างชนิดกันจะมี ขนาด รูปร่างโมเลกุลที่ ค่าการละลาย ประสิทธิผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน พบว่า β-1,3/β-1,6 ช่วยในการกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี เบต้ากลูแคนเห็ดมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างและปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเบต้ากลูแคนที่สกัดมาจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น รา เป็นต้น

เบต้ากลูแคนเกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานยังไง?

โดยทั่วไปเชื้อโรคในทางเดินอาหารจะถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) และเกิดการสร้างภูมิต้านทานเชื้อชนิดนั้น ๆ ที่เข้ามา พบว่าเบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยเมื่อรับประทานเบต้ากลูแคน เม็ดเลือดขาวในร่างกายเข้าใจว่าเบต้ากลูแคนเป็นเชื้อโรค ร่างกายก็จะเกิดการหลั่งสารเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานทำให้เซลล์ภูมิต้านทานแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่เบต้ากลูแคนไม่ใช่เชื้อโรคจึงไม่แบ่งตัวและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้เบต้ากลูแคนช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจให้จับกินเชื้อโรคได้ว่องไวมากขึ้นและส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังเซลล์ต่าง ๆ อีกด้วย 

เบต้ากลูแคนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำมีกลไกในการออกฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน เบต้ากลูแคนชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ

จากการศึกษาพบว่าเบต้ากลูแคน (β-1,3/1,6) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายช่วยเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค และยังมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลของภูมิต้านทานของร่างกายให้มีการทำงานอย่างเหมาะสมเป็นไปแบบปกติ จึงมีการนำเบต้ากลูแคนไปใช้เสริมในโรคที่ภูมิต้านทานทำงานมากเกินไป เช่น โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองหรือภูมิแพ้ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น 

มีการทดลองใช้เบต้ากลูแคน 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4-12 สัปดาห์ เทียบกับยาหลอก พบว่าเบต้ากลูแคนช่วยลดอัตราการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยลดอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล และอาการไอ  นอกจากนี้ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษจากการใช้เบต้ากลูแคน

ประโยชน์ของเบต้ากลูแคน

  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีการศึกษาพบว่าเบต้ากลูแคนช่วยลดระดับ LDL และโคลเลสเตอลรอลในกระแสเลือด 
  2. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  3. ทำหน้าที่เป็นเส้นใยอาหารช่วยในการลดความอ้วนและยังช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิกซินโดรม
  4. มีคุณสมบัติช่วยดูดซับสารตกค้างที่อยู่ในทางเดินอาหารและลำไส้และช่วยลดการดูดซึมของโคเลสเตอรอล
  5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยการจับกินสารกลุ่ม Reactive Oxygen species ในทางเดินอาหาร
  6. ช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ในทางเดินอาหาร
  7. ช่วยปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันในร่างกาย 
  8. ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในลำไส้
  9. ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งโดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือกผ่าน β-glucan receptor กำจัดเซลล์มะเร็งลำไส้
  10. มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกและช่วยในการสร้าง short-chain fatty acids ในสำใส้ใหญ่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้

Betaglucan เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
  • ผู้ที่ต้องการเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้หรือภูมิเพี้ยน ระบบภูมิต้านทานทำงานไม่สมดุล
  • ผู้ที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรังหรือโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่ต้องเผชิญกับสภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ มลภาวะ ภูมิคุ้มกันตก
References
  1. Taguchi T., Furue H., Kimura T., Kondo T., Hattori T. and Ogawa N. Clinical efficacy of lentinan on neoplastic diseases. Adv Exp Med Biol 1983;166:181-187.
  2. Fujimoto S., Orita K., Kimura T., Kondo T., Taguchi T., Yoshida K., et al. Clinical evaluation of SPG (schizophyllan) as a therapeutic adjuvant after surgery of gastric cancer-controlled study by an envelope method. Gan To Kagaku Ryoho 1983;10:1135-45.
  3. Daou C. and Zhang H. Oat beta-glucan: Its role in health promotion and prevention of diseases. Food Sci Food Saf 2012;11:355-65.
  4. Talbott S., TalbottJ. Effect of beta1,3/1,6 glucan on upper respiratory tract infection symptoms and mood state in marathon athletes. J. Sports Sci Med 2009;8(4):509-15.
  5. Gupta M., Abu-Ghannam N. and Gallaghar E. Barley for brewing and application of its by-products. Food Sci Food Saf 2010;9:318-28.
  6. Ayaka N., Koji Y., Osamu I., Ryota S., Kohei A., and Taro O. β-Glucan in Foods and Its Physiological functions. J Nutr Sci Vitaminol 2018;64:8-17.
  7. Aoe, S. Beta-Glucan in Foods and Health Benefits. Nutrients 2022;14(1):96. Available from: doi: 10.3390/nu14010096.
  8. Castro EDM., Calder PC., Roche HM. β‐1,3/1,6‐Glucans and Immunity: State of the Art and Future Directions. Mol Nutr Food Res. 2021;56(1):1901071. doi: 10.1002/mnfr.201901071