Skip to content

ปัจจุบัน การรับประทานหมาล่าเป็นที่นิยมมากในประเทศไทย ซึ่ง “หมาล่า” เป็นคำที่ใช้บอกรสชาติความเผ็ดฉุนที่ทำให้รู้สึกชา โดยหมาล่าเป็นเครื่องปรุงอาหารที่ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด โดยหมาล่าถูกนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น หมาล่าหม้อไฟ สุกี้หมาล่า หรือหมาล่าสำหรับโรยอาหารย่าง เป็นต้น 

ส่วนประกอบที่ทำให้หมาล่ามีรสชาติเผ็ดจนลิ้นชาได้คือ เครื่องเทศที่มีชื่อว่า ‘ฮวาเจียว’ หรือพริกไทยเสฉวน รูปร่างคล้ายเม็ดพริกไทยดำ นั้นคือรสชาติหลักของหมาล่า 

การใช้ฮวาเจียวในอาหารและการแพทย์มีฮวาเจียวมีส่วนในการช่วยบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบในร่างกาย และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งในการป้องกันและบำรุง สุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยขับลมในลำไส้ลดความอ้วน และมีผลต่อการลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งการใช้เม็ดฮวาเจียวยังเป็นส่วนหนึ่งของยาสมุนไพรและยาบำรุงจีนมาอย่างยาวนานอีกด้วย (1) 

ทั้งนี้การรับประทานสุกกี้หมาล่ากำลังเป็นกระแสนิยมมากที่สามารถพบเห็นได้ในโซเชียลหลายแพลตฟลอม และมีการถกเถียงกันถึงวิธีการรับประทานสุกกี้หมาล่า ระหว่างการรับประทานที่สามารถซดน้ำซุปได้หรือน้ำซุปสุกี้หมาล่ามีไว้สำหรับลวกอาหารเพื่อให้มีรสชาติเท่านั้น โดยวันนี้จะนำเสนอคุณค่าทางโภชนาการ และเปรียบเทียบถึงความเหมาะสม ต่อการทานน้ำซุปหมาล่า 

ส่วนประกอบน้ำซุปหมาล่าโดยประมาณ 

  1. เนื้อสัตว์(เช่น เนื้อวัว) – ประมาณ 500 กรัม 
  2. พริกไทย – ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ 
  3. ใบกะเพรา – ประมาณ 1 ถ้วย 
  4. หอมใหญ่ – ประมาณ 1-2 หัว 
  5. กระเทียม – ประมาณ 4-5 กลีบ 
  6. เกลือ – ประมาณ 1-2 ช้อนชา

โดยการรับประทาน น้ำซุปหมาล่า 4 ช้อนโต๊ะ มีโภชนาการดังนี้อ้างอิงจาก https://www.mynetdiary.com

การรับประทานน้ำซุปหมาล่า 4 ช้อนโต๊ะ จะได้calories 173 kcal, fat 13.3 g และ sodium 2,373 mg (103%)  โดยจะเห็นได้ว่ามีปริมาณที่สูง โดยคำแนะนำจากสำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “แนะนำให้ไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือควรกินเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือเทียบกับน้ำปลาไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา” อีกทั้ง ยังแนะนำการลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มและโซเดียมสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากโซเดียมส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ, โรคไต, อัมพฤกษ์,  อัมพาต, และภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่นๆ เป็นต้น (2)  

ทั้งนี้การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งควรคำนึงถึง ประโยชน์หรือผลกระทบที่อาจส่งผลต่อร่างกายเรา ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และเหมาะสมกับสภาวะร่างกายในขณะนั้น ผู้บริโภคอาจมีความชอบในการซดน้ำซุป สุกกี้หมาล่า แต่ต้องพึงระวังไม่ให้มากจนเกินไป หรือมีความถี่ที่มาก จนทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเราได้อีกทั้งอย่าลืมคำนึงถึง ว่าการรับประทานสุกกี้หมาล่า จำเป็นจะต้องทานคู่กับน้ำจิ้ม เพื่อเพิ่มรสชาติฉะนั้นควรคำนึงถึงปริมาณของโซเดียม ที่จะได้รับจากส่วนนั้นอีกด้วย 

อ้างอิง 

  1. Xia, Y. et al. (2023) ‘The effect of Sichuan pepper on gut microbiota in mice fed a high-sucrose and  low-dietary fibre diet’, Applied Microbiology and Biotechnology, 107(7–8), pp. 2627–2638. doi:10.1007/s00253- 023-12457-9.  
  2. ผลของการบริโภคเกลือหรือโซเดียมต่อสุขภาพ. Available at: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/dm km/download?id=40490&mid=31943&mkey=m_document&lang=th&did=14334 (Accessed: 18 February 2024).