Skip to content

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ปัจจุบันได้รับการประกาศจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นโรคระบาดทั่วโลก โดยอาการและอาการแสดงมีหลากหลายตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบอวัยวะหลายระบบ โดยอาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ สามารถพบได้บ่อยที่สุด การติดต่อของโรคส่วนหนึ่งเกิดจากการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามในการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่โดยทั่วไปอย่างเร็วจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี จึงวางจำหน่ายได้ เนื่องจากต้องผ่านการทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน ซึ่งโดยทั่วไป การพัฒนาวัคซีนจะต้องผ่านการศึกษาในระยะดังต่อไปนี้



ขั้นตอนที่หนึ่ง การศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการและการทดลองในสัตว์

  1. การทดลองก่อนการทดลองในคน (Pre-Clinical Stage) : เป็นการทดลองกับเนื้อเยื่อ เซลล์ หรือสัตว์ทดลอง เป็นต้น เพื่อดูการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
  2. คำขอทำการวิจัยยาใหม่ (IND Application) : คือการขออนุญาตทดลองในสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งที่สงสัยว่าอาจจะเป็นยาชนิดใหม่ ที่คาดว่าใช้รักษาโรคได้

ขั้นตอนที่สอง การทดลองในมนุษย์

  1. ระยะที่ 1 ของการทดสอบวัคซีน (Phase I)
    • โดยจะทดลองกับคนกลุ่มย่อยและต่อมาจะทดลองในคนกลุ่มใหญ่ขึ้น
  2. ระยะที่ 2 ของการทดสอบวัคซีน (Phase II)
    • ทดลองกับกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น อาจมีจำนวนหลายร้อยคน
  3. ระยะที่ 3 ของการทดสอบวัคซีน (Phase III)
    • การทดสอบซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมากกว่า 10,000 คน

ขั้นตอนที่สาม เป็นระยะที่วัคซีนได้รับการอนุมัติจากการคณะกรรมการอาหารและยาให้ผลิตและนำมาใช้จริงทางคลินิกได้ แต่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีอาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า clinical trial phase IV

ณ ตอนนี้คงไม่มีอะไรน่ากังวลไปมากกว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19แล้ว ความหวังของเราคงจะหนีไม่พ้นการผลิตวัคซีนเพื่อให้มาต่อกรกับเชื้อร้ายเหล่านี้ โชคดีที่มีหายประเทศกำลังคิดค้นและทดลองผลิตวัคซีน จนถึงขั้นตอนที่เกือบจะสำเร็จใช้ได้จริง เช่น บริษัท Pfizer – BioNTech ซึ่งได้ทำการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างเกือบ 44,000 ตัวอย่าง ใน 6 ประเทศ ผลพบว่าสามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้มากกว่า 90% นอกจากนี้ยังมีการทดลองผลิตวัคซีนอีก  9 ตัวด้วยกันที่อยู่ในขั้นที่ 3 ของการทดสอบทางคลินิก ไม่ว่าจะเป็นจากของ Shinovac ของจีน, Oxford/AstraZeneca เป็นต้น

แม้ความหวังของเราจะใกล้เป็นจริงแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ควรประมาท มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ ยังคงจำเป็นในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ดีที่สุดในตอนนี้

แหล่งที่มาของข้อมูล

  • https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.jacksonprogress-argus.com%2Ffeatures%2Fhealth%2Frussia-says-coronavirus-vaccine-trials-to-move-forward-with-40-000-people%2Farticle_a5716838-555d-5515-9e80-e5191b70162d.html&psig=AOvVaw2BJFHEV9R6A8mhBDgcwbsy&ust=1605161457185000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCJDMpsjq-ewCFQAAAAAdAAAAABA5
  • https://www.paolohospital.com/th-TH/rangsit/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-Covid-19
  • https://mthai.com/news/89476.html