Skip to content

การรักษามะเร็ง ทั้งการผ่าตัด ฉายแสง หรือการใช้ยา มักมีการอักเสบหรือการสูญเสียเนื้อเยื่อเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายฟื้นตัวช้าและทำให้การรักษามะเร็งไม่ได้ผลที่ดีตามควร ดังนั้นอาหารจึงเป็นส่วนเสริมที่สำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถรับการรักษามะเร็งจนครบได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารจากธรรมชาติ ที่มีงานวิจัยว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันภาวะการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ

Beta-carotene

เป็นสารสีเหลืองพบมากใน แครอท ฟักทอง มะละกอสุก มันเทศ มะม่วงสุก แคนตาลูป เป็นต้น โดยมีฤทธิ์ ในการต้านอนุมูลอิสระ

ข้อแนะนำ

  • ควรได้รับเบต้า-แคโรทีน ไม่น้อยกว่าวันละ 6 มิลลิกรัม/วัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง มีการรายงานถึงแครอท 1 หัวขนาดกลางจะประกอบไปด้วย เบต้า-แคโรทีน ประมาณ 10,000 IU ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณ เบต้า-แคโรทีนที่แนะนําในการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ และพบวาเมื่อนําแครอทมาคั้นน้ำแยกกากจะทําให้ร่างกายได้รับเบต้า-แคโรทีนได้มากขึ้น เพราะถูกปลดปล่อยออกจากโครงสร้างของใยอาหารในแครอท 
  • การได้รับ เบต้า-แคโรทีน ปริมาณ 30-300 มิลลิกรัมติดต่อกันเป็นช่วงเวลาหนึ่ง จะมีเบต้า-แคโรทีนสะสมอยุในเซลล์ไขมันของร่างกายทําให้แสดงสีเหลืองออกมาตามผิวหนัง แต่เมื่อหยุดกินอาการเหล่านั้นก็จะหายไปเองภายใน 10 วัน

Isoflavones (genistein)

ในถั่วเหลืองมีสารต้านมะเร็งหลายชนิด รวมถึง isoflavones ที่จัดว่าเป็น phytoestrogens เช่น genistein(60%), daidzein(30%) และ glycitein(10%) ซึ่งสาร genistein มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าเกิดจาก genistein มีฤทธิ์ antiangiogenic และ antioxidant activities มีการศึกษาแบบ meta-analysis แสดงให้เห็นว่า genistein มีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งรังไข่ โดยพบว่าผู้หญิงที่ได้รับประทานถั่วเหลืองปริมาณมากมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ต่ำกว่าผู้หญิงที่ได้รับประทานถั่วเหลืองปริมาณน้อย 

Selenium

ส่วนประกอบของเอนไซม์ glutathioneperoxidase เป็นเอนไซม์สําคัญที่ช่วยลดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ซีลีเนียมมีรายงานเพิ่มเติมในส่วนของการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการทํางานของ NK cell รายงานถึงการลดอัตราการเจริญของก้อนเนื้อมะเร็ง เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นรายงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลอง

มีการรายงานถึงซีลีเนียมจะใช้ได้ผลดีในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่พบผลดีของซีลีเนียมต่อมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด

เราสามารถได้รับซีลีเนียมได้จากอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์จะมีซีลีเนียมมากสุด ในธัญพืชและผักจะพบได้น้อย ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจึงไม่ควรจํากดโปรตีนมากนักจะทําให้เสี่ยงต่อการขาดซีลีเนียม

Zinc

ร่างกายต้องการในการส่งเสริมการทํางานของสารประกอบที่ใช้ในการสร้างโปรตีน heme ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง และโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน Thymulin ที่สร้างทางเซลล์ไทมัส 

ข้อแนะนำ

ผลิตภัณฑ์เสริมสังกะสีในอาหารปริมาณ 50 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน จะยับยั้งการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก หากได้รับปริมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน จะทําให้ระดับ HDL ลดลงและกดระบบภูมิคุ้มกันแทนที่จะกระตุ้น

Folic acid

พบได้ในผักใบเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และการทํางานของ DNA กรดโฟลิคมักจะทํางานร่วมกับ วิตามิน บี6 และวิตามิน บี12 ดังนั้นจึงเชื่อว่ากรดโฟลิคจะช่วยป้องกันภาวะการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ

อ้างอิง

Lee JY, Kim HS, Song YS. Genistein as a potential anticancer agent against ovarian cancer. Journal of Traditional and Complementary Medicine. 2012 Apr 1;2(2):96-104.