Skip to content

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมสิ่งมีชีวิตต่างๆในโลกจึงมีอายุขัยไม่เท่ากัน ?

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ธรรมชาติได้ใส่บางอย่างไว้ใน​รหัส​พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเสมือนสัญญาณ​ลึกลับหรือ​​คำ​สั่ง​ที่​กำหนด​อายุขัยที่แท้จริงในตัวเรา และเมื่อเริ่ม​ใกล้​ถึง​ช่วง​ปลาย​ของ​ชีวิต ​ร่าง​กาย​เริ่ม​ค่อยๆ หยุด​การ​ทำ​งาน มีโรคต่างๆ ตามมา และหมดอายุขัยไปในที่สุด โดยมียีนหรือรหัสพันธุกรรมหลายตัว ที่มีความเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณให้เซลล์ร่างกายค่อยๆ หยุดทำงาน  ดร.อลิซาเบท แบล็กเบิร์นและคณะ เจ้าของรางวัลโนเบล ได้พบความสำคัญของความลับนี้ ซึ่งกุญแจไขความลับของอายุขัยมนุษย์นั้นคือสิ่งที่เรียกว่า เทโลเมียร์

เทโลเมียร์ คือ ดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนท้ายของแต่ละโครโมโซมมีหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสารพันธุกรรมในส่วนปลายของโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลายไป เนื่องจากทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่วนของเทโลเมียร์ที่อยู่ที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงเรื่อยๆ และเมื่อเทโลเมียร์สั้นลงถึงระยะวิกฤต เซลล์จะไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ทำให้เกิดการตายในที่สุด และจะนำมาซึ่งการเสื่อมสภาพของอวัยวะและร่างกาย (Aging)

ในตั้งแต่กำเนิด มนุษย์มีความยาวของเทโลเมียร์อยู่ที่ประมาณ 10,000 คู่เบส เมื่ออายุ 20 ปี ความยาวเฉลี่ยของโทโลเมียร์อยู่ที่ 8,000 คู่เบส ต่อมาอายุ 50 ปีจะเหลืออยู่ประมาณ 7,000 คู่เบส และจะลดลงเรื่อยๆ ประมาณ 50-100 คู่เบสต่อปี จนเหลือเพียง 4,000 คู่เบสในอายุ 100 ปี

เทโลเมียร์จะช่วยป้องกันไม่ให้สาย DNA ถูกทำลายก่อนเวลาอันควร ตามปกติทารกแรกเกิดจะมีความยาวของเทโลเมียร์มากที่สุด และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเทโลเมียร์จะหดสั้นทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมร่างกาย แต่เทโลเมียร์ของแต่ละคนจะหดสั้นช้าหรือเร็วไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพร่างกาย และวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละคน

เทโลเมียร์ เป็นตัวชี้วัดหรือบ่งบอกสุขภาพของเราในอนาคต ถ้าเราแก้ไขให้เทโลเมียร์สั้นช้าลง หรือสามารถทำให้ยาวขึ้นได้ จะช่วยให้เซลล์เสื่อมถอยน้อยลง มีการค้นพบว่าเทโลเมียร์ที่สั้นลงสัมพันธ์กับโรคหลายโรค ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคติดเชื้อต่างๆ โรคทางสมอง เช่น อันไซเมอร์ พาร์กินสัน ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์สำหรับวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพในระยะยาว

วิธีการตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์

การตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์ด้วยเทคนิคquantitative PCR (qPCR) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจและวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยใช้ตัวอย่างเลือดเพียงเล็กน้อยเพื่อนำมาสกัดดีเอ็นเอ นำมาวิเคราะห์ และแปลผล โดยความยาวของเทโลเมียร์ที่ตรวจวัดได้สามารถใช้บ่งบอกถึงอายุที่แท้จริงของร่างกายได้

มีวิธีการทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นได้อย่างไร

  • เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยในการต้านอนุมุลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 12 วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี และแอสตาแซนทิน รวมถึงอาหารจำพวกโอเมก้า 3 และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เทโลเมอร์เรส เช่น Co enzyme Q10 และ Pycnogenol
  • ออกกำลังกายแบบที่ใช้ออกซิเจนเป็นประจำ ด้วยระยะเวลาที่นานพอสมควร อย่างน้อยประมาน 30 นาทีต่อวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และควรนอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารหวาน แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง
  • จัดการวางเเผนการใช้ชีวิต และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตต่างๆให้สมดุล ลดความเครียด เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและคงความอ่อนเยาว์
เอกสารอ้างอิง
  1. Srinivas N, Rachakonda S, Kumar R. Telomeres and Telomere Length: A General Overview. Cancers (Basel). 2020 Feb 28;12(3):558. doi: 10.3390/cancers12030558. PMID: 32121056; PMCID: PMC7139734.
  2. Shammas MA. Telomeres, lifestyle, cancer, and aging. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2011 Jan;14(1):28-34. doi: 10.1097/MCO.0b013e32834121b1. PMID: 21102320; PMCID: PMC3370421.