Skip to content

ทำไมการดูแลผู้สูงอายุจึงสำคัญ?

เมื่ออายุมากขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัย เคลื่อนไว้ได้ช้าลง ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ยากขึ้นและมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแล เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน, โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ เป็นต้น ซึ่งบางโรคอาจส่งผลให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี (สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงสามารถอ่านได้ จากบทความในหัวข้อนอนติดเตียง) นอกจากนี้ยังต้องระวังในเรื่องของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การสะดุด พลัดตก หกล้ม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ บุคคลในครอบครัวหรือผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้สูงอายุและควรมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเช่นกัน

👉 หลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 5 อ.

Ø อ. อาหาร

รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเลี่ยงอาหารเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมและไขมันอิ่มตัวสูง ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีนเพื่อสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันและดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดและดีอยู่เสมอ ควรพบทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือน

Ø อ. ออกกำลังกาย

เน้นการออกกำลังกายเบาๆทุกสัดส่วน เหมาะสมกับโรคและสมรรถภาพของผู้สูงอายุ เช่น การยืดเส้นยืดสาย การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำหรือการเดินแกว่งแขวน เป็นต้น โดยทำครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

Ø อ. อารมณ์

ดูแลสภาวะทางอารมณ์และจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ

  • ไม่รับข่าวสารเชิงลบมากไปเพราะอาจทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมและสุขภาพแย่ลง
  • เป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหา
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบและถนัด เช่น การทำอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
  • ไม่รับข่าวสารเชิงลบมากไปเพราะอาจทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมและสุขภาพแย่ลง
  • ไม่รับข่าวสารเชิงลบมากไปเพราะอาจทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมและสุขภาพแย่ลง
  • เป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหา
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบและถนัด เช่น การทำอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
  • ชวนพูดคุยในเรื่องสัพเพเหระทุกๆวัน เพื่อผ่อนคลายความเครียด
  • ใช้เทคนิคขจัดความเครียด เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวดคลายเครียดด้วยตนเอง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • หากพบว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย สมาธิไม่ดี มีความคิดในแง่ลบ แนะนำให้โทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323
Ø อ. อดิเรก

สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม หากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ

Ø อ. อนามัย

สร้างอนามัย สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและรักษาสุขภาพ ปฎิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน งด ละ เลิกอบายมุข บุหรี่ เหล้า ของมึนเมาและสารเสพติด

👉 วิธีจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุ

สภาพแวดล้อมนับเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สภาพแวดล้อมที่ดีย่อมก่อให้เกิดความปลอดภัยและเอื้อต่อการมีสุขภาพดีแก่ผู้อยู่อาศัย วิธีจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุควรปฏิบัติ ดังนี้

Ø จัดบ้านให้ปลอดภัย
  • ติดเครื่องส่งเสียงหรือสัญญาณกันขโมยและอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟไว้ตามทางเดิน ห้องนั่งเล่นและห้องครัว ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังบ่อย ๆ
  • เลือกวัสดุสำหรับปูพื้นในห้องน้ำที่ไม่ทำให้ลื่นง่ายและควรทำราวจับไว้ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเดินได้สะดวกขึ้นและไม่หกล้ม
  • เก็บของให้เป็นระเบียบ ไม่ทิ้งไว้ตามทางเดินหรือบันได
  • ติดตั้งโคมไฟที่เปิดอัตโนมัติตอนกลางคืน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นทางตอนกลางคืนและไปเข้าห้องน้ำหรือขึ้นลงบันไดได้สะดวก
  • ม้วนสายไฟเก็บให้เรียบร้อย รวมทั้งตรวจสอบความชำรุดของเต้าเสียบและสายไฟอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ผู้สูงอายุสวมรองเท้าสำหรับใส่เดินภายในบ้าน ไม่ควรให้สวมถุงเท้าเดินหรือเดินเท้าเปล่า
  • เสื้อผ้าที่ผู้สูงอายุสวมใส่ควรรัดกุม ไม่รุ่มร่าม เพื่อป้องกันเดินสะดุดหกล้ม
Ø ป้องกันอุบัติเหตุหกล้ม
  • ดูแลสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด
  • จัดบ้านให้เป็นระเบียบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้สูงอายุ
  • หมั่นตรวจดูความเรียบร้อยบริเวณบันได รวมทั้งภายในและรอบๆ บ้าน
  • ติดตั้งโคมไฟตามทางเดิน เพื่อให้มองเห็นเวลาเดินออกมาตอนกลางคืน
  • พาผู้สูงอายุเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคและจัดยารักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • พาไปตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจการมองเห็นและการได้ยิน

👉 อุปกรณ์ที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุ

สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลต้องมีความเอาใจใส่ ทุ่มเท อดทนและเสียสละเป็นอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งอาจทำให้ผู้ดูแลมีอาการเหนื่อยล้า จึงควรมีอุปกรณ์เสริมที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยและช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้

Ø ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 1-2 เช่น การเดิน และการขับถ่าย อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกควรเสริมอุปกรณ์จำพวกราวจับช่วยในการพยุงตัวของผู้ป่วย ไม้เท้าช่วยเดิน เก้าอี้อาบน้ำ

Ø ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 3 ซึ่งผู้ป่วยในระดับนี้ต้องการความช่วยเหลือเกือบทุกอย่าง เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ขับถ่าย เดินและการนั่งรถเข็น สำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกประกอบด้วย  เก้าอี้อาบน้ำ เก้าอี้นั่งถ่าย รถเข็นผู้ป่วย เตียงนอนที่มีเสาดึงตัวช่วยในการลุกจากเตียง

Ø ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 4 ซึ่งผู้ป่วยในระดับนี้ต้องการการช่วยเหลือทุกอย่าง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การขยับและพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ แต่งตัว กินอาหาร การแปรงฟัน ขับถ่ายและการนั่งรถเข็น โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยติดเตียง อัมพาต โคม่า (Coma) สำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกประกอบด้วย เตียงนอนที่มีราวข้างเตียงและสามารถปรับระดับได้หรือเตียงไฟฟ้า ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รถเข็นผู้ป่วย กระโถนสำหรับผู้ป่วย รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย กระบอกใส่ปัสสาวะ

เอกสารอ้างอิง