Skip to content

Astaxanthin (แอสตาแซนทิน) ราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบมากในสาหร่ายสีแดง Haematococcus Pluviali ผัก ผลไม้ที่มีสีส้มหรือสีเหลืองเช่นแครอท ฟักทอง และยังพบได้ในสัตว์ทะเลบางชนิดที่กินสาหร่ายสีแดงเป็นอาหารเช่น ปลาแซลมอล มีความแรงมากกว่าวิตามินอี 550 เท่า และมากกว่า beta-carotene 40 เท่า

เป็นสารอาหารในกลุ่ม แคโรทินอยด์ (Caroteniod) ซึ่งเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง สารอาหารในกลุ่มแคโรทินอยด์ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกัน เช่น Beta-carotene, Lutein, Lycopene, Astaxanthin เป็นต้น

ซึ่ง Astaxanthin แตกต่างจาก carotenoid ตัวอื่นๆ เช่น Beta-carotene, Vitamin A ตรงที่ไม่มีฤทธิ์ Pro-Oxidant ซึ่งก็คือเมื่อออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแล้ว ตัวมันจะไม่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระใหม่ตามมาอีกนั่นเอง

                             รูปภาพแสดงให้เห็นว่าแอสตาแซนธินไม่มีฤทธิ์ Pro-Oxidant

จากการศึกษาต่างๆพบว่า  Astaxanthin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง (potent antioxidant effect) และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effect) จึงช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่ให้โดนทำลายจากอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้อง DNA หรือสารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลายด้วยรังสียูวีได้ 

ทำไมปลาแซลมอนจึงว่ายทวนน้ำได้ ในฤดูวางไข่?

ในระหว่างฤดูวางไข่ ปลาแซลมอนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ในระหว่างทางต้องเผชิญกับทั้งแสงแดด ความร้อน และ ต้องใช้พลังงานอย่างมากในการว่ายทวนน้ำ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระและการอักเสบขึ้นมากมาย ปลาแซลมอนจะกินสาหร่ายสีแดง ชื่อว่า ฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส ซึ่งมีสารแอสตาแซนทินเป็นส่วนประกอบ แอสตาแซนทินจะถูกนำไปสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อปลาแซลมอนมีสีแดง สารแอสตราแซนทีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ ทำให้เมื่อปลาแซลมอนว่ายทวนน้ำเพื่อมาวางไข่ จึงไม่เกิดอาการอักเสบขึ้นนั่นเอง

เสริมเกราะป้องกันให้ผิวด้วย Astaxanthin

แอสตาแซนธิน มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากออกซิเจนซิงเกล็ท (singlet oxygen quenching O2) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่ได้จากแสงแดดได้ดีที่สุด จนมีฉายาว่า “King of Singlet Oxygen”  ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าวิตามินซีถึง 6000 เท่า!!

รูปภาพแสดงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากออกซิเจนซิงเกล็ท (Singlet Oxygen Quenching Activity)

 Astaxanthin จะพบอยู่ใน บริเวณ phospholipid membrane ซึ่งเป็นส่วนประกอบของชั้นผิวหนัง สามารถดักจับอนุมูลอิสระ ได้ทั้งภายในเซลล์และด้านนอกของ phospholipid membrane ในขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระประเภทอื่น เช่น vitamin C จะวางตัวอยู่บริเวณภายนอก phospholipid membrane ส่วน β-carotene จะอยู่ภายในชั้นไขมันของ phospholipid membrane เมื่อศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ๆ พบว่า astaxanthin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า vitamin C ถึง 6,000  เท่า และสูงกว่า vitamin E 100 เท่า เมื่อทดสอบด้วยวิธี singlet oxygen quenching และ lipid peroxidation

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของ Astaxanthin, Vitamin C, Betacarotene ในชั้น phospholipid bilayer

ประโยชน์ของ Astaxanthin 

ผลต่อระบบผิวหนัง

 Astaxanthin ช่วยทำให้ collagen fiber กลับฟื้นคืนสภาพภายหลังถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ส่งผลทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วย ยับยั้งการสร้างเมลาโทนิน และกระบวนการอักเสบที่ชั้น epidermis ได้

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ

พบว่าประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง กว่า เบตาแคโรทีน (β-carotene) ลูทีน (Lutein) ซีแซนธิน (zeaxanthin) และแคนธาแซนธิน (Canthaxantin) ประมาณ 10 เท่า และมีประสิทธิภาพ สูงกว่า วิตามินอี (α-tocopherol) ประมาณ 500 เท่า 

ผลต่อระบบกล้ามเนื้อ

 Astaxanthin ช่วยเสริมกระบวนการเมแทบอลิซึมของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการแพร่ของ lactic acid ในกล้ามเนื้อ จึงช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อมล้า ช่วยลดการสร้าง lactic acid เพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันแทนน้ำตาลในระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายมากขึ้น

เสริมฤทธิ์ภูมิต้านทาน

จากการศึกษาในหลอดทดลองของ Astaxanthin พบว่ามีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทาน เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิด เช่น ช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว lymphocyte , เพิ่มการผลิต IgG และ IgM, กระตุ้นเซลล์ natural killer (NK) ให้ผลิต interferon-γ (IFN-γ) ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของ macrophage, NK cell และ B-cell เป็นต้น

ฤทธิ์ต้านมะเร็ง

 Astaxanthin มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยส่วนใหญ่ได้ทำการในสัตว์ทดลอง ได้มีการรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าแอสตาแซนธินอาจมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ หรืออาจช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกและกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูได้

 Astaxanthin มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังจากรังสีอุลตราไวโอเลต เนื่องจากไปกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นแบบลูกโซ่ของไขมันทำให้เกิดอนุมูลอิสระ

ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

สารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ได้แก่ เบตาแคโรทีน แคนธาแซนธิน รวมทั้งแอสตาแซนธิน พบว่ามีส่วนช่วย ในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของ LDL-cholesterol ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดการอุดตัน ในระบบหลอดเลือดหัวใจได้

เพิ่มการดูดซึม Astaxanthin ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

Astaxanthin มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี จากการศึกษาพบว่า Astaxanthin ในสูตรตำรับ lipid based เช่น Vitamin E จะช่วยเพิ่มการดูดซึม 3.7 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรที่มีเฉพาะ Astaxanthin เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การรับประทานหลังอาหารที่มีไขมัน จะทำให้เพิ่มการดูดซึมแอสตาแซนธินได้ดีขึ้นเช่นกัน

อ้างอิง
  • อ.ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง. บทบาทและการออกฤทธิ์ของ astaxanthin ในทางคลินิก(2561). วงการยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566,จากเว็บไซต์: https://www.wongkarnpat.com/upfilecpe/CPE239.pdf
  • ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ และ ดร.มารุจ ลิมปะวัฒนะ. แอสตาแซนธิน: คุณค่าที่มากกว่าความเป็นสี(2552-2553). วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 5(1), 7-10