Skip to content

เบต้ากลูแคนคืออะไร

เป็นสารอาหารประเภทแป้ง เป็นน้ำตาลเชิงซ้อนที่มาจากธรรมชาติ (Natural polysaccharide) ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ใช้ป้องกันโรคติดเชื้อจากจุลชีพต่างๆ และยังมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในโลหิต, เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ, ป้องกันและรักษามะเร็งได้ เป็นต้น

ชนิดของเบต้ากลูแคน

สามารถแบ่งออกตามโครงสร้างของโมเลกุลที่แตกต่างกันดังนี้

  1. เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D glucan)
    • เกิดจากสาย glucan ที่แต่ละโมเลกุลของกลูโคสจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ glycoside linkage ที่ตำแหน่ง 1และ 3 และไม่มีการต่อแขนงออกด้านข้าง โดยคำว่า Beta หมายถึง หางของ OH (Hydroxyl) ชี้ขึ้นข้างบน และ D ย่อมาจาก Dextro ที่แปลว่า ขวา หมายถึง OH หันไปทางด้านขวา
    • มีแหล่งที่มาจากแบคทีเรียและสาหร่าย 
  1. เบต้า 1,3/1,6 กลูแคน (Beta 1,3/1,6 glucan)
    • เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกของเบต้ากลูแคน ที่มีสายหลักต่อกันด้วยพันธะ 1,3 และมีสายแยกแขนงต่อออกไปด้านข้างด้วยพันธะ 1,6 ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์ให้คะแนนสูงสุดในคุณสมบัติเพิ่มภูมิต้านทาน และบางชนิดเป็นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งมีสรรพคุณในการลดไขมันอีกด้วย
    • แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดสายสั้น พบในเห็ด จะเป็นชนิดที่ละลายน้ำดี ไม่มีกลูเตนที่ก่อให้เกิดการแพ้ และชนิดสายยาว พบในผนังเซลล์ของยีสท์ชื่อ Saccaromyces cerevisiae
  2. เบต้า 1,3/1,4 กลูแคน (Beta 1,3/1,4 glucan)
    • เบต้ากลูแคนที่มีสายหลักต่อกันด้วยพันธะ 1,3 และมีสายแยกแขนงต่อออกไปด้านข้างด้วยพันธะ 1,4 มีคุณสมบัติทางยาคือ ลดไขมันในโลหิต แต่ประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิต้านทานจะไม่สูงเท่า เบต้า 1,3/1,6 กลูแคน เพราะจับกับแมคโครเฟจได้ไม่แน่น จัดเป็นใยอาหารที่มีทั้งส่วนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ 
    • มีแหล่งที่มาจากข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์ 

โครงสร้างของเบต้ากลูแคนมีผลต่อการเสริมสร้างสมดุลภูมิต้านทานที่แตกต่างกัน

Beta 1,3/1,6 glucan เป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีที่สุด เนื่องจากสามารถจับกับตัวรับบนแมคโครเฟจ และ NK cell ได้อย่างจำเพาะ เปรียบเสมือนอาหารเพิ่มพลังให้กับเหล่าเม็ดเลือดขาว ที่คอยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเหล่าภูมิต้านทานให้ขยันขันแข็งกันมากขึ้น 

ความแตกต่างของเบต้ากลูแคนจากยีสต์ขนมปังและเห็ด

ถึงแม้ว่ายีสต์ขนมปังและเห็ด จะมีโครงสร้างของ Beta 1,3/1,6 glucan เหมือนกัน แต่มีความสั้นยาวของสายโมเลกุลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับสมดุลภูมิต้านทานในร่างกาย โดยเบต้ากลูแคนที่มาจากยีสต์ขนมปัง จะเป็น Beta 1,3/1,6 glucan ชนิดโมเลกุลสายยาว ซึ่งอาจมีโปรตีนของกลูเตนติดเข้ามาในส่วนประกอบได้ การที่เบต้ากลูแคนมีโปรตีนกลูแคนติดเข้ามา จะไม่ได้กระตุ้นภูมิต้านทานเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะไปกระตุ้นสมดุลภูมิแพ้ด้วย ดังนั้นสมดุลของภูมิต้านทานจึงเสียไป แต่ในขณะที่เบต้ากลูแคนที่มาจากเห็ด เป็น Beta 1,3/1,6 glucan ชนิดโมเลกุลสายสั้น ปราศจากโปรตีนกลูเตน ทำให้เหล่าเม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างตรงจุด ไม่ผิดพลาด จึงไม่ไปกระตุ้นสมดุลภูมิแพ้และยังช่วยปรับสมดุลภูมิแพ้ให้เข้าสู่สมดุลภูมิคุ้มกันปกติ ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตารางสรุปความแตกต่างของเบต้ากลูแคนจากแต่ละแหล่งที่มา

Mushroom Beta GlucanYeast Beta GlucanOat Beta Glucan
โครงสร้างของโมเลกุลBeta 1,3/1,6 glucan (สายสั้น)Beta 1,3/1,6 glucan (สายยาว)Beta 1,3/1,4 glucan
การละลายน้ำละลายน้ำไม่ละลายน้ำละลายน้ำ
Gluten freex✓ บางส่วน โดยขึ้นอยู่กับโรงงานผู้ผลิตด้วย
สรรพคุณเด่นเพิ่มภูมิต้านทานเพิ่มภูมิต้านทานลดไขมันในโลหิต แต่ประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิต้านทานจะไม่สูงเท่า Beta 1,3/1,6 glucan

โรคภูมิแพ้ยอดฮิตพิชิตได้ด้วยเบต้ากลูแคน

โรคภูมิแพ้เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินปกติ แสดงออกมาเป็นอาการ คัน จาม น้ำมูกไหล ผื่นผิวหนังต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสงบ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้อยู่ในสมดุลภูมิต้านทาน ที่เปรียบเสมือนสภาวะปกติที่มีทหาร ตำรวจ คอยตรวจตราดูแลความเรียบร้อยทั่วๆไป แต่เมื่อใดที่ร่างกายพบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถกำจัดได้อย่างเด็ดขาด เช่น พยาธิ หรือ สารที่ร่างกายแพ้ (ไรฝุ่น ละอองเกสร สารเคมี) ร่างกายจะถูกปรับเข้าสู่สมดุลภูมิแพ้ ที่ต้องรีบส่งเหล่าเม็ดเลือดขาวเข้ามาจัดการอย่างรวดเร็ว แต่เป็นการจัดการแบบรีบๆลวกๆไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในสมดุลภูมิแพ้นานๆก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆได้ โดยการรับประทาน Beta 1,3/1,6 glucan ชนิดโมเลกุลสายสั้น จะทำให้เม็ดเลือดขาวมีการทำงานที่ฉลาดขึ้น สามารถปรับสมดุลภูมิแพ้ให้เข้าสู่สมดุลภูมิต้านทานปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้มีภูมิต้านทานต่อสิ่งเร้ามากขึ้น โดยพบว่าผู้ที่รับประทานเบต้ากลูแคนอย่างต่อเนื่องจะมีอาการทางภูมิแพ้ลดลง

วิตามินซีเพิ่มประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคน

การรับประทานวิตามินซีร่วมกับเบต้ากลูแคน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนได้ เนื่องจากโดยปกติภายในเม็ดเลือดขาวแมคโครเฟจ จะมีวิตามินซีสูงกว่าภายนอกเซลล์ถึง 40 เท่า ซึ่งปริมาณวิตามินซีภายในเซลล์ มีผลต่อการเคลื่อนไหว และการจับกินสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นการรับประทานวิตามินซีเสริม จะช่วยให้การทำงานของแมคโครเฟจกลับมามีประสิทธิภาพเป็นปกติได้

โดยมีงานวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว ในกลุ่มที่รับประทานวิตามินซีอย่างเดียว กับ กลุ่มที่รับประทานวิตามินซีร่วมกับเบต้ากลูแคน พบว่า กลุ่มที่กลุ่มที่รับประทานวิตามินซีร่วมกับเบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาวได้ดีกว่า