ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสเป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดการถดถอยของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค หรือเซลล์ที่หมดอายุขัย รวมไปถึงเซลล์ที่ติดเชื้อออกจากร่างกายได้ (Immunosenescence) ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะทุพโภชนาการ สารพิษ อนุมูลอิสระต่างๆ การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้รั่วซึม ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ เนื่องจากการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ลดลง
อย่างไรก็ตามมีหลายการศึกษาพบว่ามีสารอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้น เสริมสร้างและปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จักกับเบต้ากลูแคน…
เบต้ากลูแคน: เป็นสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ โดยทั่วไปเราได้รับเบต้ากลูแคนจากการอาหารที่ทานในชีวิตประจำวัน เบต้ากลูแคนพบได้ในอาหาร เช่น ซีเรียล เห็ด สาหร่าย แต่เบต้ากลูแคนมีหลายโครงสร้างทางเคมี แต่ละโครงสร้างเคมีจะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่เท่ากัน ประโยชน์ของเบต้ากลูแคนจึงขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่รับประทาน อาหารแต่ละชนิดก็จะให้เบต้ากลูแคนแตกต่างชนิดกัน เช่น เบต้ากลูแคนจากซีเรียลจากข้าวโอ๊ตหรือข้าวบาร์เลย์จะเป็น (β-1,3/1,4) ในขณะที่เบต้ากลูแคนจากเห็ด เช่น เห็ดไมตาเกะ จะเป็น β-1,3/β-1,6 สายตรง
เบต้ากลูแคนเป็นหนึ่งในสารที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิต้านทานที่มีการศึกษามากที่สุด เบต้ากลูแคนต่างชนิดกันจะมี ขนาด รูปร่างโมเลกุลที่ ค่าการละลาย ประสิทธิผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน พบว่า β-1,3/β-1,6 ช่วยในการกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี เบต้ากลูแคนเห็ดมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างและปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเบต้ากลูแคนที่สกัดมาจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น รา เป็นต้น
เบต้ากลูแคนเกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานยังไง?
โดยทั่วไปเชื้อโรคในทางเดินอาหารจะถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) และเกิดการสร้างภูมิต้านทานเชื้อชนิดนั้น ๆ ที่เข้ามา พบว่าเบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยเมื่อรับประทานเบต้ากลูแคน เม็ดเลือดขาวในร่างกายเข้าใจว่าเบต้ากลูแคนเป็นเชื้อโรค ร่างกายก็จะเกิดการหลั่งสารเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานทำให้เซลล์ภูมิต้านทานแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่เบต้ากลูแคนไม่ใช่เชื้อโรคจึงไม่แบ่งตัวและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้เบต้ากลูแคนช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจให้จับกินเชื้อโรคได้ว่องไวมากขึ้นและส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังเซลล์ต่าง ๆ อีกด้วย
เบต้ากลูแคนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำมีกลไกในการออกฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน เบต้ากลูแคนชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ
จากการศึกษาพบว่าเบต้ากลูแคน (β-1,3/1,6) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายช่วยเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค และยังมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลของภูมิต้านทานของร่างกายให้มีการทำงานอย่างเหมาะสมเป็นไปแบบปกติ จึงมีการนำเบต้ากลูแคนไปใช้เสริมในโรคที่ภูมิต้านทานทำงานมากเกินไป เช่น โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองหรือภูมิแพ้ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น
มีการทดลองใช้เบต้ากลูแคน 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4-12 สัปดาห์ เทียบกับยาหลอก พบว่าเบต้ากลูแคนช่วยลดอัตราการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยลดอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล และอาการไอ นอกจากนี้ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษจากการใช้เบต้ากลูแคน
ประโยชน์ของเบต้ากลูแคน
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีการศึกษาพบว่าเบต้ากลูแคนช่วยลดระดับ LDL และโคลเลสเตอลรอลในกระแสเลือด
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
- ทำหน้าที่เป็นเส้นใยอาหารช่วยในการลดความอ้วนและยังช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิกซินโดรม
- มีคุณสมบัติช่วยดูดซับสารตกค้างที่อยู่ในทางเดินอาหารและลำไส้และช่วยลดการดูดซึมของโคเลสเตอรอล
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยการจับกินสารกลุ่ม Reactive Oxygen species ในทางเดินอาหาร
- ช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ในทางเดินอาหาร
- ช่วยปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในลำไส้
- ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งโดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือกผ่าน β-glucan receptor กำจัดเซลล์มะเร็งลำไส้
- มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกและช่วยในการสร้าง short-chain fatty acids ในสำใส้ใหญ่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
Betaglucan เหมาะกับใคร…
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
- ผู้ที่ต้องการเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้หรือภูมิเพี้ยน ระบบภูมิต้านทานทำงานไม่สมดุล
- ผู้ที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรังหรือโรคมะเร็ง
- ผู้ที่ต้องเผชิญกับสภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ มลภาวะ ภูมิคุ้มกันตก
References
- Taguchi T., Furue H., Kimura T., Kondo T., Hattori T. and Ogawa N. Clinical efficacy of lentinan on neoplastic diseases. Adv Exp Med Biol 1983;166:181-187.
- Fujimoto S., Orita K., Kimura T., Kondo T., Taguchi T., Yoshida K., et al. Clinical evaluation of SPG (schizophyllan) as a therapeutic adjuvant after surgery of gastric cancer-controlled study by an envelope method. Gan To Kagaku Ryoho 1983;10:1135-45.
- Daou C. and Zhang H. Oat beta-glucan: Its role in health promotion and prevention of diseases. Food Sci Food Saf 2012;11:355-65.
- Talbott S., TalbottJ. Effect of beta1,3/1,6 glucan on upper respiratory tract infection symptoms and mood state in marathon athletes. J. Sports Sci Med 2009;8(4):509-15.
- Gupta M., Abu-Ghannam N. and Gallaghar E. Barley for brewing and application of its by-products. Food Sci Food Saf 2010;9:318-28.
- Ayaka N., Koji Y., Osamu I., Ryota S., Kohei A., and Taro O. β-Glucan in Foods and Its Physiological functions. J Nutr Sci Vitaminol 2018;64:8-17.
- Aoe, S. Beta-Glucan in Foods and Health Benefits. Nutrients 2022;14(1):96. Available from: doi: 10.3390/nu14010096.
- Castro EDM., Calder PC., Roche HM. β‐1,3/1,6‐Glucans and Immunity: State of the Art and Future Directions. Mol Nutr Food Res. 2021;56(1):1901071. doi: 10.1002/mnfr.201901071