Skip to content

อะราบิโนกาแลคแทน (Arabinogalactan) สารอาหารเสริมภูมิสำหรับคนทุกวัย

จากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 มีผู้คนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรวมถึงการมีภาวะแทรกซ้อน หรือบางคนยังมีอาการหลงเหลือจากโรคโควิดแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแล้วก็ตาม  การระบาดใหญ่ในครั้งนั้นทำให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะการป้องกันไม่ให้เกิดโรคย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น

ภูมิต้านทานสำคัญยังไง

ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำหน้าที่คอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากภายในร่างกายเอง เช่น เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง หากภูมิต้านทานร่างกายต่ำส่งผลให้เราติดเชื้อได้ง่าย เจ็บป่วยได้บ่อย หรืออาจเจ็บป่วยเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีอาการที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ

ภูมิคุ้มกันของร่างกาย แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก ๆ คือ
  1. ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immune system) ได้แก่ ผิวหนัง เยื่อบุต่างๆในร่างกาย กรดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งภูมิคุ้มกันระบบนี้เป็นด่านแรกที่ช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เป็นกลไกที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง
  1. ระบบภูมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive immune system) คือ ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังเกิดความเจ็บป่วย ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว แอนติบอดี้ต่าง ๆ เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

  • ความเครียด
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารที่ไม่ครบถ้วน ภาวะขาดสารอาหาร หรือการลดน้ำหนักอย่างหักโหม
  • ช่วงวัย อายุที่มากขึ้นส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะโรคบางอย่าง เช่น การได้รับเชื้อ HIV หรือภาวะโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ก็สามารถส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานได้
  • การสูบบุหรี่หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การได้รับยาที่มีฤทธิ์กดภูมิ เช่น ยาสเตียรอยด์
  • พันธุกรรม

อะราบิโนกาแลคแทน

เป็นสารกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น แครอท มะเขือเทศ ลูกแพร แต่พบมากในต้นลาร์ช (Larix species) โดยเฉพาะต้นลาร์ชพันธุ์ Larix occidentalis หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Western Larch ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณคาบสมุทรแปซิฟิกและแถบอเมริกาเหนือ

อะราบิโนกาแลคแทนจากต้นลาร์ชได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration; FDA) ว่าเป็นแหล่งของเส้นใยอาหาร สามารถใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถใช้ร่วมกับการรักษาโรคมะเร็งเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง 

โมเลกุลของอะราบิโนกาแลคแทนเป็นสายโพลีแซ็กคาไรด์ที่มีกิ่งก้าน มีขนาดโมเลกุลหลากหลายตั้งแต่ 10,000-120,000 พบว่าสารโพลีแซ็กคาไรด์สายสั้นที่มีขนาดโมเลกุลต่ำจะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดภูมิแพ้ ขณะที่อะราบิโนกาแล็กแทนที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะมีฤทธิ์กระตุ้น Natural killer (NK) cell, Cytotoxic T cell และ reticuloendothelial cell 

พบว่าอะราบิโนกาแลคแทนจากต้นลาร์ชมีมวลโมเลกุล 2 ขนาด คือ 16,000 และ 100,000 ด้วยเหตุผลนี้ทำให้อะราบิโนกาแลคแทนมีฤทธิ์กว้าง คือ มีทั้งฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ต้านการเกิดภูมิแพ้ และยังมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวหลากหลายชนิด ซึ่งมีการศึกษาในสัตว์ทดลองยืนยันว่าอะราบิโนกาแลคแทนมีคุณสมบัติในการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils และชนิด Eosinophils

มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอะราบิโนกาแลคแทนปริมาณ 1.5-4.5 g ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Adaptive immune) นอกจากนี้มีการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีพบว่าอะราบิโนกาแลคแทนช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด โดยช่วยลดโอกาสในการเป็นไข้หวัดได้ถึง 23% 

อะราบิโนกาแลคแทนได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาว่าแหล่งของเส้นใยอาหารและสามารถใช้ประกอบอาหาร (Food application) ได้อย่างปลอดภัย การศึกษาทางพิษวิทยาทั้งแบบเฉียบพลันและความเป็นพิษในระยะยาวไม่พบความเป็นพิษ และไม่พบผลข้างเคียง อย่างไรก็ตามอาจพบว่าอะราบิโนกาแลคทำให้เกิดแก๊สในท้องได้บ้าง เนื่องจากอะราบิโนกาแลคแทนจะถูกหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ อะราบิโนกาแลคแทนเป็นสารอาหารที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ดีในการเสริมสร้างภูมิต้านทานสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ทุกวัย

ข้อบ่งใช้ทางคลินิก

Dietary Fiber

อะราบิโนกาแลคแทนเป็นแหล่งของเส้นใยอาหารที่ดี มีคุณสมบัติช่วยเพิ่ม Short-chain fatty acid (โดยเฉพาะสาร Butyrate) ซึ่งมีข้อมูลยืนยันว่า Butyrate ช่วยให้สุขภาพของลำไส้ใหญ่ดีขึ้นเนื่องจาก เซลล์ของลำไส้ใหญ่ (epithelial cell) ใช้ Butyrate เป็นสารตั้งต้นในการสร้างพลังงาน Butyrate ยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดโรคของเยื่อบุทางเดินอาหาร และป้องกันการเกิดมะเร็ง พบว่าอะราบิโนกาแลคแทนยังมีผลช่วยลดปริมาณแอมโมเนียที่สร้างจากตับจึงช่วยในการรักษา Portal-systemic encephalopathy ได้

มีการศึกษาที่เปรียบเทียบกับยาหลอกพบว่า เมื่อรับประทานอะราบิโนกาแลคแทนต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Firmicutes (ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอ้วน) และเพิ่มปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Bacteroidetes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบมากในคนที่ผอม เป็นแบคทีเรียที่ดีช่วยย่อยสลายเส้นใยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเอง เมื่อทานอะราบิโนกาแลคแทนอย่างต่อเนื่องพบว่าอัตราส่วน Firmicutes/Bacteroidetes ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณเชื้อ Bifidobacterium เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่รับประทานอะราบิโนกาแลคแทน

Cancer Protocol

มีการอะราบิโนกาแลคแทนเสริมในการรักษาโรคมะเร็งเนื่องจากอะราบิโนกาแลคแทนมีความสามารถในการกระตุ้น  NK cell จึงช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานและป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังตับ (สามารถุพบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังตับได้บ่อยกว่าการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ  เชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เซลล์มะเร็งมีตัวรับที่จำเพาะกับ Lectin-like receptor ซึ่งเป็นตัวรับที่พบที่เนื้อเยื่อของตับ) มีการศึกษาพบว่าอะราบิโนกาแลคแทนสามารถยับยั้งหรือบล็อค Lectin receptor ได้ ดังนั้นอะราบิโนกาแลคแทนจึงช่วยลดการเกิดมะเร็งตับและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้

Pediatric Otitis Media

พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เคยเป็น Otitis media มักมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้บ่อย แต่การมีภูมิต้านทานที่ดีจะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของการเกิด Otitis media ในการกลับเป็นซ้ำได้ มีการศึกษาพบว่าอะราบิโนกาแลคแทนมีความสามารถในการเพิ่มความสามารถของระบบภูมิต้านทานในการต้านเชื้อแบคทีเรียผ่านกลไกการเกิด Phargocytosis 

อะราบิโนกาแลคแทนกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่าน Peyer’s patch ในทางเดินอาหาร และเนื่องจากอะราบิโนกาแลคแทนมีโครงสร้างบางส่วนคล้ายกับแบคทีเรียจึงมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ การรับประทานอะราบิโนกาแลคแทนอย่างต่อเนื่องจึงเหมือนการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เสมือนว่าร่างกายได้รับเชื้อ ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้ม เช่น เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ กันมีความสามารถในการจับกินเชื้อโรคและมีความว่องไวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคจริง ๆ เซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีการซ้อมรบทุกวันมีแข็งแรงและว่องไว ดังนั้นจึงลดความรุนแรงและลดโอกาสในการติดเชื้อแบคทีเรียได้

Chronic disease

พบว่าอะราบิโนกาแลคแทนมีความสามารถในการเพิ่มจำนวน CD4 cell จึงมีส่วนช่วยในการลดการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือในโรคไวรัสตับอักเสบ ร่างกายอาจเกิดจากการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาว การทานอะราบิโนกาแลคแทนซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันจึงเป็นประโยชน์มากในผู้ป่วยกลุ่มนี้ 

สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อรับประทานอะราบิโนกาแลคแทนต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์ พบว่าความดันโลหิตตัวบนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ baseline

เสริมภูมิต้านทานหลังการได้รับวัคซีน

มีการศึกษาผลของอะราบิโนกาแลคแทนในอาสาสมัครสุขภาพดีถึงประสิทธิผลของการช่วยเสริมสร้างภูมิในผู้ที่ได้รับวัคซีน โดยทดสอบในผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคปอดอักเสบ การทดลองได้แบ่งผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคปอดอักเสบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับอะราบิโนกาแลคแทน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับอะราบิโนกาแลคแทนมีระดับการเพิ่มขึ้นของ IgG สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก หมายความว่าอะราบิโนกาแลคแทนช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิเพื่อตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีขึ้นนั่นเอง โดยพบว่าอะราบิโนกาแลคแทนมีคุณสมบัติแบบ dose-response คือ ผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคปอดอักเสบและทานอะราบิโนกาแลคแทนในปริมาณที่สูงขึ้นจะมีระดับ IgG สูงกว่าผู้ที่ได้รับประทานอะราบิโนกาแลคแทนในปริมาณที่ต่ำกว่า

นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก การรับประทานอะราบิโนกาแลคแทน 1.5g ต่อวัน ช่วยเพิ่มปริมาณ IgG ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (p = 0.008) เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วัน 

อะราบิโนกาแลคแทนเหมาะกับใคร

อะราบิโนกาแลคแทนเป็นสารอาหารที่ดีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ มีความปลอดภัย เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย

ประโยชน์ของอะราบิโนกาแลคแทน

  1. เสริมสร้างภูมิต้านทานทั้งแบบ Innate Immune และ Adaptive Immune 
  2. สงเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ โดยพบว่าอะราบิโนกาแลคแทนช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ชนิด
เอกสารอ้างอิง
  1. Odonmazig P, Ebringerova A, Machova E, Alfoldi J. Structural and molecular properties of the arabinogalactan isolated from Mongolian larchwood (Larix dahurica L.). Carbohydr Res 1994;252:317-324.
  2. D’Adamo P. Larch arabinogalactan. J Naturopath Med 1996;6:33-37.
  3. Slavin J, Feirtag J, Robinson R, Causey J. Physiological effects of arabinogalactan (AG) in human subjects. Unpublished research.
  4. Jay K. Immunomodulatory effects of ResistAidTM: A randomized, Double-blind, Placebo-controlled, multidose study. J. the American college of nutrition. 2013;32:331-8.
  5. Grube B, Stier H, Riede L, at el. Tolerability of a proprietary Larch Arabinogalactan extract: A randomized, double-blind, Placebo-controlled clinical trial in healthy subject. Food and Nutrition 2012;11:1533-8.