Skip to content

คอลลาเจน เป็นสายของโปรตีนซึ่งพบมากที่สุดในสัตว์ เป็นองค์ประกอบหลักของผิวหนังและโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เส้นเอ็น หลอดเลือด กระดูก ข้อ เป็นต้น โดยทั่วไปร่างกายจะมีการสร้างและการสลายคอลลาเจนในปริมาณที่สมดุลกัน แต่พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น การสร้างคอลลาเจนจะค่อย ๆ ลดลง ส่งผลต่อความแข็งแรงของผิวและอวัยวะต่าง ๆ ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ

คอลลาเจนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการรับประทานคอลลาเจน เช่น

  1. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง
  2. ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอย
  3. ช่วยเรื่องสุขภาพของข้อต่อ เช่น ลดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ การบาดเจ็บขอข้อในการทำกิจกรรมต่าง ๆช่วยลดและความรู้สึกไม่สบายของข้อ รวมถึงลดอาการต่าง ๆ ของโรคข้อเข่าเสื่อม
  4. การรับประทานคอลลาเจนมีคุณสมบัติช่วยในการยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinase ชนิดที่ 2 และ 9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบมากในมะเร็งหลายชนิด

Collagen ที่ทานอยู่นั้น ทำให้สวยจริงหรอ ?

ผิวหนังเป็นปราการด่านแรกที่ช่วยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด อุณหภูมิ ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่าง ๆ ที่พร้อมจะเข้าสู่ร่างกาย แต่การที่ผิวหนังต้องเผชิญกับมลภาวะเหล่านี้อยู่เสมอทำให้ผิวเกิดความเสื่อมชรา คอลลาเจนใต้ผิวหนังถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นการสร้างคอลลาเจนลดลง ขณะที่การสลายคอลลาเจนอาจคงที่หรือเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น เกิดริ้วรอยและความหย่อนคล้อย 

มีการศึกษาพบว่าการรับประทานคอลลาเจนมีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิวได้ ดังนั้นจึงมีการนำคอลลาเจนมารับประทานเสริมเพื่อช่วยดูแลสุขภาพผิว แต่อย่างไรก็ตามคอลลาเจนมีหลายชนิด แต่ละชนิดให้ปริมาณกรดอะมิโนต่างกันทั้งในแง่ของชนิดและปริมาณ ขนาดโมเลกุลส่งผลให้คอลลาเจนมีการดูดซึมที่แตกต่างกันไป รวมถึงสารปนเปื้อนหรือสารเคมีตกค้างจากกระบวนการผลิตซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อคุณภาพของคอลลาเจนทั้งสิ้น 

เลือกคอลลาเจนอย่างไรให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

  • กลิ่นคาว : โดยทั่วไปคอลลาเจนมักสกัดมาจากสัตว์จึงมักมีกลิ่นคาว ทำให้ผู้ที่ทานคอลลาเจนต้องทานด้วยความทรมาน ซึ่งบางคนอาจทนกลิ่นคาวนี้ไม่ไหวจนต้องหยุดกินไปในที่สุด  ดังนั้นหากคอลลาเจนที่ทานไม่มีกลิ่นคาว สามารถผสมในอาหารและเครื่องดื่มได้หลากหลาย จะทำให้การรับประทานคอลลาเจนจะไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป
  • ดูดซึมไปใช้ได้จริง : คอลลาเจนขนาดเล็กจะถูกดูดได้ดีโดยเฉพาะคอลลาเจนไดเปปไทด์ ซึ่งเป็นคอลลาเจนขนาดเล็กและมีการดูดซึมได้ดีและรวดเร็วที่สุด มีการศึกษาพบว่าคอลลาเจนที่มีสายยาว แทบจะไม่ถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เลย 
  • มีสารโลหะหนักตกค้าง : คอลลาเจนจากสัตว์อาจมีสารโลหะหนักปนเปื้อน เช่น ปรอท ตะกั่ว หรือ แคดเมียม เป็นต้น สารเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลต่อร่างกายคือ อ่อนเพลีย อ่อนแรง ผื่นภูมิแพ้ หายใจติดขัด ปวดท้อง อาเจียน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกทานคอลลาเจนที่มีการตรวจสารโลหะหนักปนเปื้อน
  • สารตกค้างจากกระบวนการสกัดคอลลาเจน : ในการสกัดคอลลาเจนโดยทั่วไปมักใช้วิธีทางเคมี (การสกัดด้วยกรด) เพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งสารจากกระบวนการการสกัดด้วยวิธีทางเคมีเหล่านี้อาจตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์ แต่มีการสกัดอีกวิธีหนึ่งคือ การสกัดด้วยวิธีทางชีวภาพ (การสกัดด้วยเอ็นไซม์) การสกัดคอลลาเจนด้วยวิธีนี้จะใช้เอ็นไซม์จากพืชในธรรมชาติในการสกัดจึงมีความปลอดภัยมากกว่า
  • แหล่งที่มาของวัตุดิบ : ในช่วงที่มีการระบาดของโรคในหมูหรือวัว ทำให้คอลลาเจนจากปลากลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่การผลิตคอลลาเจนจากหนังปลามักมีการใช้สารฟอกสีดังนั้นแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่แตกต่างกัน เช่น หนัง หรือ เกล็ด หรือชนิดของสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตจึงส่งผลต่อคุณภาพของคอลลาเจน อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนของเกล็ดปลา (โดยเฉพาะปลาเกล็ดใส) จะเป็นส่วนที่ให้คอลลาเจนสูงกว่าส่วนอื่นและมีความปลอดภัยเนื่องจากไม่ต้องใช้

คำแนะนำและข้อควรระวังในการรับประทานคอลลาเจน

  • ควรเลือกรับประทานคอลลาเจนที่เป็นสายสั้น หรือมีโมเลกุลขนาดเล็กเนื่องจากสามารถดูดซึมได้ดีและรวดเร็ว
  • เพื่อความปลอดภัยองค์การอาหารและยามีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานคอลลาเจนเสริม โดยแนะนำว่าสามารถทานเสริมได้ 5,000 – 7,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ควรเกิน 10,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ระมัดระวังการทานคอลลาเจนจากปลาในกรณีที่มีประวัติแพ้ปลาหรืออาหารทะเล

อ้างอิง

  1. Osawa Y., Mizushige T., Jinno S., et al. Absorption and metabolism of orally administered collagen hydrolysates evaluated by the vascularly perfused rat intestine and liver in situ. Biomed Res J (Tokyo) 2018;39(1):1-11.
  2. Shoulders M. and Raines RT. Collagen structure and stability. Annu Rev Biochem 2009; 78: 929-58. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2846778.
  3. Zague V., Freitas VD., et al. Collagen hydrolysate intake increases skin collagen expression and suppresses matrix metalloproteinase 2 activity. J Med Food 2011;14(6). Available from: https://doi.org/10.1089/jmf.2010.0085.
  4. สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์. บทบาทของเอ็นไซม์เมทริกเมทัลโลโปรติเอสและการแสดงออกในมะเร็ง. J Health Res 2007;21(3):239-49.
  5. Ramos AS., Velosa AP., et al. Collagen V oral administration decreases inflammation and remodeling of synovial membrane in experimental arthritis. Plos One 2018;13(7). Available from: doi: 10.1371/journal.pone.0201106.