Skip to content

admin

เบต้ากลูแคน อีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมภูมิต้านทาน

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสเป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดการถดถอยของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค หรือเซลล์ที่หมดอายุขัย รวมไปถึงเซลล์ที่ติดเชื้อออกจากร่างกายได้ (Immunosenescence) ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะทุพโภชนาการ สารพิษ อนุมูลอิสระต่างๆ การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้รั่วซึม ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ… Read More »เบต้ากลูแคน อีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมภูมิต้านทาน

คุณคิดว่า… Collagen ที่ทานอยู่นั้น ทำให้สวยจริงหรอ ?

คอลลาเจน เป็นสายของโปรตีนซึ่งพบมากที่สุดในสัตว์ เป็นองค์ประกอบหลักของผิวหนังและโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เส้นเอ็น หลอดเลือด กระดูก ข้อ เป็นต้น โดยทั่วไปร่างกายจะมีการสร้างและการสลายคอลลาเจนในปริมาณที่สมดุลกัน แต่พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น การสร้างคอลลาเจนจะค่อย ๆ ลดลง ส่งผลต่อความแข็งแรงของผิวและอวัยวะต่าง ๆ ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ คอลลาเจนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการรับประทานคอลลาเจน เช่น Collagen ที่ทานอยู่นั้น… Read More »คุณคิดว่า… Collagen ที่ทานอยู่นั้น ทำให้สวยจริงหรอ ?

“ไข้หูดับ” โรคร้ายที่แฝงมากับความอร่อย

จากที่มีกระแสข่าวพบผู้ป่วยวัยรุ่นหญิงติดเชื้อไข้หูดับ จากการรับประทานหมูกระทะกับครอบครัว แล้วมีอาการซึมลง อาเจียน เวียนศีรษะ จนต้องนำตัวรักษาที่โรงพยาบาล ภายหลังได้ตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากติดเชื้อ ‘ไข้หูดับ’ และติดเชื้อในกระแสเลือดจนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราในที่สุด ทำให้สังคมให้ความสนใจและอยากที่จะรู้จักกับโรคไข้หูดับนี้มากขึ้น เพื่อที่จะหาทางรับมือกับภัยร้ายใกล้ตัวนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้องการจะไปเฉลิมฉลองด้วยชาบู หมูกระทะ และปิ้งย่างนั่นเอง โรคไข้หูดับ คืออะไร? ไข้หูดับ เกิดจากการติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักจะอาศัยอยู่ในต่อมทอนซิล ระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอดของหมู โดยเชื้อนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน… Read More »“ไข้หูดับ” โรคร้ายที่แฝงมากับความอร่อย

กรดไหลย้อน

เภสัชอยากเล่า หนึ่งในอาการยอดฮิตประจำร้านยาอย่าง กรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease ซึ่งเรียกกันย่อ ๆ ได้ว่า GERD นั่นเอง ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นอะไรที่ใกล้ตัวมาก ๆ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมากมักจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยวันนี้เภสัชจะขอพูดถึงอาการต่าง ๆ ของโรคกรดไหลย้อน พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง รวมถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และแนวทางการรักษาเบื้องต้น อาการ พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณมีอาการของโรคกรดไหลย้อน… Read More »กรดไหลย้อน

ไรฝุ่นคืออะไร?

ไรฝุ่น เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากจนมนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยด้วยตาเปล่า มีความยาวเพียง 0.1-0.3 มิลลิเมตร อยู่ปะปนกับฝุ่นภายในบ้าน กินผิวหนังของมนุษย์ที่ถูกผลัดออกมาเป็นอาหาร ในคนที่แพ้ไรฝุ่น เมื่อหายใจเอาอากาศที่มีไรฝุ่นเข้าไปอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นในระบบทางเดินหายใจได้ โดยไรฝุ่นที่พบได้บ่อยและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ มี 2 ชนิด คือ Dermatophagoides pteronyssinus (DP) และ Dermatophagoides farinae (DF) 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น    … Read More »ไรฝุ่นคืออะไร?

ไขมันพอกตับ รู้ก่อน.. ป้องกันได้

ไขมันพอกตับ (fatty liver) เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ (โดยมากมักจะเป็นไขมันชนิด triglyceride) โดยจะสามารถแบ่งได้ สองกลุ่มใหญ่ๆ ตามสาเหตุได้แก่ ไขมันพอกตับที่เกิดจากพฤติกรรมมักจะสอดคล้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน กล่าวคือร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อนมาทำหน้าที่ในการดึงน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ตับ หากพบว่าไม่สามารถรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตับอ่อนจะผลิตและหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันกับที่เซลล์ตับจะสะสมไขมันมากขึ้นด้วย เมื่อมีภาวะไขมันพอกตับมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น หรือมีอาการแต่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดตึงบริเวณชายโครงขวา… Read More »ไขมันพอกตับ รู้ก่อน.. ป้องกันได้

เมลาโทนิน (Melatonin) ฮอร์โมนแห่งราตรีกาล มีดีมากกว่าเรื่องนอนหลับ

Highlight – เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับ – การรับประทานเมลาโทนินขนาดสูงมากเกินไป อาจทำให้เกิดความ Tolerance หรือ ความทนทานต่อยาได้ – ในประเทศไทย เมลาโทนินถูกจัดให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย และมีจำหน่ายในรูปแบบเมลาโทนินออกฤทธิ์เนิ่นที่ความแรง 2 มิลลิกรัม เท่านั้น – อาการที่มักพบในผู้ที่ขาดเมลาโทนิน ได้แก่ นอนไม่หลับ, กล้ามเนื้อเกร็งตัว, ตะคริวตอนกลางคืน, ปวดเกร็งท้อง, อ่อนเพลีย, แก่ก่อนวัย… Read More »เมลาโทนิน (Melatonin) ฮอร์โมนแห่งราตรีกาล มีดีมากกว่าเรื่องนอนหลับ

แคลเซียม ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือ?

เมื่อพูดถึงกระดูก แคลเซียมมักเป็นแร่ธาตุตัวแรก ๆ ที่เรานึกถึง แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอในระยะยาวโดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนซึ่งอาจทำให้เกิดกระดูกหักหรือยุบตัวลงได้ แต่รู้หรือไม่ว่าแม้แคลเซียมจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่การทานแคลเซียมไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ผู้เชี่ยวชาญจาก John Hopkin University School of Medicine เปิดเผยข้อมูลจากการติดตามผลการรับประทานแคลเซียมจากคนจำนวน 2,700 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าการรับประทานแคลเซียมเสริมจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ขณะที่การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมกลับมีฤทธิ์ในการปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ นอกจากนี้ข้อมูลจาก Korean National… Read More »แคลเซียม ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือ?

“มะเร็งปอด” ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

จากกระแสในโลกโซเชียลที่ว่าด้วยการป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายของนายแพทย์หนุ่มท่านหนึ่ง ทั้งที่มีร่างกายแข็งแรงมาก ดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ทานอาหารสุขภาพเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เคยสูบบุหรี่ ที่สำคัญคือเขาไม่มีอาการแสดงเลย จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่มะเร็งลุกลามไปทั่วทั้งพื้นที่ปอดข้างหนึ่งเสียแล้ว กรณีศึกษานี้ทำให้สังคมต้องกลับมาทบทวนถึงสาเหตุที่สำคัญ และความรุนแรงของโรคมะเร็งปอดกันอีกครั้ง สถิติของโรคมะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society : ACS) ประเมินว่าปี 2022 จะพบผู้ป่วยมะเร็งปอดมากขึ้น 236,740 คน และเสียชีวิต 130,180 คน… Read More »“มะเร็งปอด” ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

โรคไต (Renal failure) กับการใช้ยา

เมื่อไม่นานมานี้เคยมีคนไข้มาปรึกษาที่ร้านยาว่า “อยากได้ยาเม็ดกินเอาไว้ล้างไต พอดีเพื่อนฝากซื้ออยากใช้ล้างไต รู้สึกช่วงนี้ไตไม่ค่อยดี” ก่อนอื่นเราจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอวัยวะไตให้มากขึ้นเพื่อให้รู้จักกับโรคไต การทำงานของไตที่ผิดปกติ และการดูแลรักษาไต “ไต” (Kidney) คืออวัยวะภายในที่ทำหน้าที่กรองเลือดเพื่อกำจัดของเสีย โดยของเสียที่ถูกกรองออกทางไตจะถูกกำจัดในรูปแบบของปัสสาวะ การรับประทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมบางชนิดก็จะถูกกำจัดทางไตด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนที่มีปัญหาโรคไตก่อนที่จะรับประทานยาหรืออาหารเสริม จึงจำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับไต? คำตอบคือการตรวจสุขภาพจะมีค่าๆนึงที่ใช้บอกการทำงานของไต คือค่า “eGFR” (Estimated Glomerular Filtration Rate) บ่งบอกประสิทธิภาพในการกรองของไต… Read More »โรคไต (Renal failure) กับการใช้ยา

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ L-Carnitine

1. L-Carnitine เป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากกรดอะมิโน lysine + methionine ส่วนใหญ่จะสะสมตัวอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ 2. L-Carnitine ทำหน้าที่เป็น cofactor ในกระบวนการ metabolism ของไขมันเพื่อให้พลังงานกับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยทำหน้าที่ขนส่ง long chain fatty acid ไปยัง mitochondria และทำให้ร่างกายมี coenzyme… Read More »10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ L-Carnitine

เภสัชอยากเล่า : รู้ไหมว่าผู้สูงอายุก็พบอาการตกขาวได้นะ

ในช่วงนี้ที่เป็นปลายฝนต้นหนาว อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้นได้ง่าย ทำให้เภสัชพบเคสลูกค้าที่เข้ามาปรึกษาเรื่องที่มีอาการคันบริเวณช่องคลอดบ่อยมากค่ะ  แต่ที่น่าตกใจคือ พอถามว่ามีตกขาวไหม หลายๆเคสจะบอกว่า ไม่มีค่ะ เพราะสูงอายุแล้ว อายุ 50 บ้าง 60 บ้าง แก่แล้วจะมีตกขาวได้ยังไง  ซึ่งเป็นเรื่องที่่ทำให้ต้องอธิบายกันยาวเลยว่า ความอับชื้นทำให้เกิดตกขาวจากเชื้อราได้นะคะ ซึ่งทำให้มีอาการคันช่องคลอด อาจพบก้อนขาวๆคล้ายนมบูดได้ หรืออาจเกิดจากช่องคลอดอักเสบ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงลดลงมาก จึงส่งผลให้เกิดภาวะแห้งบริเวณช่องคลอด จึงส่งผลเกิดอาการตกขาว ซึ่งรักษาโดยการให้เจลทา เพื่อป้องกันการแห้ง… Read More »เภสัชอยากเล่า : รู้ไหมว่าผู้สูงอายุก็พบอาการตกขาวได้นะ

เภสัชอยากเล่า เรื่องคาใจ…เหตุไฉนปัสสาวะเปลี่ยนสี?

สีของปัสสาวะนั้นเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ใช้บ่งชี้สุขภาพของมนุษย์ เห็นได้จากการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลทุกครั้งจะต้องมีการตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) ร่วมด้วยเสมอ ในส่วนของร้านขายยาเองบางครั้งก็พบว่ามีคนไข้เข้ามาสอบถามด้วยความกังวลใจมิใช่น้อยเกี่ยวกับปัสสาวะของตัวเองที่มีสีผิดแปลกไปจากเดิม บางคนกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรงจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ แท้จริงแล้วสาเหตุของการเปลี่ยนสีปัสสาวะนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากอาหารที่รับประทาน ปริมาณน้ำที่ดื่ม ยาที่ใช้ หรือแม้แต่โรคบางชนิดก็ส่งผลต่อสีของปัสสาวะได้ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูกันว่า“สีปัสสาวะ บอกอะไรเราได้บ้าง?” ❤️ปัสสาวะสีเหลือง : โดยปกติปัสสาวะของคนเรามักจะมีสีเหลืองอ่อนและใส แต่ถ้าวันนั้นดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจะมีสีเหลืองเข้ม จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือหลังออกกำลังกาย แต่ถ้าหากปัสสาวะมีสีใสมากจนเหมือนน้ำ แสดงว่าเราดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไป หรืออาจบ่งชี้ได้ถึงสภาวะบางอย่าง… Read More »เภสัชอยากเล่า เรื่องคาใจ…เหตุไฉนปัสสาวะเปลี่ยนสี?

โรคระบาดปลายฝนต้นหนาว ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก ชิคุนกุนยา VS ไข้เลือดออก VS RSV

ในช่วงนี้ประเทศไทยเป็นช่วงปลายฝน ต้นหนาว ทำให้เด็กๆมีภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่าย โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีการเพาะพันธุ์ของยุงจำนวนมาก ทำให้เกิดโรคระบาดที่มาจากยุงได้อีกด้วย โดยโรคสำคัญที่กำลังระบาดในขณะนี้คือ โรคชิคุนกุนยา, โรคไข้เลือดออก และ RSV (respiratory syncytial virus) RSV คืออะไร ? RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ… Read More »โรคระบาดปลายฝนต้นหนาว ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก ชิคุนกุนยา VS ไข้เลือดออก VS RSV

ใช้ยาพร่ำเพรื่อ… เสี่ยงเชื้อดื้อยา

“เจ็บคอมากเลย….. ขอยาแก้อักเสบ เขียวฟ้า ดำเทามากินหน่อยสิ” ประโยคคุ้นเคยที่เภสัชกรมักจะได้ยินมาเสมอเวลามีผู้มารับบริการหรือมาซื้อยารักษาอาการเจ็บป่วย … เหตุผลในการใช้ยาก็มีหลากหลาย บ้างก็ใช้จากประสบการณ์เจ็บป่วยครั้งก่อน ๆ ของตัวเองที่เคยกินยาแบบนี้แล้วหายเร็วทันตาเห็น หรือเห็นคนข้าง ๆ กินแล้วหายดีเลยอยากกินบ้าง และอื่น ๆ อีกมากมาย … หลายคนอาจเคยโดนทัดทานจากเภสัชกรว่า “กินมาก ๆ เดี๋ยวเชื้อจะดื้อยานะ” … “หายป่วยแล้วแต่ก็ต้องกินยาจนครบนะป้องกันเชื้อดื้อยา” เพราะฉะนั้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า… Read More »ใช้ยาพร่ำเพรื่อ… เสี่ยงเชื้อดื้อยา

Long covid กับภาวะสมองล้า

อาการ Long COVID คือ ภาวะหลังการติดเชื้อโควิด จากงานวิจัยของหลายประเทศพบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะนี้ 32%-96% ที่ 90 วันหลังการติดเชื้อ ซึ่งแสดงในแต่ละระบบที่แตกต่างกันไป ในส่วนของระบบประสาท มักพบอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะเครียด อาการซึมเศร้ากลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำ และภาวะวิตกกังวล (Anxiety)  ภาวะสมองล้า (Brain Fog)  ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน มีอาการอ่อนแรงหรือชาแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หน้าเบี้ยว พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด เป็นต้นเป็น อาการที่พบได้เยอะอย่างหนึ่งคือ “ภาวะสมองล้า… Read More »Long covid กับภาวะสมองล้า

อาหารทางการแพทย์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ปัจจุบันมีอาหารทางการแพทย์ที่อยู่ในท้องตลาดมากมาย คำถามคือเราควรเลือกอย่างไร ควรเลือกที่รสชาตอร่อย? เพื่อนแนะนำมาว่ากินแล้วดี? หรือเลือกยี่ห้อที่เคยได้ยินตามโฆษณาดี? อาหารทางการแพทย์มีหลายสูตรให้เลือกใช้มากๆ แม้กระทั่งในยี่ห้อเดียวกันก็มีหลายสูตรให้เลือกรับประทาน ซึ่งแต่ละสูตรจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันเหมาะกับแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ขึ้นกับเงื่อนไขทางสุขภาพ (Health condition) ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีโรคประจำตัวเป็รโรคเบาหวานไม่ควรทานอาหารทางการแพทย์ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงๆ เป็นต้น จุดประสงค์ในการรับประทานสามารถใช้ดื่มเพื่อทดแทนอาหารมื้อหลัก เพื่อเสริมอาหารเป็นบางมือ หรืออาจใช้เป็นอาหารทางสายยาง (Tube feeding) ก็ได้  อาหารทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่… Read More »อาหารทางการแพทย์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ดื่มน้ำ RO ส่งผลดีต่อร่างกาย…จริงหรือไม่?

ในร่างกายของมนุษย์เรามีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายมากถึงร้อยละ 70 บ่งบอกถึงความจำเป็นต่อร่างกายอย่างหลากหลาย ทั้งในด้านบำรุงผิวพรรณ ลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนเลือด ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย รวมไปถึงช่วยเพิ่มการเมตาบอลิซึมและขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้นกลุ่มคนรักสุขภาพจึงให้ความสำคัญกับการเลือกน้ำดื่มมาก ประกอบกับปัจจุบันมีเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สามารถปรับปรุงให้น้ำมีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายมากขึ้น หนึ่งในประเภทน้ำที่มักมีการถกเถียงถึงคุณประโยชน์และโทษต่อร่างกายของเรานั่นก็คือน้ำ RO หรือ น้ำ Reverse Osmosis ซึ่งเราจะพามาดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าน้ำประเภทนี้กันค่ะ  น้ำ RO (Reverse Osmosis  คือน้ำที่ผ่านการกรองแบบออสโมซิสย้อนกลับผ่านเมมเบรน (Membrane Filtration)… Read More »ดื่มน้ำ RO ส่งผลดีต่อร่างกาย…จริงหรือไม่?

อย่าเพิ่งซื้อสารต้านอนุมูลอิสระ ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้!

อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ คือ อะไร อนุมูลอิสระ (Free radical) คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียร เนื่องจากขาดอิเล็คตรอนที่เคยอยู่เป็นคู่กันไป เมื่อมันไม่มีคู่ ตัวมันจะวิ่งไปไปหาคู่ใหม่ โดยการไปแย่งอิเล็คตรอนของโมเลกุลอื่นๆเพื่อมาเติมเต็มคู่ของมัน ถ้ามันมาจับกับอิเล็คตรอนของเซลล์ในร่างกายใด เซลล์ร่างกายนั้นก็จะเกิดความเสื่อมได้ เข่น ไขมัน โปรตีน DNA เป็นต้น โดยทั่วไป ร่างกายของเราจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับเซลล์อยู่แล้ว เช่น Superoxide dismutase… Read More »อย่าเพิ่งซื้อสารต้านอนุมูลอิสระ ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้!

เภสัชอยากเล่า เรื่องเมา ๆ เราช่วยได้

บทความนี้เอาใจสายปาร์ตี้กันหน่อยค่ะ 🙂  บ่อยครั้งที่เราต้องร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ แฮงค์เอ้าท์กับเพื่อน ๆ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช่ไหมล่ะคะ … เภสัชเองก็ได้รับคำถามจากนักดื่มดัวยงเข้ามาบ่อย ๆ ว่า “มียาแก้แฮงค์ขายไหม?” หรือ “แพ้แอลกอฮอล์ ทานแล้วหน้าแดงตลอด มียารักษาหรือเปล่า?” …. พอถามกันเข้ามากขึ้น เภสัชไม่นิ่งนอนใจค่ะ เลยได้ไปทำการค้นคว้าข้อมูลที่น่าสนใจมาสรุปและแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกัน Q: ยาแก้แฮงค์ มีจริงหรือเปล่า? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมเราถึงมีอาการ Hang-Over หรือเมาค้างหลังจากที่ดื่มแอลกฮอล์… Read More »เภสัชอยากเล่า เรื่องเมา ๆ เราช่วยได้

วิตามินเอ และ อนุพันธ์ของวิตามินเอ

ด้วยชื่อต่างๆ ที่คล้ายกัน จึงอาจก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้ ว่าสรุปแล้ว สารเหล่านี้คือตัวเดียวกันไหม สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ หลายๆ คนอาจจะยังคงไม่ทราบ และยังเข้าใจผิดในเรื่องนี้อยู่ บทความนี้จะอธิบายให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างสารต่างๆเหล่านี้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีใช้อย่างถูกต้อง Q : สารเหล่านี้คืออะไรกันนะ? ใช่สิ่งเดียวกันไหม? จริงๆ แล้ว สารทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งเดียวกัน คือ วิตามินเอ และอนุพันธ์ของวิตามินเอ (vitamin A derivatives) ซึ่งเรียกรวมๆ… Read More »วิตามินเอ และ อนุพันธ์ของวิตามินเอ

วิตามิน K (Vitamin K) คืออะไร?

วิตามิน K จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันเช่นเดียวกับวิตามิน A, D และ E วิตามิน K ถูกค้นพบโดยนักชีวเคมีชาวเดนมาร์ก ชื่อ Henrik Dam ในปี ค.ศ.1929 ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าวิตามิน K นั้น มาจากคำว่า coagulation (หรือKoagulation ในภาษาเยอรมันและเดนมาร์ก) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการแข็งตัวของเลือดและมันใช้เวลานานเท่าไหร่ ภายหลังต่อมาพบว่ามีวิตามิน… Read More »วิตามิน K (Vitamin K) คืออะไร?

โรคมือ เท้า ปาก VS วัคซีนป้องกัน

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยย่อมเกิดความเป็นห่วงว่าลูกรักที่กำลังทั้งเล่นทั้งเรียนกับเพื่อนๆอยู่ที่โรงเรียนนั้นจะได้รับเชื้อโรคอะไรปนเปื้อนกลับมาบ้าง หนึ่งในโรคฮิตตอนนี้คงหนีไม่พ้นคือ การติดเชื้อกลุ่มไวรัสโรคมือ เท้า ปาก (Hand-Foot-And-Mouth Disease; HFMD) ที่มักจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี สาเหตุของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71… Read More »โรคมือ เท้า ปาก VS วัคซีนป้องกัน

ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับเชื้อโควิด-19 (co-infection) อันตรายคูณสอง

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร่วมกับเชื้อไวรัสโควิด-19 (co-infection) เป็นการเพิ่มความรุนแรงของโรค  ซึ่งเป็นอันตรายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง และสาเหตุของการเสียชีวิตสูงถึง 29-55 เปอร์เซ็นต์!!! ช่วงนี้โควิด19 ระลอกใหม่เริ่มกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 เป็นเชื้อกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังมาแรง  อาการที่เด่นชัดของสายพันธุ์นี้ได้แก่ “อ่อนเพลีย เหนื่อย, ไอแห้ง, เจ็บคอ, ไข้, มีน้ำมูก, ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และถ่ายเหลว” ในขณะเดียวกัน… Read More »ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับเชื้อโควิด-19 (co-infection) อันตรายคูณสอง

เคล็ดลับป้องกันอาการท้องร่วงในหน้าร้อน

เมื่อก้าวเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัวขนาดนี้แล้ว อาการป่วยสุดฮอตฮิตที่พบบ่อยคงจะหนีไม่พ้นอาการท้องร่วง-อาหารเป็นพิษนั่นเอง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนกับแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคบางชนิด ซึ่งมักจะเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นไปอีกในภาวะที่อากาศร้อน จนมักจะทำให้อาหารของเราเสียสภาพ บูดเน่าได้ง่าย  บางเมนูก็อาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่า แต่บางอย่างก็อาจไม่แสดงลักษณะแปลกปลอมให้เห็น เมื่อทานเข้าไปก็ทำให้เกิดอาการท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา  อาการที่เห็นได้ชัดเมื่อเป็นโรคท้องร่วง คือ มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง โดยจะถ่ายเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง อุจจาระผิดปกติ โดยมักจะมีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาด้วยอย่างน้อย 1 ครั้ง คลื่นไส้ อาเจียนบ่อย  มักมีความรู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป… Read More »เคล็ดลับป้องกันอาการท้องร่วงในหน้าร้อน

เลซิติน-Lecithin

เลซิติน (Lecithin) คือสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) สามารถพบเลซิตินได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับร่างกายของมนุษย์นั้น จะพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30% ซึ่งเลซิตินจำเป็นต่อการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วเราจะได้รับเลซิตินจากอาหารทั่วไป แต่อาจไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ… Read More »เลซิติน-Lecithin

รู้ลึกเรื่องสารอาหาร: โครเมียม (Chromium)

รู้จักโครเมียม หากคุณกำลังมองหาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในเรื่องการเผาผลาญพลังงานและควบคุมน้ำหนัก ขอแนะนำให้รู้จักกับ “โครเมียม” ในฐานะสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โครเมียมเป็นแร่ธาตุชนิดนึงที่พบได้ทั่วไปในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ธัญพืช ผักผลไม้ บริวเวอร์ ยีสต์ เป็นต้น แต่จะพบน้อยในอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมและอาหารที่มีน้ำตาลสูง ทั้งนี้โครเมียมจากอาหารอาจถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิตอาหารต่าง ๆ  และ มีเพียง 3% ของโครเมียมในอาหารเท่านั้นที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้โครเมียมยังสูญเสียไปได้ง่ายเนื่องจากสามารถจับกับกรดแลกติก (Lactic acid) ในร่างกายได้ ซึ่งในสภาวะที่ร่างกายสร้างกรดแลกติกสูงเช่น ภาวะที่ร่างกายทำงานอย่างหนัก… Read More »รู้ลึกเรื่องสารอาหาร: โครเมียม (Chromium)

ตาแห้ง ยุคดิจิตอล (Digital Dry Eye Syndrome)

ปัจุบันเทคโนโลยียุคดิจิตอลเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกช่วงวัยของชีวิตทำให้ทั้งโลกใบนี้สามารถติดต่อสื่อสารได้เพียงเสี้ยววินาที แต่กระนั้นปัญหาทางสุขภาพจากการใช้สื่อดิจิตอลก็ตามมาเช่นกัน ยิ่งระยะเวลาในการใช้งานมากขึ้นด้วยแล้วยิ่งมีผลต่อนัยน์ตามากขึ้น ในภาวะปกติคนทั่วไปจะมีการกระพริบตาเฉลี่ยที่ 22 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อเราให้ความสนใจกับกิจกรรมใดๆ เช่น ใช้สายตามองผ่านจอในมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือจอ LED อัตราการกระพริบตาลดลงเป็น 10 และ 7 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ปัจจุบันจึงพบผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งเนื่องมาจากการใช้งานผ่านจอมือถือ คอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้สายตานานมากขึ้น หากเราละเลยสัญญาณเตือนต่างๆของดวงตา อาจส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงและเกิดอาการรุนแรงตามมาได้ อาการ และสาเหตุของตาแห้ง … Read More »ตาแห้ง ยุคดิจิตอล (Digital Dry Eye Syndrome)

บัตรแพ้ยานั้น…สำคัญไฉน ?

กลับมาพบกันอีกครั้งกับ ‘เภสัชอยากเล่า’ นะคะ ครั้งนี้เภสัชฯจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าบัตรแพ้ยา ที่หลายคนอาจจะแทบไม่เคยรู้จัก? ไม่เคยเห็น? ไม่เคยรู้ว่ามันมีตัวตน? หรือไม่เคยรู้เลยว่ามันมีไว้เพื่ออะไรกันนะ การแพ้ยาคืออะไร ก่อนอื่นเรามารู้จักกับการแพ้ยากันซักนิดนะคะ การแพ้ยา คือ ปฏิกิริยาที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเราตอบสนองออกมาเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเรา ซึ่งในที่นี้ก็คือยาที่เรารับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีกิน ฉีด ทา หรือวิธีอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของการแพ้นั้นมีได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษ รู้สึกคันและบวม มีไข้ น้ำมูกไหล… Read More »บัตรแพ้ยานั้น…สำคัญไฉน ?

Goji berry ผลไม้มหัศจรรย์

มารู้จัก’โกจิเบอร์รี่’กันเถอะ โกจิเบอร์รี่ (Goji berry) หรือ Wolfberry ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเก๋ากี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum L. , Lycium chinense Mill. อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบอร์รี มีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของประเทศจีน และบางส่วนในทวีปเอเชีย ผลของโกจิเบอร์รี่มีสีแดงอมส้มขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน ในโกจิเบอร์รี่มีอะไร? โกจิเบอร์รี่ เป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วงต้นปี… Read More »Goji berry ผลไม้มหัศจรรย์