Skip to content

รู้ก่อนปลอดโรค

โรคไต (Renal failure) กับการใช้ยา

เมื่อไม่นานมานี้เคยมีคนไข้มาปรึกษาที่ร้านยาว่า “อยากได้ยาเม็ดกินเอาไว้ล้างไต พอดีเพื่อนฝากซื้ออยากใช้ล้างไต รู้สึกช่วงนี้ไตไม่ค่อยดี” ก่อนอื่นเราจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอวัยวะไตให้มากขึ้นเพื่อให้รู้จักกับโรคไต การทำงานของไตที่ผิดปกติ และการดูแลรักษาไต “ไต” (Kidney) คืออวัยวะภายในที่ทำหน้าที่กรองเลือดเพื่อกำจัดของเสีย โดยของเสียที่ถูกกรองออกทางไตจะถูกกำจัดในรูปแบบของปัสสาวะ การรับประทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมบางชนิดก็จะถูกกำจัดทางไตด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนที่มีปัญหาโรคไตก่อนที่จะรับประทานยาหรืออาหารเสริม จึงจำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับไต? คำตอบคือการตรวจสุขภาพจะมีค่าๆนึงที่ใช้บอกการทำงานของไต คือค่า “eGFR” (Estimated Glomerular Filtration Rate) บ่งบอกประสิทธิภาพในการกรองของไต… Read More »โรคไต (Renal failure) กับการใช้ยา

เภสัชอยากเล่า : รู้ไหมว่าผู้สูงอายุก็พบอาการตกขาวได้นะ

ในช่วงนี้ที่เป็นปลายฝนต้นหนาว อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้นได้ง่าย ทำให้เภสัชพบเคสลูกค้าที่เข้ามาปรึกษาเรื่องที่มีอาการคันบริเวณช่องคลอดบ่อยมากค่ะ  แต่ที่น่าตกใจคือ พอถามว่ามีตกขาวไหม หลายๆเคสจะบอกว่า ไม่มีค่ะ เพราะสูงอายุแล้ว อายุ 50 บ้าง 60 บ้าง แก่แล้วจะมีตกขาวได้ยังไง  ซึ่งเป็นเรื่องที่่ทำให้ต้องอธิบายกันยาวเลยว่า ความอับชื้นทำให้เกิดตกขาวจากเชื้อราได้นะคะ ซึ่งทำให้มีอาการคันช่องคลอด อาจพบก้อนขาวๆคล้ายนมบูดได้ หรืออาจเกิดจากช่องคลอดอักเสบ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงลดลงมาก จึงส่งผลให้เกิดภาวะแห้งบริเวณช่องคลอด จึงส่งผลเกิดอาการตกขาว ซึ่งรักษาโดยการให้เจลทา เพื่อป้องกันการแห้ง… Read More »เภสัชอยากเล่า : รู้ไหมว่าผู้สูงอายุก็พบอาการตกขาวได้นะ

เภสัชอยากเล่า เรื่องคาใจ…เหตุไฉนปัสสาวะเปลี่ยนสี?

สีของปัสสาวะนั้นเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ใช้บ่งชี้สุขภาพของมนุษย์ เห็นได้จากการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลทุกครั้งจะต้องมีการตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) ร่วมด้วยเสมอ ในส่วนของร้านขายยาเองบางครั้งก็พบว่ามีคนไข้เข้ามาสอบถามด้วยความกังวลใจมิใช่น้อยเกี่ยวกับปัสสาวะของตัวเองที่มีสีผิดแปลกไปจากเดิม บางคนกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรงจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ แท้จริงแล้วสาเหตุของการเปลี่ยนสีปัสสาวะนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากอาหารที่รับประทาน ปริมาณน้ำที่ดื่ม ยาที่ใช้ หรือแม้แต่โรคบางชนิดก็ส่งผลต่อสีของปัสสาวะได้ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูกันว่า“สีปัสสาวะ บอกอะไรเราได้บ้าง?” ❤️ปัสสาวะสีเหลือง : โดยปกติปัสสาวะของคนเรามักจะมีสีเหลืองอ่อนและใส แต่ถ้าวันนั้นดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจะมีสีเหลืองเข้ม จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือหลังออกกำลังกาย แต่ถ้าหากปัสสาวะมีสีใสมากจนเหมือนน้ำ แสดงว่าเราดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไป หรืออาจบ่งชี้ได้ถึงสภาวะบางอย่าง… Read More »เภสัชอยากเล่า เรื่องคาใจ…เหตุไฉนปัสสาวะเปลี่ยนสี?

โรคระบาดปลายฝนต้นหนาว ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก ชิคุนกุนยา VS ไข้เลือดออก VS RSV

ในช่วงนี้ประเทศไทยเป็นช่วงปลายฝน ต้นหนาว ทำให้เด็กๆมีภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่าย โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีการเพาะพันธุ์ของยุงจำนวนมาก ทำให้เกิดโรคระบาดที่มาจากยุงได้อีกด้วย โดยโรคสำคัญที่กำลังระบาดในขณะนี้คือ โรคชิคุนกุนยา, โรคไข้เลือดออก และ RSV (respiratory syncytial virus) RSV คืออะไร ? RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ… Read More »โรคระบาดปลายฝนต้นหนาว ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก ชิคุนกุนยา VS ไข้เลือดออก VS RSV

ใช้ยาพร่ำเพรื่อ… เสี่ยงเชื้อดื้อยา

“เจ็บคอมากเลย….. ขอยาแก้อักเสบ เขียวฟ้า ดำเทามากินหน่อยสิ” ประโยคคุ้นเคยที่เภสัชกรมักจะได้ยินมาเสมอเวลามีผู้มารับบริการหรือมาซื้อยารักษาอาการเจ็บป่วย … เหตุผลในการใช้ยาก็มีหลากหลาย บ้างก็ใช้จากประสบการณ์เจ็บป่วยครั้งก่อน ๆ ของตัวเองที่เคยกินยาแบบนี้แล้วหายเร็วทันตาเห็น หรือเห็นคนข้าง ๆ กินแล้วหายดีเลยอยากกินบ้าง และอื่น ๆ อีกมากมาย … หลายคนอาจเคยโดนทัดทานจากเภสัชกรว่า “กินมาก ๆ เดี๋ยวเชื้อจะดื้อยานะ” … “หายป่วยแล้วแต่ก็ต้องกินยาจนครบนะป้องกันเชื้อดื้อยา” เพราะฉะนั้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า… Read More »ใช้ยาพร่ำเพรื่อ… เสี่ยงเชื้อดื้อยา

Long covid กับภาวะสมองล้า

อาการ Long COVID คือ ภาวะหลังการติดเชื้อโควิด จากงานวิจัยของหลายประเทศพบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะนี้ 32%-96% ที่ 90 วันหลังการติดเชื้อ ซึ่งแสดงในแต่ละระบบที่แตกต่างกันไป ในส่วนของระบบประสาท มักพบอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะเครียด อาการซึมเศร้ากลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำ และภาวะวิตกกังวล (Anxiety)  ภาวะสมองล้า (Brain Fog)  ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน มีอาการอ่อนแรงหรือชาแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หน้าเบี้ยว พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด เป็นต้นเป็น อาการที่พบได้เยอะอย่างหนึ่งคือ “ภาวะสมองล้า… Read More »Long covid กับภาวะสมองล้า

โรคมือ เท้า ปาก VS วัคซีนป้องกัน

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยย่อมเกิดความเป็นห่วงว่าลูกรักที่กำลังทั้งเล่นทั้งเรียนกับเพื่อนๆอยู่ที่โรงเรียนนั้นจะได้รับเชื้อโรคอะไรปนเปื้อนกลับมาบ้าง หนึ่งในโรคฮิตตอนนี้คงหนีไม่พ้นคือ การติดเชื้อกลุ่มไวรัสโรคมือ เท้า ปาก (Hand-Foot-And-Mouth Disease; HFMD) ที่มักจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี สาเหตุของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71… Read More »โรคมือ เท้า ปาก VS วัคซีนป้องกัน

ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับเชื้อโควิด-19 (co-infection) อันตรายคูณสอง

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร่วมกับเชื้อไวรัสโควิด-19 (co-infection) เป็นการเพิ่มความรุนแรงของโรค  ซึ่งเป็นอันตรายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง และสาเหตุของการเสียชีวิตสูงถึง 29-55 เปอร์เซ็นต์!!! ช่วงนี้โควิด19 ระลอกใหม่เริ่มกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 เป็นเชื้อกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังมาแรง  อาการที่เด่นชัดของสายพันธุ์นี้ได้แก่ “อ่อนเพลีย เหนื่อย, ไอแห้ง, เจ็บคอ, ไข้, มีน้ำมูก, ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และถ่ายเหลว” ในขณะเดียวกัน… Read More »ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับเชื้อโควิด-19 (co-infection) อันตรายคูณสอง

เคล็ดลับป้องกันอาการท้องร่วงในหน้าร้อน

เมื่อก้าวเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัวขนาดนี้แล้ว อาการป่วยสุดฮอตฮิตที่พบบ่อยคงจะหนีไม่พ้นอาการท้องร่วง-อาหารเป็นพิษนั่นเอง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนกับแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคบางชนิด ซึ่งมักจะเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นไปอีกในภาวะที่อากาศร้อน จนมักจะทำให้อาหารของเราเสียสภาพ บูดเน่าได้ง่าย  บางเมนูก็อาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่า แต่บางอย่างก็อาจไม่แสดงลักษณะแปลกปลอมให้เห็น เมื่อทานเข้าไปก็ทำให้เกิดอาการท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา  อาการที่เห็นได้ชัดเมื่อเป็นโรคท้องร่วง คือ มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง โดยจะถ่ายเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง อุจจาระผิดปกติ โดยมักจะมีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาด้วยอย่างน้อย 1 ครั้ง คลื่นไส้ อาเจียนบ่อย  มักมีความรู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป… Read More »เคล็ดลับป้องกันอาการท้องร่วงในหน้าร้อน

เลซิติน-Lecithin

เลซิติน (Lecithin) คือสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) สามารถพบเลซิตินได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับร่างกายของมนุษย์นั้น จะพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30% ซึ่งเลซิตินจำเป็นต่อการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วเราจะได้รับเลซิตินจากอาหารทั่วไป แต่อาจไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ… Read More »เลซิติน-Lecithin

รู้ลึกเรื่องสารอาหาร: โครเมียม (Chromium)

รู้จักโครเมียม หากคุณกำลังมองหาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในเรื่องการเผาผลาญพลังงานและควบคุมน้ำหนัก ขอแนะนำให้รู้จักกับ “โครเมียม” ในฐานะสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โครเมียมเป็นแร่ธาตุชนิดนึงที่พบได้ทั่วไปในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ธัญพืช ผักผลไม้ บริวเวอร์ ยีสต์ เป็นต้น แต่จะพบน้อยในอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมและอาหารที่มีน้ำตาลสูง ทั้งนี้โครเมียมจากอาหารอาจถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิตอาหารต่าง ๆ  และ มีเพียง 3% ของโครเมียมในอาหารเท่านั้นที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้โครเมียมยังสูญเสียไปได้ง่ายเนื่องจากสามารถจับกับกรดแลกติก (Lactic acid) ในร่างกายได้ ซึ่งในสภาวะที่ร่างกายสร้างกรดแลกติกสูงเช่น ภาวะที่ร่างกายทำงานอย่างหนัก… Read More »รู้ลึกเรื่องสารอาหาร: โครเมียม (Chromium)

ตาแห้ง ยุคดิจิตอล (Digital Dry Eye Syndrome)

ปัจุบันเทคโนโลยียุคดิจิตอลเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกช่วงวัยของชีวิตทำให้ทั้งโลกใบนี้สามารถติดต่อสื่อสารได้เพียงเสี้ยววินาที แต่กระนั้นปัญหาทางสุขภาพจากการใช้สื่อดิจิตอลก็ตามมาเช่นกัน ยิ่งระยะเวลาในการใช้งานมากขึ้นด้วยแล้วยิ่งมีผลต่อนัยน์ตามากขึ้น ในภาวะปกติคนทั่วไปจะมีการกระพริบตาเฉลี่ยที่ 22 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อเราให้ความสนใจกับกิจกรรมใดๆ เช่น ใช้สายตามองผ่านจอในมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือจอ LED อัตราการกระพริบตาลดลงเป็น 10 และ 7 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ ปัจจุบันจึงพบผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งเนื่องมาจากการใช้งานผ่านจอมือถือ คอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้สายตานานมากขึ้น หากเราละเลยสัญญาณเตือนต่างๆของดวงตา อาจส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงและเกิดอาการรุนแรงตามมาได้ อาการ และสาเหตุของตาแห้ง … Read More »ตาแห้ง ยุคดิจิตอล (Digital Dry Eye Syndrome)

บัตรแพ้ยานั้น…สำคัญไฉน ?

กลับมาพบกันอีกครั้งกับ ‘เภสัชอยากเล่า’ นะคะ ครั้งนี้เภสัชฯจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าบัตรแพ้ยา ที่หลายคนอาจจะแทบไม่เคยรู้จัก? ไม่เคยเห็น? ไม่เคยรู้ว่ามันมีตัวตน? หรือไม่เคยรู้เลยว่ามันมีไว้เพื่ออะไรกันนะ การแพ้ยาคืออะไร ก่อนอื่นเรามารู้จักกับการแพ้ยากันซักนิดนะคะ การแพ้ยา คือ ปฏิกิริยาที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเราตอบสนองออกมาเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเรา ซึ่งในที่นี้ก็คือยาที่เรารับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีกิน ฉีด ทา หรือวิธีอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของการแพ้นั้นมีได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษ รู้สึกคันและบวม มีไข้ น้ำมูกไหล… Read More »บัตรแพ้ยานั้น…สำคัญไฉน ?

Goji berry ผลไม้มหัศจรรย์

มารู้จัก’โกจิเบอร์รี่’กันเถอะ โกจิเบอร์รี่ (Goji berry) หรือ Wolfberry ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเก๋ากี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum L. , Lycium chinense Mill. อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบอร์รี มีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของประเทศจีน และบางส่วนในทวีปเอเชีย ผลของโกจิเบอร์รี่มีสีแดงอมส้มขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน ในโกจิเบอร์รี่มีอะไร? โกจิเบอร์รี่ เป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วงต้นปี… Read More »Goji berry ผลไม้มหัศจรรย์

การดูแลผู้สูงอายุ (Elder Care)

ทำไมการดูแลผู้สูงอายุจึงสำคัญ? เมื่ออายุมากขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัย เคลื่อนไว้ได้ช้าลง ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ยากขึ้นและมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแล เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน, โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ เป็นต้น ซึ่งบางโรคอาจส่งผลให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี (สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงสามารถอ่านได้ จากบทความในหัวข้อนอนติดเตียง) นอกจากนี้ยังต้องระวังในเรื่องของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การสะดุด พลัดตก หกล้ม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ บุคคลในครอบครัวหรือผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้สูงอายุและควรมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเช่นกัน 👉… Read More »การดูแลผู้สูงอายุ (Elder Care)

นอนดึก ติดโซเชียล เลิกเถอะพฤติกรรมนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้

โรคนอนไม่หลับ ในปัจจุบันพบกันมากขึ้น บางคนอาจจะเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว บางคนเป็นเรื้อรังจนต้องพึ่งยานอนหลับตลอด อดนอนไม่ได้พบเฉพาะในคนที่มีภาวะนอนไม่หลับเท่านั้น บางคนโชคดีมีสุขภาพที่ดี แต่เลือกที่จะไม่นอน อาจจะเนื่องจากติดโทรศัพท์ ติดหนัง ติดซีรี่ย์ต่างๆ หรือในบางอาชีพที่ทำงานเป็นกะ ทำงานไม่เป็นเวลา ทำให้ระบบร่างกายรวน เป็นเหตุให้มีอาการง่วงนอนระหว่างวันได้ นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ จริงๆแล้วไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าคนเราควรจะนอนวันละกี่ชั่วโมงถึงจะเรียกว่าเพียงพอ เพราะการนอนที่ดีนอกจากจะดูที่ชั่วโมงการนอนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของการนอนด้วย บางคนต้องนอน 8 ชั่วโมงจึงจะรู้สึกว่านอนเต็มอิ่ม แต่บางคนได้นอนเพียง 5-6 ชั่วโมงก็ตื่นมาแจ่มใสได้ ส่วนบางคนแม้จะนอนมาก… Read More »นอนดึก ติดโซเชียล เลิกเถอะพฤติกรรมนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้

Long-COVID อาการตกค้าง…ภายหลังโควิด

หลายคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง หรือเคยได้ยินจากรายงานข่าวเกี่ยวกับอาการหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่แม้จะรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ได้ 100 เปอร์เซนต์แล้ว แต่ก็ยังมีอาการแปลกๆไม่หายสักที ไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อยเพลียที่ยังหลงเหลือ บางทีก็เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียน คล้ายจะเป็นลมอยู่บ่อยๆ เราเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า ภาวะ Long COVID หรือ Post COVID ซึ่งก็คือผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 แม้จะกำจัดเจ้าไวรัสนี้ออกจากร่างกายได้หมดแล้วแต่อาการผิดปกติก็ยังสามารถอยู่กับเราได้นานกว่า 4 สัปดาห์ ต่อเนื่องไปจนถึง 12 สัปดาห์… Read More »Long-COVID อาการตกค้าง…ภายหลังโควิด

รู้ทัน…โควิดสายพันธุ์เดลต้า

👉 มารู้จักโควิดสายพันธุ์เดลต้ากันเถอะ! โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โควิดสายพันธุ์อินเดีย ”เป็นเชื้อแขนงหนึ่งของไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617 พบครั้งแรกในประเทศอินเดียและกำลังเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทยว่าจะมาแทนที่เชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) ที่เป็นเชื้อชนิดแรกๆที่ระบาดในไทย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสายพันธุ์เดลต้า (Delta variant) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021 เชื่อว่าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก ปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า… Read More »รู้ทัน…โควิดสายพันธุ์เดลต้า

จอตาเสื่อม (Macular Degeneration)

หลายคนคงเคยได้ยินภาวะจอตาเสื่อมหรือจอประสาทตาเสื่อมซึ่งพบได้บ่อยมากในผู้ที่ต้องทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์มาก แล้วโรคนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่?… ควรบำรุงและรักษาอย่างไรดีนะ? จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) คือภาวะเรื้อรังที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นมีสาเหตุจากการเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตาซึ่งเป็นบริเวณที่รับภาพได้ชัดเจน พบได้มากเมื่ออายุมากขึ้นโดยช่วงแรกจะไม่แสดงอาการใดๆปรากฏให้เห็นและการดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงแนะนำให้บุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น  อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน แสงแดด การที่ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินซี… Read More »จอตาเสื่อม (Macular Degeneration)

ภูมิแพ้อาหารแฝง (food intolerance)

ทำไมบางคน…? ผื่นคัน ลมพิษขึ้นบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ แทบจะอาบยาสเตียรอยด์แทนน้ำก็ยังไม่หายขาด กินอะไรนิดหน่อย ก็ท้องเสีย ท้องอืดง่าย เป็นสิวเรื้อรัง ขึ้นๆยุบๆ ไมเกรนถามหาเป็นประจำ อ่อนเพลียง่าย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง บางที คุณอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้อาหารแฝงอยู่ก็ได้!!! อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า โรคภูมิแพ้ เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราตอบสนองต่อสิ่งหนึ่งมากเกินไป ซึ่งสิ่งนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายต่อมนุษย์เลยด้วยซ้ำ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ดอกไม้ หรือ แม้แต่อาหารที่เราทานกันอยู่เป็นประจำ… Read More »ภูมิแพ้อาหารแฝง (food intolerance)