Skip to content

มาทำความรู้จักกับ CoQ10 กันเถอะ!

มาทำความรู้จักกับ CoQ10 กันเถอะ!

โคคิวเทน (CoQ10) เป็นสารที่คล้ายวิตามิน ที่พบอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย เป็นตัวที่คอยจุดชนวนการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ให้มีพลังในการทำหน้าที่ต่างๆเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า ‘โคเอนไซม์’ นั่นเอง ดังนั้นอวัยวะที่มักพบโคคิวเทนมากจึงเป็นอวัยวะที่ต้องการใช้พลังงานเยอะๆ อย่างเช่น หัวใจ ม้าม ไต ปอด กล้ามเนื้อ เป็นต้น ถ้าร่างกายเรามีโคคิวเทนที่ไม่เพียงพอ เราก็จะรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรืออาจจะเป็นสาเหตุต่อการเกิดโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่ภาวะไทรอยด์สูงได้ เป็นต้น

CoQ10 ดีต่อหัวใจ

  • โคคิวเทนมีฤทธิ์หลักๆสองประการ คือ เป็นแหล่งในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ โดยเฉพาะการผลิตพลังงานให้กับหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง มีพลังในการสูบฉีดเลือดได้ นอกจากนี้โคคิวเทนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นสูง ที่คอยต้านอนุมูลอิสระต่างๆที่จะมาทำลายหัวใจ หรือ หลอดเลือดหัวใจได้
  • มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าโคคิวเทนมีผลเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่หลอดเลือดหัวใจ สามารถปกป้องหัวใจจากการผ่าตัด โดยช่วยทำให้สมรรถภาพหัวใจดีขึ้นหลังผ่าตัด และ ลดการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจก่อนการผ่าตัดได้

ทำไมกินยาลดไขมันแล้วถึงปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

เคยสังเกตไหมว่า ในคนไข้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง แล้วต้องกินยาลดไขมันในเลือด โดยเฉพาะยากลุ่ม statin  มักจะเจอผลข้างเคียงของยาคือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่ายาลดไขมันเลือดกลุ่มนี้ มันไปยับยั้งกระบวนสร้างคอเลสเตอรอลที่ตับที่เป็นกระบวนการเดียวกับการสร้างโคคิวเทนในร่างกาย เมื่อโคคิวเทนลดลง กระบวนการผลิตพลังงานจึงลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้ามเนื้อ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนที่กินยาลดไขมัน จึงมักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

เราสามารถหา CoQ10 ได้จากที่ไหนบ้าง

เราอาจจะพบโคคิวเทนได้ในอาหารบางชนิด โดยจะพบมากในเนื้อสัตว์และปลา และอาจพบได้ในพืชบางชนิด เช่น บล็อกโคลี่, กะหล่ำ, ถั่ว, ถั่วเหลือง และ ผักโขม เป็นต้น

CoQ10 เหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่ม statin
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบหัวใจ หรือ ต้องการบำรุงหัวใจ
  • ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่มีภาวะความเครียดทางร่างกายจากการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ขาดสารอาหาร เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการป้องกันโรคจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย

ขนาดการรับประทาน

  • ผู้ที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่ม statin : 60–200 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง :  100–120 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ: 100–300 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  :  100–300 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน : 150–300 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน : 1200 มิลลิกรัม/วัน

ข้อจำกัดในการรับประทาน CoQ10

บางคนอาจจะมีความรู้สึกว่าทำไมกินโคคิวเทนมาตั้งนาน ยังไม่เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากโคคิวเทนเป็นสารที่ ดูดซึมผ่านทางเดินอาหารยากมาก แต่จะดูดซึมได้ดีมากขึ้นในสภาวะที่มีไขมัน ดังนั้นในการรับประทานโคคิวเทนเราจึงควรทานในมื้ออาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเสมอ ไม่ควรทานตอนท้องว่าง ประการต่อมาคือขนาดและระยะเวลาในการรับประทานจะต้องมากและนานเพียงพอที่จะช่วยในการรักษาโรคได้ อย่างเช่น การรับประทานโคคิวเทนเพื่อรักษาโรคหัวใจ จะต้องรับประทานโคคิวเทนขนาด 200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นต้น

ที่มา

Braun, Lesley. Herbs and Natural Supplements, Volume 2 (p. 214-230). Elsevier Health Sciences APAC. Kindle Edition.

Leave a Reply