การรับประทานแคลเซียมเสริมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
แคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การเจริญเติบโต โดยเฉพาะเด็กและสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่ และแคลเซียมมีบทบาทในการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การส่งสัญญาณของระบบประสาท การแข็งตัวของเกร็ดเลือด รวมถึงการทำงานและการเต้นของหัวใจ
ในร่างกายของมนุษย์ แคลเซียมมีสัดส่วนประมาณ 1-2% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งประมาณ 99% ของแคลเซียมจะถูกเก็บสะสมอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 1% จะอยู่ในเลือด เซลล์ และเนื้อเยื่ออื่น ๆ สัดส่วนนี้ทำให้แคลเซียมมีบทบาทสำคัญในการรักษาโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูก รวมถึงการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ การประสานงานของระบบประสาท และการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นการรักษาระดับแคลเซียมให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมาก โดยเฉพาะ 1% ของแคลเซียมที่ไม่ได้อยู่ในกระดูก เกิดการขาดสมดุล จากการดื่มกาแฟ หรือน้ำอัดลม จะเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ร่างกายจะทำการปรับสมดุลโดยอัตโนมัติโดยการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และทำการสลายแคลเซียมจากในกระดูกมาใช้ เพื่อให้เกิดสมดุลในแคลเซียม 1% นั้น แต่ถ้าหากการขาดสมดุลนี้เกิดขึ้นบ่อย และไม่มีการได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ ก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุนได้โดยที่เราไม่รู้ตัว อีกทั้งการขาดสมดุลแคลเซียมในร่างกายอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ตะคริวและปวดกล้ามเนื้อ หรืออาจพบปัญหาของระบบประสาทได้ เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเป็นประจำจะช่วยป้องกันการขาดสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
ปัจจุบันอาหารเสริมของแคลเซียมมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกรับประทาน ทั้งแบบแคลเซียมที่สังเคราะห์มาจากสิ่งไม่มีชีวิต หรือที่สกัดได้มาจากสิ่งมีชีวิต โดยแต่ละรูปแบบหรือแต่ละฟอร์มของแคลเซียมจะสามารถดูดซึมได้แตกต่างกันและอาจให้เกิดผลข้างเคียงได้ไม่เท่ากัน ซึ่งการการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ท้องผูก ท้องอืด การเกิดนิ่ว การเกิดปฏิกิริยากับยาอื่น หรือการเกิดหินปูนในหลอดเลือด ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมากที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ หากรับประทานแคลเซียมอย่างไม่เหมาะสม หรือเลือกรับประทานชนิดแคลเซียมที่มีโอกาสทำให้เกิดหินปูนสูงได้
ผู้เชี่ยวชาญจาก John Hopkin University School of Medicine เปิดเผยข้อมูลจากการติดตามผลการรับประทานแคลเซียมจากคนจำนวน 2,700 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าการรับประทานแคลเซียมเสริมจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ขณะที่การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมกลับมีฤทธิ์ในการปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ
Calcium carbonate
Calcium carbonate เป็นแคลเซียมชนิดนึงที่หาซื้อได้ง่าย เป็นที่นิยมในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนหรือมีปัญหาขาดสมดุลแคลเซียมที่มักจะได้รับจากโรงพยาบาล ซึ่ง Calcium carbonate เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่มีปัญหาด้านสมดุลแคลเซียมในร่างกาย เนื่องจากแคลเซียมชนิดนี้จะช่วยขับ phosphate ในเลือดได้ แต่ผู้ป่วยปกติหลายคนที่รับประทาน Calcium carbonate ก็ประสบปัญหาเจอผลข้างเคียงจากการทานแคลเซียมชนิดนี้ คือ ท้องผูก เป็นต้น ซึ่ง Calcium carbonate เป็นแคลเซียมที่ได้มาจากการแปลรูปจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น หินปูน หรือ เปลือกของหอย เป็นต้น เป็นแคลเซียมที่มีอัตราการละลายต่ำ ดูดซึมได้น้อยเพียง 10-20% ของแคลเซียมที่รับประทานไปทั้งหมด ที่อาจทำให้เกิดการตกค้างในร่างกาย และเกิดอาการทางเดินอาหารในผู้ป่วยบางราย แต่ที่สำคัญในผู้ป่วยบางรายที่มีความเสี่ยงเรื่องหลอดเลือดและหัวใจอยู่แล้ว และมีการทาน Calcium carbonate ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดหินปูนในเส้นเลือดได้ เนื่องจาก Calcium carbonate จะสามารถเกิด calcification เกิดเป็นหินปูนได้ง่าย เนื่องจากการละลายต่ำและดูดซึมได้ไม่ดี ฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดหินปูนในเส้นเลือดแนะนำแคลเซียมที่มาจากสิ่งมีชีวิตเช่นพืช จะสามารถลดความเสี่ยงได้
Aquamin calcium
Aquamin calcium เป็นแคลเซียมธรรมชาติจากสาหร่ายสีแดง สายพันธุ์ Lithothamnion sp ซึ่งเป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และแร่ธาตุกว่า 74 ชนิด เป็นแคลเซียมที่มีผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้รับการตีพิมพ์กว่า 20 ฉบับ Aquamin calcium ถูกดูดซึมในลำไส้ได้ดีเนื่องจากมีโครงสร้างที่เป็นรูพรุนคล้ายรังผึ้ง ทำให้มีพื้นที่ผิวที่มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนถึง 10 เท่า ดังนั้นน้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดจึงสัมผัสกับ Aquamin calcium ได้มากกว่า ทำให้เกิดการแตกตัวและดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมทั่วไป (โดยแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรด) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยยืนยันว่า Aquamin calcium ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของหินปูนในหลอดเลือดเมื่อรับประทานไปมากกว่า 4 ปี มีคุณสมบัติช่วยลดการหลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมน จึงช่วยลดการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ลดการอักเสบของข้อต่อจึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อกระดูกอักเสบลดปริมาณการรับประทานยาลดปวดอักเสบ (NSAIDs) ถึง 50% และไม่ก่อให้เกิดนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อสามารถเลือกรับประทานแคลเซียมที่มาจากพืชเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดหินปูนในหลอดเลือดแล้ว การรับประทานวิตามิน และแร่ธาตุร่วมกับแคลเซียมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแคลเซียมได้
Vitamin D
วิตามินดีช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหารเข้าสู่เส้นเลือด แหล่งหลักของวิตามินดีที่สำคัญมาจากแสงแดด แต่จากข้อมูลพบว่าคนไทยโดยส่วน ใหญ่ขาดวิตามินดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงอาจมีความจำเป็นต้องรับประทานวิตามินดีเสริม
Vitamin K
วิตามิน K ทำงานร่วมกันกับวิตามิน D โดยเฉพาะวิตามิน K2 ที่จะช่วยนำแคลเซียมที่ไหลเวียนในเส้นเลือดนำไปกักเก็บในกระดูกมากขึ้น ที่จะเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก และยับยั้งการสะสมของแคลเซียมที่หลอดเลือด และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของหินปูน (Vascular calcification, soft tissue calcification) และการเลือกทานวิตามิน K2 ควรเลือกทานรูปแบบ microencapsulation K2 ที่เป็นการพัฒนาการขนส่งวิตามิน ในรูปวิตามิน K2 MK7 รูปแบบใหม่ โดยใช้กระบวนการ ไมโครเอนแคปซูเลชัน (microencapsulation) ที่เคลือบวิตามิน K2 MK7 2 ชั้น (Unique Two-layered Coating, Two water-dispersible Coatings) ทำให้ได้ วิตามิน K2 MK7 ในรูปที่คงตัวมากขึ้น มีค่า half-life ยาวนานขึ้น ทำให้สามารถนำไปผลิตรวมกับแคลเซียม และ แมกนีเซียม แล้วยังได้ปริมาณที่ตรงตามที่ระบุไว้ในฉลาก เนื่องจากวิตามิน K2 ในท้องตลาด พบว่ามีประสิทธิภาพไม่ตรงตามฉลากที่ระบุไว้ มีปริมาณวิตามิน K2 ที่ไม่ตรงตามข้างฉลาก เนื่องจากวิตามิน K2 ที่ได้จากธรรมชาติ มักมีความไม่คงทน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในรวมกับสาร alkaline เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม หรือ วิตามินรวม เป็นต้น
แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส
เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันได้ดี ถ้ารับประทานร่วมกับแคลเซียมก็จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้
เมื่อเราสามารถเลือกสารอาหารหรือวิตามินอื่นที่ทานร่วมกับแคลเซียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการดูดซึมแคลเซียมได้แล้ว ยังมีอีกปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานแคลเซียมคือ ระบบนำส่งยาหรือบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคปซูล ที่บรรจุแคลเซียมมาเพื่อให้ได้ปริมาณมากที่สุดในการรับประทานแคลเซียมแต่ละครั้ง แคปซูลมีผลด้วยเช่นกัน โดยแคปซูลทั่วไปในท้องตลาดมีสารทำให้เกิดเจล (gelling agent) ที่มักจะจับกับแคลเซียม และทำให้แคปซูลไม่แตกตัว แต่ Vcap (แคปซูลวีแคปส์ พลัส) เป็นแคปซูลพืช 100% จากไฮโปรเมลโลส (HPMC) ที่มีความชื้นต่ำ เหมาะสำหรับสารที่ดูดความชื้นสูง (hygroscopic) หรือ สารที่เสื่อมง่ายเมื่อถูกความชื้น ซึ่งจะเหมาะกับการบรรจุแคลเซียมอย่างมาก เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมสูงสุดในการรับประทานแต่ละครั้ง
อีกทั้งการแบ่งรับประทานแคลเซียมเป็นหลายครั้งต่อวัน จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูดซึมแคลเซียม และช่วยให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม เพราะการแบ่งรับประทานจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมที่ดีขึ้น เนื่องจากร่างกายของเรามีขีดจำกัดในการดูดซึมแคลเซียมในแต่ละครั้ง การแบ่งรับประทานเป็นหลายๆ ครั้ง จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง การรับประทานแคลเซียมในปริมาณมากครั้งเดียว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องอืด ท้องผูก หรือแม้แต่นิ่วในไตได้ อีกทั้งการรับประทานแคลเซียมเป็นประจำหลายครั้งต่อวัน จะช่วยรักษาระดับแคลเซียมในเลือดให้คงที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของกระดูกและฟัน