ในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคระบาดใหม่ๆกำลังเกิดขึ้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายจึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงรับประทานสารอาหารจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่สามารถช่วยได้ หนึ่งในนั้นคือ “เบต้ากลูแคน (Betaglucan)” ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบในพืชและสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยีสต์ ข้าวบาร์เลย์ และเห็ด มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคต่างๆอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วย
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่หลักในการป้องกันเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือ เชื้อรา รวมถึงเซลล์ที่กลายพันธุ์หรือผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและการเจ็บป่วยเรื้อรัง นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดต่อหรือโรคใหม่ๆ เช่น โควิด-19 ความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันยังมีความสำคัญในการลดความรุนแรงของอาการและเพิ่มโอกาสการฟื้นตัว
มาทำความรู้จักกับ…เบต้ากลูแคน(Betaglucan)
เบต้ากลูแคนเป็นโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างเฉพาะตัว พบมากในผนังเซลล์ของพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต รวมถึงในเห็ดและยีสต์ สารชนิดนี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดมาโครฟาจ (macrophages) ที่มีหน้าที่ในการจับและทำลายเชื้อโรค การศึกษาในหลายงานวิจัยพบว่า เบต้ากลูแคนช่วยเพิ่มความสามารถของมาโครฟาจในการทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ เบต้ากลูแคนยังช่วยกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ เช่น นิวโทรฟิล (neutrophils) และเซลล์ NK (Natural Killer Cells) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ
โรคภูมิแพ้ยอดฮิตพิชิตได้ด้วยเบต้ากลูแคน
โรคภูมิแพ้เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินปกติ แสดงออกมาเป็นอาการ คัน จาม น้ำมูกไหล ผื่นผิวหนังต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสงบ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้อยู่ในสมดุลภูมิต้านทาน ที่เปรียบเสมือนสภาวะปกติที่มีทหาร ตำรวจ คอยตรวจตราดูแลความเรียบร้อยทั่วๆไป แต่เมื่อใดที่ร่างกายพบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถกำจัดได้อย่างเด็ดขาด เช่น พยาธิ หรือ สารที่ร่างกายแพ้ (ไรฝุ่น ละอองเกสร สารเคมี) ร่างกายจะถูกปรับเข้าสู่สมดุลภูมิแพ้ ที่ต้องรีบส่งเหล่าเม็ดเลือดขาวเข้ามาจัดการอย่างรวดเร็ว แต่เป็นการจัดการแบบรีบๆลวกๆไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในสมดุลภูมิแพ้นานๆก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆได้ โดยการรับประทาน Beta 1,3/1,6 glucan ชนิดโมเลกุลสายสั้น จะทำให้เม็ดเลือดขาวมีการทำงานที่ฉลาดขึ้น สามารถปรับสมดุลภูมิแพ้ให้เข้าสู่สมดุลภูมิต้านทานปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้มีภูมิต้านทานต่อสิ่งเร้ามากขึ้น โดยพบว่าผู้ที่รับประทานเบต้ากลูแคนอย่างต่อเนื่องจะมีอาการทางภูมิแพ้ลดลง
เบต้ากลูแคนกับโรคมะเร็ง
เบต้ากลูแคน ยังมีประโยชน์อย่างมากในการป้องกันและรักษาโรคที่น่ากลัวอย่าง “โรคมะเร็ง” โดยเบต้ากลูแคน จะทำให้เม็ดเลือดขาว เห็นเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เม็ดเลือดขาวจะเข้าใจว่าเซลล์มะเร็งกับเซลล์ปกติในร่างกาย คือ พวกเดียวกัน เนื่องจากว่า เซลล์มะเร็งถูกพัฒนามาจากเซลล์ปกติในร่างกาย ที่ถูกปัจจัยบางอย่างทำให้การแบ่งตัวผิดเพี้ยนไป ดังนั้นเซลล์มะเร็งจึงมีดีเอ็นเอที่เหมือนกับเซลล์ปกติทั่วไป นอกจากเซลล์มะเร็งนั้นจะผิดปกติมาก จนเซลล์ภูมิต้านทานทั้งหลายเริ่มสังเกตเห็นว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงจะเข้ามาจัดการทำลาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่ทันการ เซลล์มะเร็งก็ได้รุกลามไปทั่วร่างกายแล้ว
เบต้ากลูแคนจะไปจับกับตัวรับที่อยู่บนผิวของแมคโครเฟจชื่อ Dectin-1 ส่วนตัวรับที่อยู่บนผิวของ NK Cell ชื่อ CR-3 (Complement receptor 3) ผลก็คือเซลล์แมคโครเฟจที่ปกติจะอยู่อย่างสงบจะตื่นตัวว่องไวมากขึ้น มีเป้าหมายที่จะออกค้นหาเพื่อกินเซลล์มะเร็ง (ซึ่งเมื่อก่อนไม่สนใจเลย) เรียกกระบวนการนี้ว่า Seek and Destroy เมื่อแมคโครเฟจกินและย่อยเซลล์มะเร็งจนเป็นชิ้นเล็กๆ มันจะเอาไปแสดงเป็นสัญลักษณ์บนตัวของมัน เพื่อส่งสัญญาณให้เม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆเช่น T cell และ B cell ทราบ และผลิตแอนติบอดี้ ให้ไปเกาะที่ผิวของเซลล์มะเร็งที่เหลือ ทำให้เซลล์ภูมิต้านทานต่างๆเห็นเซลล์มะเร็งและกรูเข้ามาจัดการได้
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม เบต้ากลูแคน จึงเป็นที่ยอมรับในด้านการเพิ่มภูมิต้านทานกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความสามารถดังที่กล่าวมาในข้างต้น เบต้ากลูแคนจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่เราควรจะบริโภคเพิ่มเสริมสร้างร่างกายให้เเข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันสูงสุด
ความแตกต่างของ Betaglucan แต่ละชนิด
เบต้ากลูแคน (Betaglucan) มีหลากหลายโครงสร้างแตกต่างกันจากแหล่งที่มา เช่น เห็ด ยีสต์ แบคทีเรีย สาหร่าย ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น โดยโครงสร้างที่ได้คะแนนสูงสุดในด้านการเพิ่มภูมิต้านทาน คือ เบต้า 1,3/1,6 กลูแคน (Beta 1,3/1,6 glucan) ที่สกัดได้มาจากเห็ด และผนังเซลล์ของยีสต์ แม้ว่า เบต้ากลูแคน ที่ได้มาจาก เห็ด และ ยีสต์ จะมีโครงสร้างเป็น เบต้า 1,3/1,6 กลูแคน เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ เบต้ากลูแคน ที่ได้จากเห็ด จะเป็นโครงสร้างสายสั้น ทำให้มีการละลายน้ำได้ดี ในขณะที่ เบต้ากลูแคน ที่ได้จากยีสต์ จะเป็นโครงสร้างสายยาว ซึ่งอาจจะพบส่วนของกลูแตนติดมาที่ปลายสายของโครงสร้างได้ จึงไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้
ตารางสรุปความแตกต่างของเบต้ากลูแคนจากแต่ละแหล่งที่มา
แหล่งที่มา | Mushroom | Yeast | Oat |
โครงสร้าง | Beta 1,3/1,6 glucan (สายสั้น) | Beta 1,3/1,6 glucan (สายยาว) | Beta 1,3/1,4 glucan |
การละลายน้ำ | ละลายน้ำ | ไม่ละลายน้ำ | ละลายน้ำ |
Gluten free | ✓ | x | ✓ บางส่วน โดยขึ้นอยู่กับโรงงานผู้ผลิตด้วย |
สรรพคุณเด่น | เพิ่มภูมิต้านทาน | เพิ่มภูมิต้านทาน | ลดไขมันในโลหิต แต่ประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิต้านทานจะไม่สูงเท่า Beta 1,3/1,6 glucan |
สมาคมโภชนาการอเมริกาแนะนำโรคเหล่านี้…ควรใช้เบต้ากลูแคนร่วมด้วย!
ได้แก่ โรคเอดส์ โรคภูมิแพ้ นักกีฬาที่ฝึกซ้อมอย่างหนัก โรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคหลอมลมอักเสบ โรคมะเร็ง โรคเชื้อราในช่องคลอด อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคหวัด โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โรคไวรัวแอบสไตน์บาร์ โรคเชื้อรา โรคเริม โรคงูสวัด อาการพิษจากปรอท/อมัลกัมอุดฟัน โรคชรา โรคติดเชื้อปรสิต โรคเหงือกอักเสบรอบโคนฟัน โรคปอดบวม โรคขาดอาหาร โรคจากแสงรังสี โรคเครียด แผลผ่าตัด โรคติดเชื้อไวรัส เป็นต้น
ความปลอดภัย (Safety)
US-FDA จัดชั้นความปลอดภัยของเบต้ากลูเคนไว้ในระดับ GRAS(Generally Recognised As Safe) ซึ่งหมายถึง สารที่ผ่านการรับรองสามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้อย่างปลอดภัย
อีกทั้งสามารถนำเบต้ากลูแคนมาใช้ในโรค Auto immune หรือ โรคภูมิต้านทานทำลายตัวเอง โดยไม่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทำงานเกินพอดี
อาการข้างเคียง (Side Effect)
ยังไม่พบอาการข้างเคียงจากการรับประทานเบต้ากลูแคน แต่บางรายอาจเกิดการแพ้โปรตีนในยีสต์ที่ชื่อ แมนแนน(Mannan) แต่เป็นการแพ้ที่อาการไม่รุนแรง อาจมีอาการคันหรือท้องเสียเล็กน้อย แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงจะสกัด Mannoprotein ออกได้หมด ทำให้ปราศจากอาการข้างเคียงได้
ขนาดการรับประทาน (Dosage)
ขนาดที่ใช้ป้องกันหรือบำรุงร่างกาย
- รับประทานวันละ 200 มก. ครั้งเดียว หรือ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือ 2 มก./นน.ตัว 1 กก. โดยให้รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง(ตอนท้องว่าง)
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
- ความรุนแรงปกติ : 200 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
- ความรุนแรงปานกลาง : 200 มก. วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น
- ความรุนแรงมาก : 400-800 มก. ต่อครั้ง
จากวารสารทางวิชาการของประเทศอเมริกากล่าวว่า สามารถรับประทานเบต้ากลูแคนได้ถึง 12,000 มก. ต่อวัน โดยถ้าเป็นเบต้ากลูแคนจากยีสต์จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแหล่งอื่นเมื่อเทียบน้ำหนักที่เท่ากัน
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือเบต้ากลูแคนดีที่สุดในโลก ที่มนุษย์เคยพบ ของ ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน
- Brown, G. D., Gordon, S. (2005). Fungal β-Glucans and Mammalian Immunity. Immunity, 19(3), 311-315.
- Vetvicka, V., Vetvickova, J. (2014). β-Glucan in Cancer Treatment. Anticancer Research, 34(2), 722-728.
- Chan, G. C., Chan, W. K., Sze, D. M. (2009). The effects of beta-glucan on human immune and cancer cells. Journal of Hematology & Oncology, 2(25), 1-11.
- Bohn, J. A., BeMiller, J. N. (1995). (1→3)-β-D-glucans as biological response modifiers: A review of structure-functional activity relationships. Carbohydrate Polymers, 28(1), 3-14.
- Gantner, B. N., Simmons, R. M., Canavera, S. J., Akira, S., Underhill, D. M. (2003). Collaborative induction of inflammatory responses by dectin-1 and Toll-like receptor 2. The Journal of Experimental Medicine, 197(9), 1107-1117